Tag

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การวิจัยน้ำส้มควันไม้

การวิจัยน้ำส้มควันไม้
มูลนิธิสุข-แก้ว แก้วแดงร่วมกับ คณะอาจารย์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมวิจัย เรื่อง น้ำส้มควันไม้

เมื่อวันเสาร์ ที่ 20 ธันวาคม 2551 ที่ผ่านมา มูลนิธิสุข-แก้ว แก้วแดง นำโดย
ดร.รุ่ง แก้วแดง ประธานมูลนิธิฯ นางเอมอร ยอดรักษ์ เลขานุการมูลนิธิฯ พร้อมด้วย
นายภากร นิจจรัลกุล ประธานกรรมการที่ปรึกษามูลนิธิฯ และนายมณัส ศุภชีวะกุล กรรมการมูลนิธิฯ ได้ต้อนรับคณะอาจารย์ และทีมวิจัย จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ นำทีมโดย ผศ.ดร.จันทิมา ชั่งสิริพร อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเคมี และมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นำทีมโดย ผศ.ดร.อับดุลนาเซร์ ฮายีลาเต๊ะ มาศึกษาดูงาน เตาอิวาเตะและการผลิตน้ำส้มควันไม้ ของมูลนิธิสุข-แก้ว แก้วแดง ซึ่งเป็นเตาอิวาเตะที่สมบูรณ์ และมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เพื่อทำวิจัย และพัฒนาสู่สังคมต่อไป

ดร.รุ่ง แก้วแดง ได้บรรยายสรุปในประเด็น เตาอีวาเตะของมูลนิธิฯ กล่าวว่า เตาอีวาเตะของที่นี้ มีขนาดใหญ่และมีความพิเศษกว่าที่อื่น ซึ่งมีด้วยกัน 2 แบบ คือ 1.เตาอิวาเตะขนาดใหญ่ เรียกว่า เตาอิวาเตะอุตสาหกรรมชุมชน และ 2.เตาอิวาเตะขนาดเล็ก หรือขนาดครัวเรือน ได้มีการลองผิดลองถูกมาโดยตลอด เพื่อพัฒนาให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพมากที่สุด โดยที่เตาอีวาเตะทั้ง 2 แบบสามารถผลิต ผลผลิตในเวลาเดียวกันได้ 2 อย่าง
1.ได้ถ่านที่มีคุณภาพสูง และ 2. ได้น้ำส้มควันไม้ที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นประโยชน์ในด้านการเกษตร ด้านการประมง ด้านปศุสัตว์ และใช้กับมนุษย์ได้อีกด้วย

หลังจากนั้น ดร.รุ่ง แก้วแดง ได้พาชมส่วนต่างๆของเตาทั้ง 2 แบบ และได้บรรยายในขั้นตอนการสร้างโรงเตา กระบวนการเผาถ่านและขั้นตอนในการเก็บน้ำส้มควันไม้ ทั้งเตาขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นที่น่าสนใจของคณะอาจารย์และทีมวิจัยเป็นอย่างมาก และได้มีการสอบถามเรื่องราวต่างๆของเตาอิวาเตะของมูลนิธิสุข-แก้ว แก้วแดง เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

ก่อนกลับดูเตาอิวาเตะ ดร.รุ่ง แก้วแดง ได้กล่าวอีกว่า โรงเตาอิวาเตะของที่นี่จะเป็นห้องแล็ปขนาดใหญ่ของคณะวิจัยที่สนใจ รวมทั้งขณะอาจารย์และทีมวิจัยที่มาในวันนี้ด้วยเพื่อวิจัยในมิติต่างๆของเตาอิวาเตะและผลผลิตของ
เตาอิวาเตะเพื่อเป็นประโยชน์ให้กับประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป

