Tag

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ชีวิตพอเพียง [พระไพศาล วิสาโล ]

คุณอยากได้กล้องถ่ายรูปแบบดิจิทัลสักตัวหนึ่ง หลังจากหาข้อมูลมาหลายวันทั้งจากหนังสือพิมพ์และคนรู้จัก ก็ตัดสินใจได้ว่าจะซื้อยี่ห้อและรุ่นอะไร คุณใช้เวลา 2-3 วัน ในการหาร้านที่ขายถูกที่สุดแล้วคุณก็พบร้านหนึ่งซึ่งขายต่ำกว่าราคาทั่วไปถึง 25 เปอร์เซ็นต์ คุณตัดสินใจควักเงิน 7,500 บาท แล้วพากล้องใหม่กลับบ้านด้วยความปลื้มใจที่ได้ของดีและราคาถูก

แต่เมื่อกลับถึงบ้าน ตั้งใจว่าจะไปเล่าให้เพื่อนบ้านฟัง กลับพบว่าเขาเพิ่งซื้อกล้องยี่ห้อและรุ่นเดียวกับคุณ แต่ซื้อได้ถูกกว่า คือจ่ายไปเพียง 5,000 บาทเท่านั้น คุณจะรู้สึกอย่างไร ? ยังจะยิ้มได้อีกหรือไม่ ?

ถ้าคุณยิ้มไม่ออก น่าจะถามตัวเองว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ? ก็คุณเพิ่งได้ของใหม่มา แถมจ่ายน้อยกว่าคนทั่วไป อีกทั้งสินค้าก็มีคุณภาพและถูกใจคุณเสียด้วย ทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลที่คุณน่าจะดีใจมิใช่หรือ ? แต่ทำไมคุณถึงเสียใจหรือถึงกับโมโหตัวเอง เป็นเพราะคุณไปเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้านใช่หรือไม่ ?

คุณมีกล้องที่น่าพอใจ แต่ทันทีที่คุณไปเปรียบเทียบกับกล้องของคนอื่น ความรู้สึกไม่พอใจก็เข้ามาแทนที่ คนเราไม่พอใจกับสิ่งที่ตนมีก็เพราะเหตุนี้ จึงมีผู้กล่าวว่า การเปรียบเทียบกับคนอื่นเป็นหนทางลัดไปสู่ความทุกข์ เคยสังเกตหรือไม่ว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่มักคิดว่ารถของคนอื่นดีกว่ารถของฉัน แฟนของคนอื่นสวย ( หรือหล่อ) กว่าแฟนของฉัน ลูกของคนอื่นเก่งกว่าลูกของฉัน และอาหารที่คนอื่นสั่งมักน่ากินกว่าจานของฉัน ถ้าคุณเป็นหนึ่งในจำนวนนั้น ชีวิตจะหาความสุขได้ยาก แม้จะได้มามากเท่าใด ก็ไม่พอจ่ายเสียที

อย่าว่าแต่ของที่ซื้อมาด้วยเงินของตัวเลย แม้ของที่เราได้มาฟรี ๆ เช่น ได้โทรศัพท์มือถือมาฟรี ๆ 1 เครื่อง ที่จริงน่าจะดีใจ แต่เมื่อรู้ว่าคนอื่นได้รับแจกรุ่นที่ดีกว่าและแพงกว่า จากเดิมที่เคยยิ้มจะหุบทันที แถมยังจะทุกข์ยิ่งกว่าตอนที่ยังไม่ได้รับแจกด้วยซ้ำ นั่นเป็นเพราะไปเปรียบเทียบกับคนอื่นใช่ไหม ? ทั้ง ๆ ที่ตนมีโชคแล้ว แต่ก็ยังรู้สึกว่าตัวเองโชคไม่ดีเหมือนคนอื่น

ความทุกข์ของผู้คนสมัยนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะไปมองคนอื่นมากเกินไป เราจึงไม่ค่อยพอใจกับสิ่งที่มีหรือเป็นเสียที แม้ว่าจะสวยหรือหุ่นดีเพียงใด ก็ยังรู้สึกว่าตัวเองขี้เหร่ ผมไม่สลวย ผิวคล้ำไป แถมวงแขนก็ไม่ขาวนวลเหมือนดารา แต่เมื่อใดที่เราหันมาพอใจกับสิ่งที่ตนมี มองเห็นแง่ดีของสิ่งที่มีอยุ่ ความสุขเพิ่มพูนขึ้นมามากมายทันที จิตใจจะเบาขึ้น และชีวิตจะหายเหนื่อย เพราะไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องวิ่งไล่ล่าหาซื้อสิ่งของต่าง ๆ มากมายเพียงเพื่อจะได้มีเหมือนคนอื่นเขา

