Tag

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การสร้างเตาอิวาเตะอย่างง่าย

เตาอิวาเตะเป็นเตาเผาถ่านที่ง่ายที่สุดให้ผลเป็นที่น่าพอใจ เมื่อเผาเศษชิ้นไม้เต็ม 1 ถัง ขนาด 200 ลิตร ได้ถ่านประมาณ 15 – 20 กิโลกรัม ได้น้ำส้มควันไม้ประมาณ 5 ลิตร ขึ้นอยู่กับความชื้นของไม้
อุปกรณ์
1. ถังน้ำมันที่เป็นเหล็กขนาด  200 ลิตร                       1 ใบ
2. ท่อใยหินเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 ซ.ม.  ยาว 1 ม.         1 ท่อน
3. ข้องอปูน 90 องศา                                                  1 อัน
4. อิฐบล็อก                                                                 5 ก้อน
5. อิฐมอญ (อิฐแดง)                                                   1 ก้อน
6. อิฐมอญแดงขนาดเล็ก                                            2 ก้อน
7. หน้าดินหรือดินปลวก                                            1.5 ลูกบาศก์เมตร
8. ขี้เถ้าแกลบ                                                              1 ลูกบาศก์เมตร
9. ไม้ไผ่เส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า  7.5 ซ.ม.  ยาว 5 ม.  เจาะรูให้ทะลุทุกปล่อง ยกเว้นปล่องสุดท้ายไม่ต้องเจาะ
10. ไม้ทำหลัก                                                             8 ท่อน
11. สังกะสีหรือกระเบื้องที่ใช้แล้ว เพียงพอสำหรับล้อมรอบเตาด้านหลัง
12. ตะปู                                                                  3 – 4  ตัว
13. ทราย                                                                     1 ลูกบาศก์เมตร
14. ผ้าขี้ริ้วสำหรับทำลูกประคบ                                   1 ผืน

เครื่องมือ
1. เลื่อยคันธนู                    1 ปื้น
2. จอบ                               1 ด้าม
3. พลั่ว                               1 ด้าม
4. เกรียงเหล็ก                    1 อัน
5. มีดอีโต้ / เหล็กสกัดปูน  1 ด้าม
6. มีดพร้า                           2 ด้าม
7. เหล็กแชลง                     1 อัน
8. ค้อนปอนด์                     1 อัน
9. บุ้งกี้                                1 ใบ
10. ถังน้ำ                            1 ใบ
11. ตลับเมตร                     1 อัน
12. ตะปูขนาด 7.5 เซนติเมตร (3 นิ้ว)   8  ตัว  หรือ 10 เซนติเมตร (4 นิ้ว)

วิธีทำ
1. เจาะที่ฝาถัง 200 ลิตร (ตรงฝาเปิด ใส่น้ำมัน) เป็นวงกลมให้มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร เพื่อใส่ข้อต่อท่อใยหินขนาด 10 เซนติเมตร ที่จะต่อกับท่อใยหิน เส้นผ่าศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร เช่นกัน
2. ตัดฝาถัง 200 ลิตร ตามแนวขอบออกไว้ทำฝาถัง เพื่อสะดวกเรียงไม้เผาถ่านในเตา
3. เจาะที่ฝาถัง 200 ลิตรที่ได้ในข้อ 2 ให้มีขนาด 20×20 เซนติเมตร ให้ทำเป็นปากเตาปล่อยอากาศเข้า
4. เจาะรูด้านล่างของถังตรงตำแหน่ง ตรงกับช่องใส่ข้องอใยหิน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เซนติเมตร เพื่อระบายน้ำที่ระเหยออกมาระหว่างการเผา
5. เจาะรูตรงข้องอขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร เพื่อระบายน้ำที่กลั่นในท่อใยหิน
6. วางถังที่ตัดแล้วนอนลง เพื่อติดตั้งปล่องควันและกลบตัวถังด้วยดินหรือทราย เพื่อทำหน้าที่เป็นฉนวนความร้อน โดยให้ปากเตาสูงกว่าก้นเตาประมาณ 6 เซนติเมตร (โดยใช้อิฐมอญ 1 ก้อนรองปากเตา)
วิธีการเผาถ่าน
1. ตัดไม้ที่ใช้เผาถ่าน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 – 5 เซนติเมตร มีความยาว 75 – 80 เซนติเมตร บรรจุใส่ถังในแนวนอน ถ้าไม่ใหญ่เกินไปให้ผ่าเสียก่อน โดยเรียงไม้ขนาดเล็กอยู่ด้านล่างให้ไม้ขนาดใหญ่อยู่ด้านบน เพราะความร้อนวิ่งผ่านด้านบนก่อน จะทำให้เกิดถ่านพร้อมกับไม้เล็กๆด้านล่าง ถ้าไม้เล็กอยู่ด้านบนจะไหม้เป็นขี้เถ้าเสียก่อน
2. ปิดฝาถังที่ทำด้วยฝาถังน้ำมัน ให้ปากเตาอยู่ด้านล่างโบกด้วยดินคลุกกับขี้เถ้าแกลบไม่ให้มีรอยรั่ว
3. นำดินที่คลุกด้วยขี้เถ้าแกลบ ใส่ในช่องของอิฐบล็อกทั้ง 5 ก้อนให้เต็ม
4. นำอิฐบล็อกมาทำช่องเพื่อก่อไฟที่ปากเตา โดยใช้อิฐ 2 ก้อน วางในแนวขนานกันออกจากปากเตาด้านแคบตั้งขึ้น ใช้อิฐอีก 2 ก้อนวางด้านแบนลง แล้วปิดรอยรั่วทั้งหมดโดยดินที่คลุกด้วยแกลบ
5. จุดไฟที่ปากเตาเป็นการเริ่มต้นการเผาถ่าน เมื่อเชื้อเพลิงที่หน้าเตาติดไฟแล้ว ปล่อยให้ไอร้อนวนอยู่ในเตา เพื่อไล่ความชื้นออกจากไม้ฟืนที่บรรจุในเตาจนได้ถ่าน เวลาที่ใช้ขึ้นอยู่กับความชื้นในไม้ (ไม้สดหรือไม้แห้ง)
6. เก็บน้ำส้มควันไม้ที่ปล่องควัน โดยสังเกตสีของควัน