หลังจากนั้นได้มีการเสวนาพูดคุยกันต่อถึงงานวิจัยของคณะอาจารย์และทีมวิจัยที่เกี่ยวกับเตาอิวาเตะในประเด็นต่างๆเพื่อพัฒนาเตาอิวาเตะไปสู่ชุมชน การพัฒนาผลผลิตของเตาอิวาเตะ และน้ำส้มควันไม้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อไปใช้ในด้าน
การเกษตร ด้านการประมง ด้านปศุสัตว์ และสกัดเป็นยาต่างๆใช้กับสัตว์และมนุษย์ต่อไป

ในการพูดคุยได้มีการตั้งโจทย์ต่างๆมายกเป็นประเด็นในงานวิจัย เช่น การเผาถ่าน โดยใช้ต้นไม้ยางพาราร้อยทั้งหมด กับการใช้ต้นไม้ยางพาราร่วมกับยางพาราดิบ ว่าคุณภาพของน้ำส้มควันไม้แตกต่างกันอย่างไร และการนำน้ำมันดินที่ตกตะกอนจากการพักน้ำส้มควันไม้ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งมาใช้ประโยชน์ต่อไปอย่างไร เป็นต้น

ผศ.ดร.อับดุลนาเซร์ ฮายีลาเต๊ะ อาจารย์ภาควิชาเคมีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กล่าวว่า จากการมาดูงานที่มูลนิธิสุข-แก้ว แก้วแดง กับทีมวิจัยในวันนี้ซึ่งเป็นสถานที่ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนเป็นอย่างยิ่ง มาดูการเผาถ่าน การเก็บน้ำส้มควันไม้ และงานอื่นๆเกี่ยวกับการฝึกอบรม ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์ และใช้บริการจากที่นี่ได้เป็นอย่างดี ทางทีมงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลามาช่วยกันทำเรื่องการวิจัยโดย
เฉพาะเชิงวิชาการเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการของมูลนิธิฯ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ควรที่จะสนับสนุนในงานด้านต่างๆเพื่อให้เกิด
ประโยชน์สูงสุดต่อสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป

ผศ.ดร.จันทิมา ชั่งสิริพร อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเคมี อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยสงขลานรินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ กล่าวว่า ก่อนมาคิดไม่ออกว่าที่นี้เป็นอย่างไร พอมาแล้วรู้สึกดีที่นี้ร่มรื่นมาก ที่นี้หน้าจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทางคณะเองสามารถช่วยอะไรได้ก็จะช่วย โดยเฉพาะงานวิจัย ได้ช่วยชาวบ้านมีอยู่มีกิน เรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงก็จะช่วยอย่างเต็มที่ และวันนี้มาดูการผลิตน้ำส้มควันไม้เพื่อมาทำวิจัยการแยกน้ำมันดิบ จากน้ำส้มควันไม้ ซึ่งทำสำเร็จมาระดับหนึ่งแล้ว โดยนำไปให้ชาวบ้านในชุมชน แล้วได้ผลเป็นอย่างดี ทางมูลนิธิสุข-แก้ว แก้วแดง มีโรงเตาผลิตน้ำส้มควันไม้ที่สมบูรณ์ และใหญ่ รู้สึกว่าใหญ่ที่สุดในประเทศเลยที่เดียว คิดว่าจะเอาเครื่องมือที่คิดได้ น่าจะเป็นนวัฒกรรมทางด้านวิศวกรรมเคมีมาประยุกต์ กับมูลนิธิฯ คิดในเรื่องต้นทุนการผลิต แล้วสามารถนำไปใช้กับชุมชนได้เพื่อแก้ปัญหาคุณภาพน้ำส้มควันไม้ที่ผลิตออกมา และวันนี้ได้โจทย์ของปัญหาต่างๆ ที่สามารถนำเอาความรู้ ความสามารถของวิศวกรรมเคมีพร้อมด้วยทีมงาน คิดว่าน่าจะช่วยได้ในหลายๆ ด้าน และยินดีที่จะได้มาร่วมงานกับมูลนิธิสุข-แก้ว แก้วแดง

สุดท้ายทีประชุมเสวนาตกลงกันว่าจะร่วมกันจัดสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง น้ำส้มควันไม้ ในกลางปี 2552 หวังว่าในการจัดสัมมนาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจ และสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น