พอใจในสิ่งที่เรามี ภูมิใจในสิ่งที่เราเป็น เห็นคุณค่าของสิ่งที่มีอยุ่กับตัวนี้คือเคล็ดลับสู่ชีวิตที่เบาสบายและสงบเย็น ด้วยเหตุนี้ “ สันโดษ” จึงเป็นสิ่งที่มีความ สำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิต





สันโดษไม่ได้หมายถึงการอยู่คนเดียวไม่สุงสิงกับใคร และไม่ได้หมายถึงความ เฉื่อยเนือยไม่กระตือรือร้น แต่คือความพอใจในสิ่งที่เรามีและยินดีในสิ่งที่เราเป็น ไม่ปรารถนา สิ่งที่อยู่ไกลตัวหรือเป็นของคนอื่น ถ้ามีสันโดษก็จะพบกับ ความสุขในปัจจุบันทันที แต่ถ้า ไม่มีสันโดษ ก็ต้องหวังความสุขจากอนาคต ซึ่งก็ไม่แน่ว่าจะมาถึงหรือไม่ แต่จะมาหรือไม่มา ที่แน่ ๆ ก็คือไม่มีความสุขกับปัจจุบัน



คนที่ไม่รู้จักสันโดษจึง “ขาดทุน” 2 สถาน คือ นอกจากจะไม่มี ความสุข กับสิ่งที่มีอยู่แล้ว ยังเป็นทุกข์เพราะ สิ่งที่ปรารถนยังมาไม่ถึง จำนิทานอีสปเรื่องหมา คาบเนื้อได้หรือไม่ หมาตัวนี้ได้เนื้อชิ้นใหญ่มา จึงคาบกลับไปที่รัง แต่ขณะที่กำลังเดินข้าม สะพาน มันมองลงไปที่ลำธาร เห็นเงาของมันเอง แต่นึกว่าเป็นหมาอีกตัวหนึ่งกำลังคาบเนื้อ เนื้อชิ้นนั้นดูใหญ่กว่าชิ้นที่มันกำลังคาบเสียอีก มันเกิดอยากได้ขึ้นมาจึงคายเนื้อที่คาบอยู่ในปาก หวังอิ่มเอมกับเนื้อชิ้นใหญ่กว่า ผลก็คือเมื่อเนื้อหลุดปากตกลงไปในน้ำ ชิ้นเนื้อ ในน้ำก็หายไป มันจึงสูญเสียทั้งเนื้อที่คาบอยู่และเนื้อที่เห็นในน้ำ



คนที่พอใจในสิ่งที่มีอยู่หรือเป็นอยู่ แม้สิ่งที่ดีกว่ายังมาไม่ถึง ก็ยังมีความสุข อยู่กับตัว และเมื่อสิ่งที่ดีกว่ามาถึงก็ยิ่งมีความสุขมากขึ้น ผู้ที่รู้จักสันโดษจึงมีความสุขในทุก สถาน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเขาจะงอมืองอเท้าหรือนั่งเล่นนอนเล่นอยู่เฉย ๆ เขายังมีความ ขยันหมั่นเพียร ปรับปรุงตนเองและงานการให้เจริญก้าวหน้าอยู่เสมอ แต่ขณะที่ทำนั้นก็ยังมี ความสุขกับสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ โดยไม่หวังความสุข จากสิ่งที่คอยอยู่ข้างหน้า