อุณหภูมิและขั้นตอนการเปลี่ยนเป็นถ่านในเตาอิวาเตะ

สีของควัน

สีของควันที่กลั่นตัวติดกระเบื้องเคลือบ

อุณหภูมิ
ที่ปล่องควัน

อุณหภูมิภายในเตา( 10 ซม. ต่ำจากเพดานเตา)

หมายเหตุ

ขาวปนเหลืองอ่อน
(ควันบ้า)

หยดน้ำใส

80 82  ํC

320 – 350 C

เริ่มขั้นตอนเปลี่ยนแปลงถ่าน

น้ำตาลปนเทา

ของเหลวสีน้ำตาล

82 85 ํC

350 380 ํC

เริ่มเก็บน้ำส้มควัน

น้ำตาลปนเทา
น้ำตาลปนขาว

ของเหลวสีชา
ของเหลวสีน้ำตาล
เป็นเส้นเล็กๆ


90 100 ํC
100 150 ํC

380 400 ํC

400 430 ํC

น้ำส้มควันไม้เข้มและ
มีความหนืดมาก


น้ำตาลปนขาว


ของเหลวสีน้ำตาล
เป็นเส้นใหญ่ๆ

150 170 ํC

430 450 ํC

หยุดเก็บน้ำส้มควันไม้

น้ำตาลปนขาว
น้ำเงินอ่อนปนขาว
น้ำเงินปนขาว

ของเหลวสีน้ำตาล
เป็นจุด


150 170 ํC
230 – 250 C
260 – 300 C

450 – 500 C

500 – 530 C
540 – 570 C

ขั้นตอนเปลี่ยนถ่าน
เสร็จสิ้นสมบูรณ์

ม่วงน้ำเงิน

จุดสีเทา  ไม่มีความชื้น

330 – 350 C

600 – 650 C

เริ่มขั้นตอนทำให้ถ่านบริสุทธิ์

ควันใส

สีเทาไม่มีจุด



700 – 800 C

ปิดเตา

 ที่มา : ขนิษฐ์ ทวีการ.(2526). ถ่านไม้และน้ำส้มควันไม้. ชมรมสวนป่า ผลิตภัณฑ์และพลังงานไม้.
เอกสารอ้างอิง :
 นิคม แหลมลัก.(2551). เอกสารประกอบการฝึกอบรม เรื่องการใช้ประโยชน์จากไม้โตเร็วเพื่อการผลิตถ่าน และน้ำส้มควันไม้เพื่อใช้ในครัวเรือน. กรังเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
 ขนิษฐ์ ทวีการ.(2526). ถ่านไม้และน้ำส้มควันไม้. ชมรมสวนป่า ผลิตภัณฑ์และพลังงานไม้.
 สุพรชัย มั่งมีสุทธิ์. การผลิตน้ำส้มควันไม้และการสร้างเตาเผาถ่านจากถังน้ำมันขนาด 200 ลิตร. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
เบอร์โทรศัพท์   073-227-150-161 ต่อ 9902
E-mail    t_uttayarat@yahoo.com, orawann@yala.yru.ac.th   Website  http://yalor.yru.ac.th/%7Eclinictech/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น