Tag

วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

4 อย่าของท่าน ว.วชิรเมธี

๑. อย่าเป็นนักจับผิด คนที่คอยจับผิดคนอื่นแสดงว่าหลงตัวเองว่าเป็นคนดีกว่าคนอื่น ไม่เห็นข้อบกพร่องของตนเอง ' กิเลสฟูท่วมหัว ยังไม่รู้จักตัวอีก ' คนที่ชอบจับผิดจิตใจจะหม่นหมอง ไม่มีโอกาสจิตประภัสสรฉนั้นจงมองคน

มองโลกในแง่ดี แม้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ถ้ามองเป็นก็เป็นสุข

๒. อย่ามัวแต่คิดริษยา ' แข่งกันดี ไม่ดีสักคน ผลัดกันดี ได้ดีทุกคน '

คนเราต้องมีพรหมวิหาร 4 เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

คนที่เรามีความริษยาเป็นการส่วนตัวมีชื่อว่าเจ้ากรรมนายเวร ถ้าเขาสุขเราจะทุกข์ ฉนั้นเราต้องถอดถอนความริษยาออกจากใจเรา เพราะไฟริษยาเป็นไฟสุมขอน เราริษยา 1 คนเราก็มีไฟสุมขอน 1 ก้อน เราสามารถถอดถอนไฟริษยาออกจากใจเราได้ด้วยการ แผ่เมตตา หรือซื้อโคมาแล้วเขียนชื่อคนที่เราริษยา และปล่อยไป

๓. อย่าเสียเวลากับความหลัง 90% ของคนที่เป็นทุกข์เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำ ปล่อยไม่ลง ปลงไม่เป็น มนุษย์ที่สลัดความหลังไม่ออก

เหมือนมนุษย์ที่เดินขึ้นเขาแล้วแบกเครื่องเคราเต็มหลัง ความทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้วจงปล่อยมันซะ อย่าปล่อยให้คมมีดแห่งอดีต มากรีดปัจจุบัน อยู่กับปัจจุบันให้เป็น ให้กายอยู่กับจิต จิตอยู่กับกาย คือมี สติ กำกับอยู่ตลอดเวลา

๔. อย่าพังเพราะไม่รู้จักพอ ตัณหาที่มีปัญหา คือการอยากเกินความพอดี

เหมือนทะเลที่ไม่เคยอิ่มด้วยน้ำ ไฟไม่เคยอิ่มด้วยเชื้อ ธรรมชาติของตัณหาคือ

ยิ่งเติมยิ่งไม่เต็ม ทุกอย่างต้องดูคุณค่าที่แท้ ไม่ใช่คุณค่าเทียม เช่น นาฬิกามีไว้เพื่อใส่ดูเวลาไม่ใช่เพื่อความโก้หรู หรือคุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์มือถือมีไว้เพื่อการสื่อสาร แต่องค์ประกอบอื่นๆ ที่เสริมมาไม่ใช่คุณค่าแท้ของโทรศัพท์ เราต้องถามตัวเองว่าเกิดมาทำไม คุณค่าที่แท้จริงของมนุษย์อยู่ตรงไหน ตามหาแก่นของชีวิตให้เจอ

คำว่า พอดี คือรู้จัก พอ แล้วจะ ดี รู้จกพอจะมีชีวิตอย่างมีความสุข



ลานธรรมจักร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น