หากลดบางอย่างให้น้อยลง คุณจะได้หลายสิ่งกลับมามากขึ้น
- ลดความโกรธให้น้อยลง คุณได้สติกลับมามากขึ้น++
- ลดค่าใช้จ่ายให้น้อยลง คุณได้เงินเก็บมากขึ้น++
- ลดความคิดที่จะหาคนที่ถูกน้อยลง คุณได้คำตอบสำหรับทำเรื่องที่ถูกต้องมากขึ้น++
- ลดการพูดให้น้อยลง คุณทำหลายอย่างได้มากขึ้น++
- คิดถึงคนที่คุณรักให้น้อยลง คุณเข้าใจคนที่รักคุณมากขึ้น++
- รักตัวคุณเองให้น้อยลง คนอื่นรักคุณมากขึ้น++
- พูดให้ร้ายคนอื่นให้น้อยลง มีคนพูดถึงคุณในแง่ดีมากขึ้น++
- แสดงความฉลาดให้น้อยลง คุณได้ความรู้เพิ่มมากขึ้น++
- ออกนอกบ้านให้น้อยลง คุณได้ความอบอุ่นในครอบครัวมากขึ้น++
- นอนให้น้อยลง คุณทำหลายอย่างได้มากขึ้น++
- คิดเรื่องเครียดให้น้อยลง คุณยิ้มได้มากขึ้น++
- ลดความอายให้น้อยลง คุณได้ความกล้ามากขึ้น++
- ดูละครให้น้อยลง คุณอ่านหนังสือได้มากขึ้น++
- เชื่อให้น้อยลง คุณมองเห็นอะไรได้มากขึ้น++
- ลดทิฐิให้น้อยลง คุณรู้จักอภัยมากขึ้น++
- กระโดดให้น้อยลง คุณเดินได้มั่นคงมากขึ้น++
- ก้มหน้าให้น้อยลง คุณมองเห็นได้ไกลขึ้น++
- เห็นแก่ตัวให้น้อยลง มีคนรอดชีวิตมากขึ้น++
- ทะเลาะกับผู้ใหญ่ให้น้อยลง คุณได้รับการเอ็นดูมากขึ้น++
- เป่าลมออกให้น้อยลง คุณสูดลมเข้าได้มากขึ้น++
- คุณคิดคำถามให้น้อยลง คุณเห็นคำตอบมากขึ้น++
.....แล้วคุณลดอะไรไปบ้างแล้ว.....
เรื่องเก็บฝาก ต่อ ๆ กันมา ไม่รู้ใครเขียน
ปายฟอเรสต์โฮม ตำบลเวียงเหนือ อำเภอ ปาย จ.แม่ฮ่องสอน Pai ,Viengnour,Maehongson,Thailand. natural camping site, resort-home stay with cottages for the naturalist who love mountains Herbs plant musics arts and cultures
วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554
วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554
Jam opening Pai forest home with 「NEW MOON VILLAGE」in PAI
Jam opening Pai forest home with 「NEW MOON VILLAGE」in PAI
เนื่องจาก Pai forest home ติดกับ MOON VILLAGE ถึงเราจะเพิ่งเริ่มสร้าง แต่ระยะเวลาอีกปีกว่า ๆ นั้นนานพอที่เราจะร่วมเปิดตัวไปพร้อมกับเขาได้ เพื่อบรรยากาศจะได้เต็มไปด้วยกลิ่นไอแห่งการเฉลิมฉลอง งานของเขาเริ่มต้นเดือนธันวาคม แต่เราก็คงทยอยเริ่มไปเรื่อย ๆ
เฮฮาปาร์ตี้ อีกปีน่าจะยังไม่มีไฟฟ้า
น้ำอุ่นน้ำอาบไม่ต้องห่วง ไม่กี่เดือนระบบน้ำก็น่าจะพร้อมรับแขกเบื้องต้นในหนาวนี้ 2011
มีลำรางน้ำจากน้ำตกหัวช้างให้อาบ หรือจะอาบน้ำในลำธารหินที่ใหลมาจาก Hua Chang water fall เช่นกัน
แค้มปิ้ง นอนนับดาว เล่นดนตรี ร้องเพลง รอบกองไฟ ใช้ชีวิตให้ใกลเมือง กลับไปอยู่ในบรรยากาศธรรมชาติกันอีกครั้ง