เมื่อรู้จักพอใจในสิ่งที่มีหรือเป็น เราก็รู้ว่าเมื่อไรควรพอเสียที ในทาง ตรงกันข้ามคนที่ไม่พอใจ ในสิ่งที่มี หรือเป็น ได้เท่าไรก็ไม่รู้จักพอ จริงอยู่ตอนได้มาใหม่ ๆ ก็มีความสุขดีอยู่หรอก แต่ไม่นานความสุขนั้นก็เลือนหายไป ของใหม่นั้นเมื่อกลาย เป็นของเก่า เสน่ห์ดึงดูดใจก็มักจะจางลง ยิ่งชอบเปรียบเทียบกับคนอื่น เห็นเขามีของดีกว่า สวยกว่า ความรู้สึกไม่พอใจกับสิ่งที่ตนมีอยู่ก็มากเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องหาใหม่ แต่เมื่อได้มาแล้วก็เข้าสู่ วงจรเดิม จึงไม่แปลกที่บางคน แม้มีรองเท้า 300 คุ่แล้วก็ยังไม่รู้จักพอเสียที ยังอยากได้ คู่ใหม่อยู่อีก มีซีดีเพลงนับพันแผ่นแล้ว ก็ยังอยากได้แผ่นใหม่อยู่อีก ในทำนองเดียวกันเศรษฐี แม้มีเงินหมื่นล้านแล้วก็ยังอยากได้เพิ่มอีกหนึ่งล้าน แน่นอนว่าเมื่อได้มาแล้วก็ยังอยากได้ เรื่อยไป คำถามก็คือแล้วเมื่อไรจึงจะพอเสียที ?



ชีวิตที่ไม่รู้จักพอใจสิ่งที่มีหรือเป็น คือชีวิตที่ต้องวิ่งไม่หยุดเหมือนคนที่วิ่งหนี เงากลางแดด วิ่งเท่าไร ๆ เงาก็ยังวิ่งไล่ตาม ไม่ว่าตะวิ่งไปได้ไกลแค่ไหน เงาก็ยังตามอยู่ดี มิหนำซ้ำยิ่งวิ่งก็ยิ่งเหนื่อย แดดก็ยิ่งเผา ทำอย่างไรดีถึงจะหนีเงาพ้น ? คำตอบก็คือ เข้ามา นั่งนิ่ง ๆ อย่ใต้ร่มไม้ ไม่ต้องวิ่ง เพียงแต่รู้จักหยุดให้เป็นไม่เพียงเงาจะหายไป ยังได้สัมผัสกับ ความสงบเย็น อีกทั้งยังหายเมื่อยล้าด้วย



ชีวิตที่รู้จักพอย่อมมีความสุขกว่าชีวิตที่ดิ้นรนไม่หยุด ขณะเดียวกันก็มีเวลา สำหรับทำสิ่งที่มีคุณค่าต่อชีวิต แทนที่จะ ตั้งหน้าตั้งตาหาเงิน ไล่ล่าหาสินค้ารุ่นใหม่ หรือเอาแต่ เที่ยวช้อปปิ้ง ก็มีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น ได้ทำงานช่วยเหลือชุมชน ศึกษาหาความรู้ และฝึกฝนพัฒนาจิตใจ คุณภาพชีวิตจะเจริญงอกงามมากขึ้นและมีความสุขมากขึ้นด้วย



ชีวิตที่รู้จักพอนั้นนอกจากจะเกิดขึ้นได้เพราะ มีความพอใจในสิ่งที่มีอยู่และ เป็นอยู่ ดังได้กล่าวมาแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ มากก็คือ การตระหนนักชัดในคุณและโทษ ของวัตถุสิ่งเสพ วัตถุหรือสิ่งเสพรวมไปถึงทรัพย์สมบัติทั้งหลายนั้น มีประโยชน์ตรงที่ให้ ความสุขทางกาย ช่วยให้มีความเป็นอยู่ที่สุขสบาย และอำนวยให้สามารถทำกิจการงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก เช่น รถยนต์ช่วยให้เดินทางได้รวดเร็ว เป็นต้น แต่ในเวลาเดียวกันมันก็มีโทษ อยู่ด้วย ประการแรกก้คือภาระในทางจิตใจ เช่น ทำให้เกิดความห่วงกังวลอยู่เสมอว่าจะมีใคร ขโมยไปหรือไม่ และถ้าหายไปก็ยิ่งทุกข์ ประการต่อมาก็คือ ภาระในการดูแลรักษาและป้องกัน บ่อยครั้งยังเป็นภาระในการใช้ด้วย เพราะเมื่อซื้อมา แล้วถ้าไม่ใช้ก็รู้สึกเสียดาย จึงต้องเจียด เวลามาใช้มัน ทำให้มีเวลาว่างเหลือน้อยลง