จริง ๆ แล้วเราเริ่มเปิดตัว 2011 ปลายปีนี้แล้ว แต่ที่ร่วมแจมปลายปี 2012 วันนั้นบ้านเราน่าจะสมบูรณ์มากกว่านี้ รับแขกจำนวนมากได้แล้ว
(たましいのかくじっけん)第2弾 in PAI
(おとなのようちえん)
-2012年12月から108日間のギャザリングー
http://amanakuni.net/toron/2012maturi/index.html
more about moonvillage
http://amanakuni.net/toron/new-moonvillage.html
เนื่องจาก Pai forest home ติดกับ MOON VILLAGE ถึงเราจะเพิ่งเริ่มสร้าง แต่ระยะเวลาอีกปีกว่า ๆ นั้นนานพอที่เราจะร่วมเปิดตัวไปพร้อมกับเขาได้ เพื่อบรรยากาศจะได้เต็มไปด้วยกลิ่นไอแห่งการเฉลิมฉลอง งานของเขาเริ่มต้นเดือนธันวาคม แต่เราก็คงทยอยเริ่มไปเรื่อย ๆ
เฮฮาปาร์ตี้ อีกปีน่าจะยังไม่มีไฟฟ้า
น้ำอุ่นน้ำอาบไม่ต้องห่วง ไม่กี่เดือนระบบน้ำก็น่าจะพร้อมรับแขกเบื้องต้นในหนาวนี้ 2011
มีลำรางน้ำจากน้ำตกหัวช้างให้อาบ หรือจะอาบน้ำในลำธารหินที่ใหลมาจาก Hua Chang water fall เช่นกัน
แค้มปิ้ง นอนนับดาว เล่นดนตรี ร้องเพลง รอบกองไฟ ใช้ชีวิตให้ใกลเมือง กลับไปอยู่ในบรรยากาศธรรมชาติกันอีกครั้ง
จริง ๆ แล้วเราเริ่มเปิดตัว 2011 ปลายปีนี้แล้ว แต่ที่ร่วมแจมปลายปี 2012 วันนั้นบ้านเราน่าจะสมบูรณ์มากกว่านี้ รับแขกจำนวนมากได้แล้ว
(たましいのかくじっけん)第2弾 in PAI
(おとなのようちえん)
-2012年12月から108日間のギャザリングー
http://amanakuni.net/toron/2012maturi/index.html
more about moonvillage
http://amanakuni.net/toron/new-moonvillage.html
วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ชีวิตพอเพียง [พระไพศาล วิสาโล ]
คุณอยากได้กล้องถ่ายรูปแบบดิจิทัลสักตัวหนึ่ง หลังจากหาข้อมูลมาหลายวันทั้งจากหนังสือพิมพ์และคนรู้จัก ก็ตัดสินใจได้ว่าจะซื้อยี่ห้อและรุ่นอะไร คุณใช้เวลา 2-3 วัน ในการหาร้านที่ขายถูกที่สุดแล้วคุณก็พบร้านหนึ่งซึ่งขายต่ำกว่าราคาทั่วไปถึง 25 เปอร์เซ็นต์ คุณตัดสินใจควักเงิน 7,500 บาท แล้วพากล้องใหม่กลับบ้านด้วยความปลื้มใจที่ได้ของดีและราคาถูก
แต่เมื่อกลับถึงบ้าน ตั้งใจว่าจะไปเล่าให้เพื่อนบ้านฟัง กลับพบว่าเขาเพิ่งซื้อกล้องยี่ห้อและรุ่นเดียวกับคุณ แต่ซื้อได้ถูกกว่า คือจ่ายไปเพียง 5,000 บาทเท่านั้น คุณจะรู้สึกอย่างไร ? ยังจะยิ้มได้อีกหรือไม่ ?
ถ้าคุณยิ้มไม่ออก น่าจะถามตัวเองว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ? ก็คุณเพิ่งได้ของใหม่มา แถมจ่ายน้อยกว่าคนทั่วไป อีกทั้งสินค้าก็มีคุณภาพและถูกใจคุณเสียด้วย ทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลที่คุณน่าจะดีใจมิใช่หรือ ? แต่ทำไมคุณถึงเสียใจหรือถึงกับโมโหตัวเอง เป็นเพราะคุณไปเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้านใช่หรือไม่ ?
คุณมีกล้องที่น่าพอใจ แต่ทันทีที่คุณไปเปรียบเทียบกับกล้องของคนอื่น ความรู้สึกไม่พอใจก็เข้ามาแทนที่ คนเราไม่พอใจกับสิ่งที่ตนมีก็เพราะเหตุนี้ จึงมีผู้กล่าวว่า การเปรียบเทียบกับคนอื่นเป็นหนทางลัดไปสู่ความทุกข์ เคยสังเกตหรือไม่ว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่มักคิดว่ารถของคนอื่นดีกว่ารถของฉัน แฟนของคนอื่นสวย ( หรือหล่อ) กว่าแฟนของฉัน ลูกของคนอื่นเก่งกว่าลูกของฉัน และอาหารที่คนอื่นสั่งมักน่ากินกว่าจานของฉัน ถ้าคุณเป็นหนึ่งในจำนวนนั้น ชีวิตจะหาความสุขได้ยาก แม้จะได้มามากเท่าใด ก็ไม่พอจ่ายเสียที
อย่าว่าแต่ของที่ซื้อมาด้วยเงินของตัวเลย แม้ของที่เราได้มาฟรี ๆ เช่น ได้โทรศัพท์มือถือมาฟรี ๆ 1 เครื่อง ที่จริงน่าจะดีใจ แต่เมื่อรู้ว่าคนอื่นได้รับแจกรุ่นที่ดีกว่าและแพงกว่า จากเดิมที่เคยยิ้มจะหุบทันที แถมยังจะทุกข์ยิ่งกว่าตอนที่ยังไม่ได้รับแจกด้วยซ้ำ นั่นเป็นเพราะไปเปรียบเทียบกับคนอื่นใช่ไหม ? ทั้ง ๆ ที่ตนมีโชคแล้ว แต่ก็ยังรู้สึกว่าตัวเองโชคไม่ดีเหมือนคนอื่น
ความทุกข์ของผู้คนสมัยนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะไปมองคนอื่นมากเกินไป เราจึงไม่ค่อยพอใจกับสิ่งที่มีหรือเป็นเสียที แม้ว่าจะสวยหรือหุ่นดีเพียงใด ก็ยังรู้สึกว่าตัวเองขี้เหร่ ผมไม่สลวย ผิวคล้ำไป แถมวงแขนก็ไม่ขาวนวลเหมือนดารา แต่เมื่อใดที่เราหันมาพอใจกับสิ่งที่ตนมี มองเห็นแง่ดีของสิ่งที่มีอยุ่ ความสุขเพิ่มพูนขึ้นมามากมายทันที จิตใจจะเบาขึ้น และชีวิตจะหายเหนื่อย เพราะไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องวิ่งไล่ล่าหาซื้อสิ่งของต่าง ๆ มากมายเพียงเพื่อจะได้มีเหมือนคนอื่นเขา
พอใจในสิ่งที่เรามี ภูมิใจในสิ่งที่เราเป็น เห็นคุณค่าของสิ่งที่มีอยุ่กับตัวนี้คือเคล็ดลับสู่ชีวิตที่เบาสบายและสงบเย็น ด้วยเหตุนี้ “ สันโดษ” จึงเป็นสิ่งที่มีความ สำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิต
สันโดษไม่ได้หมายถึงการอยู่คนเดียวไม่สุงสิงกับใคร และไม่ได้หมายถึงความ เฉื่อยเนือยไม่กระตือรือร้น แต่คือความพอใจในสิ่งที่เรามีและยินดีในสิ่งที่เราเป็น ไม่ปรารถนา สิ่งที่อยู่ไกลตัวหรือเป็นของคนอื่น ถ้ามีสันโดษก็จะพบกับ ความสุขในปัจจุบันทันที แต่ถ้า ไม่มีสันโดษ ก็ต้องหวังความสุขจากอนาคต ซึ่งก็ไม่แน่ว่าจะมาถึงหรือไม่ แต่จะมาหรือไม่มา ที่แน่ ๆ ก็คือไม่มีความสุขกับปัจจุบัน