วัตถุสิ่งเสพนั้นไม่ได้ดึงเงินไปจากกระเป๋าของเราเท่านั้น แต่ยังแย่งชิง เวลาและพลังงานไปจากเรา ยิ่งมีวัตถุสิ่งเสพมากเท่าไร เวลาและพลังงานสำหรับเรื่องอื่น ก็มีน้อยลง สมบัติบางอย่างนั้นดูเผิน ๆ เหมือนกับทำให้เรามีเวลามากขึ้น เช่น รถยนต์ แต่หากพิจารณาให้ถี่ถ้วนอาจพบว่ารถยนต์นั้นช่วยประหยัดเวลาให้แก่เราไม่ได้มากอย่างที่นึก เคยมีผู้คำนวณเวลา ทั้งหมดที่ใช้ไปกกับรถยนต์ เริ่มตั้งแต่เวลาที่ใช้ในการหาเงินมาซื้อ ซื้อน้ำมัน จ่ายค่าอะไหล่ ค่าซ่อมรถ ค่าประกัน และค่าภาษี รวมทั้งเวลา ที่ใช้ไปกับการ ดูแลรักษา เช่น ล้างรถ นำรถไปตรวจสภาพ นำรถไปซ่อม ตลอดจนเวลาที่ใช้ในการขับ และหาที่จอด เมื่อเอาเวลาทั้งหมดไป หารกับระยะทางที่เดินทางด้วยรถยนต์ คำตอบที่ได้ก็คือ 8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หมายความว่า แม้ว่าเราจะขับรถด้วยความเร้ว 80 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง แต่ในความเป็นจริงแล้ว 8 กิโลเมตรต่อชั่วโมงคือ ตัวเลขสุทธิจากการเดินทางด้วยรถยนต์ พูดอีกอย่างคือรถยนต์ไม่ได้ช่วยให้เรา เดินทางเร็วกว่ารถจักรยานสักเท่าไรเลย



เวลาที่สูญเสียไปกับรถยนต์ตลอดจนวัตถุสิ่งเสพทั้งหลายนั้น มีมากกว่าที่เราคิด สิ่งที่ช่วยประหยัดเวลานั้นบ่อยครั้งก็ไม่ไดช่วย ให้เรามีเวลามากขึ้นเลย ดังเห็นได้ว่ายื่งมีรถยนต์ มากเท่าไร คนก็ยิ่งเสียเวลาอยู่บนรถยนต์มากเท่านั้น และมีเวลาอยู่ในบ้านน้อยลง การพัฒนา ความเร็วของรถยนต์ให้เพิ่มมากขึ้น ไม่ได้ช่วยให้คนมีเวลาเป็นของตนเองเพิ่มขึ้นเลย กลับมี น้อยลงด้วยซ้ำ น่าแปลกใจไหมว่าคนใน สังคมสมัยใหม่แม้มีอุปกรณ์ประหยัดเวลาอยู่เต็มบ้าน แต่เหตุใดกลับมีเวลาว่างน้อยกว่าคนในชนบทซึ่งไม่มีแม้แต่รถยนต์ หม้อหุงข้าวไฟฟ้า หรือมาม่า ในขณะที่คนชนบทมีเวลานั่งเล่นอยู่กับลูกหลานและกินข้าวพร้อมหน้ากับทุกคนที่บ้าน แต่คน ในเมืองกลับแทบไม่มีเวลาทำเช่น นั้นเลย



มองให้ถี่ถ้วนแล้ว “ต้นทุน” ที่ต้องจ่ายให้แก่วัตถุสิ่งเสพนั้น ไม่ได้มีแค่เงิน เวลา พลังงาน และภาระทางจิตใจเท่านั้น มันอาจ รวมไปถึงวิถีชีวิตที่พึงปรารถนาด้วย เพราะชีวิตทั้งชีวิต อาจต้องหมดไปกับการทำมาหาเงินเพื่อแสวงหา และรักษาวัตถุสิ่งเสพเหล่านี้ ให้ พร้อมพรั่ง