คนที่ไม่รู้จักสันโดษจึง “ขาดทุน” 2 สถาน คือ นอกจากจะไม่มี ความสุข กับสิ่งที่มีอยู่แล้ว ยังเป็นทุกข์เพราะ สิ่งที่ปรารถนยังมาไม่ถึง จำนิทานอีสปเรื่องหมา คาบเนื้อได้หรือไม่ หมาตัวนี้ได้เนื้อชิ้นใหญ่มา จึงคาบกลับไปที่รัง แต่ขณะที่กำลังเดินข้าม สะพาน มันมองลงไปที่ลำธาร เห็นเงาของมันเอง แต่นึกว่าเป็นหมาอีกตัวหนึ่งกำลังคาบเนื้อ เนื้อชิ้นนั้นดูใหญ่กว่าชิ้นที่มันกำลังคาบเสียอีก มันเกิดอยากได้ขึ้นมาจึงคายเนื้อที่คาบอยู่ในปาก หวังอิ่มเอมกับเนื้อชิ้นใหญ่กว่า ผลก็คือเมื่อเนื้อหลุดปากตกลงไปในน้ำ ชิ้นเนื้อ ในน้ำก็หายไป มันจึงสูญเสียทั้งเนื้อที่คาบอยู่และเนื้อที่เห็นในน้ำ
คนที่พอใจในสิ่งที่มีอยู่หรือเป็นอยู่ แม้สิ่งที่ดีกว่ายังมาไม่ถึง ก็ยังมีความสุข อยู่กับตัว และเมื่อสิ่งที่ดีกว่ามาถึงก็ยิ่งมีความสุขมากขึ้น ผู้ที่รู้จักสันโดษจึงมีความสุขในทุก สถาน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเขาจะงอมืองอเท้าหรือนั่งเล่นนอนเล่นอยู่เฉย ๆ เขายังมีความ ขยันหมั่นเพียร ปรับปรุงตนเองและงานการให้เจริญก้าวหน้าอยู่เสมอ แต่ขณะที่ทำนั้นก็ยังมี ความสุขกับสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ โดยไม่หวังความสุข จากสิ่งที่คอยอยู่ข้างหน้า
เมื่อรู้จักพอใจในสิ่งที่มีหรือเป็น เราก็รู้ว่าเมื่อไรควรพอเสียที ในทาง ตรงกันข้ามคนที่ไม่พอใจ ในสิ่งที่มี หรือเป็น ได้เท่าไรก็ไม่รู้จักพอ จริงอยู่ตอนได้มาใหม่ ๆ ก็มีความสุขดีอยู่หรอก แต่ไม่นานความสุขนั้นก็เลือนหายไป ของใหม่นั้นเมื่อกลาย เป็นของเก่า เสน่ห์ดึงดูดใจก็มักจะจางลง ยิ่งชอบเปรียบเทียบกับคนอื่น เห็นเขามีของดีกว่า สวยกว่า ความรู้สึกไม่พอใจกับสิ่งที่ตนมีอยู่ก็มากเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องหาใหม่ แต่เมื่อได้มาแล้วก็เข้าสู่ วงจรเดิม จึงไม่แปลกที่บางคน แม้มีรองเท้า 300 คุ่แล้วก็ยังไม่รู้จักพอเสียที ยังอยากได้ คู่ใหม่อยู่อีก มีซีดีเพลงนับพันแผ่นแล้ว ก็ยังอยากได้แผ่นใหม่อยู่อีก ในทำนองเดียวกันเศรษฐี แม้มีเงินหมื่นล้านแล้วก็ยังอยากได้เพิ่มอีกหนึ่งล้าน แน่นอนว่าเมื่อได้มาแล้วก็ยังอยากได้ เรื่อยไป คำถามก็คือแล้วเมื่อไรจึงจะพอเสียที ?
ชีวิตที่ไม่รู้จักพอใจสิ่งที่มีหรือเป็น คือชีวิตที่ต้องวิ่งไม่หยุดเหมือนคนที่วิ่งหนี เงากลางแดด วิ่งเท่าไร ๆ เงาก็ยังวิ่งไล่ตาม ไม่ว่าตะวิ่งไปได้ไกลแค่ไหน เงาก็ยังตามอยู่ดี มิหนำซ้ำยิ่งวิ่งก็ยิ่งเหนื่อย แดดก็ยิ่งเผา ทำอย่างไรดีถึงจะหนีเงาพ้น ? คำตอบก็คือ เข้ามา นั่งนิ่ง ๆ อย่ใต้ร่มไม้ ไม่ต้องวิ่ง เพียงแต่รู้จักหยุดให้เป็นไม่เพียงเงาจะหายไป ยังได้สัมผัสกับ ความสงบเย็น อีกทั้งยังหายเมื่อยล้าด้วย
ชีวิตที่รู้จักพอย่อมมีความสุขกว่าชีวิตที่ดิ้นรนไม่หยุด ขณะเดียวกันก็มีเวลา สำหรับทำสิ่งที่มีคุณค่าต่อชีวิต แทนที่จะ ตั้งหน้าตั้งตาหาเงิน ไล่ล่าหาสินค้ารุ่นใหม่ หรือเอาแต่ เที่ยวช้อปปิ้ง ก็มีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น ได้ทำงานช่วยเหลือชุมชน ศึกษาหาความรู้ และฝึกฝนพัฒนาจิตใจ คุณภาพชีวิตจะเจริญงอกงามมากขึ้นและมีความสุขมากขึ้นด้วย
ชีวิตที่รู้จักพอนั้นนอกจากจะเกิดขึ้นได้เพราะ มีความพอใจในสิ่งที่มีอยู่และ เป็นอยู่ ดังได้กล่าวมาแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ มากก็คือ การตระหนนักชัดในคุณและโทษ ของวัตถุสิ่งเสพ วัตถุหรือสิ่งเสพรวมไปถึงทรัพย์สมบัติทั้งหลายนั้น มีประโยชน์ตรงที่ให้ ความสุขทางกาย ช่วยให้มีความเป็นอยู่ที่สุขสบาย และอำนวยให้สามารถทำกิจการงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก เช่น รถยนต์ช่วยให้เดินทางได้รวดเร็ว เป็นต้น แต่ในเวลาเดียวกันมันก็มีโทษ อยู่ด้วย ประการแรกก้คือภาระในทางจิตใจ เช่น ทำให้เกิดความห่วงกังวลอยู่เสมอว่าจะมีใคร ขโมยไปหรือไม่ และถ้าหายไปก็ยิ่งทุกข์ ประการต่อมาก็คือ ภาระในการดูแลรักษาและป้องกัน บ่อยครั้งยังเป็นภาระในการใช้ด้วย เพราะเมื่อซื้อมา แล้วถ้าไม่ใช้ก็รู้สึกเสียดาย จึงต้องเจียด เวลามาใช้มัน ทำให้มีเวลาว่างเหลือน้อยลง
วัตถุสิ่งเสพนั้นไม่ได้ดึงเงินไปจากกระเป๋าของเราเท่านั้น แต่ยังแย่งชิง เวลาและพลังงานไปจากเรา ยิ่งมีวัตถุสิ่งเสพมากเท่าไร เวลาและพลังงานสำหรับเรื่องอื่น ก็มีน้อยลง สมบัติบางอย่างนั้นดูเผิน ๆ เหมือนกับทำให้เรามีเวลามากขึ้น เช่น รถยนต์ แต่หากพิจารณาให้ถี่ถ้วนอาจพบว่ารถยนต์นั้นช่วยประหยัดเวลาให้แก่เราไม่ได้มากอย่างที่นึก เคยมีผู้คำนวณเวลา ทั้งหมดที่ใช้ไปกกับรถยนต์ เริ่มตั้งแต่เวลาที่ใช้ในการหาเงินมาซื้อ ซื้อน้ำมัน จ่ายค่าอะไหล่ ค่าซ่อมรถ ค่าประกัน และค่าภาษี รวมทั้งเวลา ที่ใช้ไปกับการ ดูแลรักษา เช่น ล้างรถ นำรถไปตรวจสภาพ นำรถไปซ่อม ตลอดจนเวลาที่ใช้ในการขับ และหาที่จอด เมื่อเอาเวลาทั้งหมดไป หารกับระยะทางที่เดินทางด้วยรถยนต์ คำตอบที่ได้ก็คือ 8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หมายความว่า แม้ว่าเราจะขับรถด้วยความเร้ว 80 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง แต่ในความเป็นจริงแล้ว 8 กิโลเมตรต่อชั่วโมงคือ ตัวเลขสุทธิจากการเดินทางด้วยรถยนต์ พูดอีกอย่างคือรถยนต์ไม่ได้ช่วยให้เรา เดินทางเร็วกว่ารถจักรยานสักเท่าไรเลย