ความสะดวกสบายนั้นไม่ใช่สิ่งที่ได้มาเปล่า ๆ แต่ต้องแลกมาด้วย บางสิ่งบางอย่างที่อาจมีคุณค่า ต่อชีวิตเรา และสิ่งนั้นอาจหมายถึงจุดหมายหรือวิถี ชีวิตที่พึงปรารถนา ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ โทรศัพท์มือถือ และ อินเตอร์เน็ต เทคโนโลยี ทั้งสองช่วยให้เราติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นที่อยู่ไกลได้สะดวกขึ้น แต่ยิ่ง ติดต่อได้สะดวก ก็ยิ่ ชวน ให้ใช้บ่อยขึ้น จนในที่สุด ผู้ใช้กลับไม่มีเวลาที่จะให้กับครอบครัวหรือคนที่บ้าน ความสัมพันธ์ เหินห่างจนหมางเมิน ซึ่งเท่ากับผลักดันให้ไปหมกมุ่นกับเทคโนโลยีมากขึ้น จนเกิดช่องว่าง ในการสื่อสารกับผู้คนโดยเฉพาะคนใกล้ชิด ดังเห็นได้จากหนุ่มสาวจำนวนมากในปัจจุบัน

ความตระหนักถึงโทษหรือภาระที่เกิดจากวัตถุสิ่งเสพ ไม่ว่าจะสะดวกสบายหรือ สนุกสนาน เอร็ดอร่อยเพียงใด ช่วยให้เรามี ความระมัดระวังในการใช้สอยและครอบครอง วัตถุสิ่งเสพทั้งหลาย ไม่สำคัญผิดว่ายิ่งมีมากเท่าไรยิ่งดี มีความใคร่ครวญมากขึ้นว่ามีเท่าไร ถึงจะพอดี บริโภคแค่ไหนถึงจะเป็นคุณมากกว่าโทษ

ความพอใจในสิ่งที่มีอยู่นั้นเป็นเรื่องคุณภาพจิต ส่วนความเข้าใจหรือตระหนักถึง คุณและโทษของวัตถุสิ่งเสพนั้นเป็นเรื่องของ ปัญญา ทั้งคุณภาพจิตและปัญญาดังกล่าว ช่วยให้ชีวิตรู้จักพอ และเกิดความพอดีในการบริโภคและใช้สอย อย่างไรก็ตามบางครั้ง แม้จะรู้ว่า เท่าไรถึงจะพอดี แต่ใจไม่คล้อยตาม ยังติดในความสะดวกสบายหรือ เอร็ดอร่อย ทำให้ไม่รู้จักพอในการบริโภคหรือครอบครอง ในกรณี เช่นนี้สิ่งหนึ่งที่จะช่วยได้ คือการกำหนดขอบเขตให้แก่ตนเอง ว่าจะบริโภคเท่าไรในแต่ละวันหรือซื้อได้เท่าไรในแต่ละเดือน เช่น คนที่ติด อินเตอร์เน็ตหรือโทรทัศน์ ควรกำหนดว่าจะใช้หรือดูอย่างมากที่สุด วันละกี่ชั่วโมง ส่วนคนที่ติดช้อปปิ้งก็อาจกำหนดวินัย ให้ตัวเองว่าจะเข้า ห้างเพียงสัปดาห์ละครั้ง และจะเข้า ก็ต่อเมื่อมีรายการสินค้าอยู่ในมือแล้วเท่านั้น และจะไม่ซื้อสิ่งที่อยู่นอกรายการ ดียิ่งกว่านั้นก็คือ จะงดใช้บัตรเครดิตช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ หรือมีบัตรเครดิตไม่เกิน 2 ใบ เป็นต้น

การมีวินัย ความพอใจในสิ่งที่มี และการมีปัญญาเห็นถึงคุณและโทษ ของสิ่งเสพ คือปัจจัย 3 ประการที่ช่วยให้เกิดทั้งความ รู้จักพอ และความพอดีในการ บริโภคใช้สอย นำพาชีวิตสู่มิติใหม่ที่เป็นนายเหนือวัตถุ เพราะสามารถรู้จักใช้ให้เป็น เครื่องมือสร้างความเจริญงอกงามแก่ชีวิตได้ โดยไม่ต้องตกเป็นทาสของมันดังแต่ก่อน

ชีวิตพอเพียงกับชีวิตที่เป็นอิสระจึงมิอาจแยกจากกันได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น