เวลาที่สูญเสียไปกับรถยนต์ตลอดจนวัตถุสิ่งเสพทั้งหลายนั้น มีมากกว่าที่เราคิด สิ่งที่ช่วยประหยัดเวลานั้นบ่อยครั้งก็ไม่ไดช่วย ให้เรามีเวลามากขึ้นเลย ดังเห็นได้ว่ายื่งมีรถยนต์ มากเท่าไร คนก็ยิ่งเสียเวลาอยู่บนรถยนต์มากเท่านั้น และมีเวลาอยู่ในบ้านน้อยลง การพัฒนา ความเร็วของรถยนต์ให้เพิ่มมากขึ้น ไม่ได้ช่วยให้คนมีเวลาเป็นของตนเองเพิ่มขึ้นเลย กลับมี น้อยลงด้วยซ้ำ น่าแปลกใจไหมว่าคนใน สังคมสมัยใหม่แม้มีอุปกรณ์ประหยัดเวลาอยู่เต็มบ้าน แต่เหตุใดกลับมีเวลาว่างน้อยกว่าคนในชนบทซึ่งไม่มีแม้แต่รถยนต์ หม้อหุงข้าวไฟฟ้า หรือมาม่า ในขณะที่คนชนบทมีเวลานั่งเล่นอยู่กับลูกหลานและกินข้าวพร้อมหน้ากับทุกคนที่บ้าน แต่คน ในเมืองกลับแทบไม่มีเวลาทำเช่น นั้นเลย
มองให้ถี่ถ้วนแล้ว “ต้นทุน” ที่ต้องจ่ายให้แก่วัตถุสิ่งเสพนั้น ไม่ได้มีแค่เงิน เวลา พลังงาน และภาระทางจิตใจเท่านั้น มันอาจ รวมไปถึงวิถีชีวิตที่พึงปรารถนาด้วย เพราะชีวิตทั้งชีวิต อาจต้องหมดไปกับการทำมาหาเงินเพื่อแสวงหา และรักษาวัตถุสิ่งเสพเหล่านี้ ให้ พร้อมพรั่ง
ความสะดวกสบายนั้นไม่ใช่สิ่งที่ได้มาเปล่า ๆ แต่ต้องแลกมาด้วย บางสิ่งบางอย่างที่อาจมีคุณค่า ต่อชีวิตเรา และสิ่งนั้นอาจหมายถึงจุดหมายหรือวิถี ชีวิตที่พึงปรารถนา ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ โทรศัพท์มือถือ และ อินเตอร์เน็ต เทคโนโลยี ทั้งสองช่วยให้เราติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นที่อยู่ไกลได้สะดวกขึ้น แต่ยิ่ง ติดต่อได้สะดวก ก็ยิ่ ชวน ให้ใช้บ่อยขึ้น จนในที่สุด ผู้ใช้กลับไม่มีเวลาที่จะให้กับครอบครัวหรือคนที่บ้าน ความสัมพันธ์ เหินห่างจนหมางเมิน ซึ่งเท่ากับผลักดันให้ไปหมกมุ่นกับเทคโนโลยีมากขึ้น จนเกิดช่องว่าง ในการสื่อสารกับผู้คนโดยเฉพาะคนใกล้ชิด ดังเห็นได้จากหนุ่มสาวจำนวนมากในปัจจุบัน
ความตระหนักถึงโทษหรือภาระที่เกิดจากวัตถุสิ่งเสพ ไม่ว่าจะสะดวกสบายหรือ สนุกสนาน เอร็ดอร่อยเพียงใด ช่วยให้เรามี ความระมัดระวังในการใช้สอยและครอบครอง วัตถุสิ่งเสพทั้งหลาย ไม่สำคัญผิดว่ายิ่งมีมากเท่าไรยิ่งดี มีความใคร่ครวญมากขึ้นว่ามีเท่าไร ถึงจะพอดี บริโภคแค่ไหนถึงจะเป็นคุณมากกว่าโทษ
ความพอใจในสิ่งที่มีอยู่นั้นเป็นเรื่องคุณภาพจิต ส่วนความเข้าใจหรือตระหนักถึง คุณและโทษของวัตถุสิ่งเสพนั้นเป็นเรื่องของ ปัญญา ทั้งคุณภาพจิตและปัญญาดังกล่าว ช่วยให้ชีวิตรู้จักพอ และเกิดความพอดีในการบริโภคและใช้สอย อย่างไรก็ตามบางครั้ง แม้จะรู้ว่า เท่าไรถึงจะพอดี แต่ใจไม่คล้อยตาม ยังติดในความสะดวกสบายหรือ เอร็ดอร่อย ทำให้ไม่รู้จักพอในการบริโภคหรือครอบครอง ในกรณี เช่นนี้สิ่งหนึ่งที่จะช่วยได้ คือการกำหนดขอบเขตให้แก่ตนเอง ว่าจะบริโภคเท่าไรในแต่ละวันหรือซื้อได้เท่าไรในแต่ละเดือน เช่น คนที่ติด อินเตอร์เน็ตหรือโทรทัศน์ ควรกำหนดว่าจะใช้หรือดูอย่างมากที่สุด วันละกี่ชั่วโมง ส่วนคนที่ติดช้อปปิ้งก็อาจกำหนดวินัย ให้ตัวเองว่าจะเข้า ห้างเพียงสัปดาห์ละครั้ง และจะเข้า ก็ต่อเมื่อมีรายการสินค้าอยู่ในมือแล้วเท่านั้น และจะไม่ซื้อสิ่งที่อยู่นอกรายการ ดียิ่งกว่านั้นก็คือ จะงดใช้บัตรเครดิตช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ หรือมีบัตรเครดิตไม่เกิน 2 ใบ เป็นต้น
การมีวินัย ความพอใจในสิ่งที่มี และการมีปัญญาเห็นถึงคุณและโทษ ของสิ่งเสพ คือปัจจัย 3 ประการที่ช่วยให้เกิดทั้งความ รู้จักพอ และความพอดีในการ บริโภคใช้สอย นำพาชีวิตสู่มิติใหม่ที่เป็นนายเหนือวัตถุ เพราะสามารถรู้จักใช้ให้เป็น เครื่องมือสร้างความเจริญงอกงามแก่ชีวิตได้ โดยไม่ต้องตกเป็นทาสของมันดังแต่ก่อน
ชีวิตพอเพียงกับชีวิตที่เป็นอิสระจึงมิอาจแยกจากกันได้
แต่เมื่อกลับถึงบ้าน ตั้งใจว่าจะไปเล่าให้เพื่อนบ้านฟัง กลับพบว่าเขาเพิ่งซื้อกล้องยี่ห้อและรุ่นเดียวกับคุณ แต่ซื้อได้ถูกกว่า คือจ่ายไปเพียง 5,000 บาทเท่านั้น คุณจะรู้สึกอย่างไร ? ยังจะยิ้มได้อีกหรือไม่ ?
ถ้าคุณยิ้มไม่ออก น่าจะถามตัวเองว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ? ก็คุณเพิ่งได้ของใหม่มา แถมจ่ายน้อยกว่าคนทั่วไป อีกทั้งสินค้าก็มีคุณภาพและถูกใจคุณเสียด้วย ทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลที่คุณน่าจะดีใจมิใช่หรือ ? แต่ทำไมคุณถึงเสียใจหรือถึงกับโมโหตัวเอง เป็นเพราะคุณไปเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้านใช่หรือไม่ ?
คุณมีกล้องที่น่าพอใจ แต่ทันทีที่คุณไปเปรียบเทียบกับกล้องของคนอื่น ความรู้สึกไม่พอใจก็เข้ามาแทนที่ คนเราไม่พอใจกับสิ่งที่ตนมีก็เพราะเหตุนี้ จึงมีผู้กล่าวว่า การเปรียบเทียบกับคนอื่นเป็นหนทางลัดไปสู่ความทุกข์ เคยสังเกตหรือไม่ว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่มักคิดว่ารถของคนอื่นดีกว่ารถของฉัน แฟนของคนอื่นสวย ( หรือหล่อ) กว่าแฟนของฉัน ลูกของคนอื่นเก่งกว่าลูกของฉัน และอาหารที่คนอื่นสั่งมักน่ากินกว่าจานของฉัน ถ้าคุณเป็นหนึ่งในจำนวนนั้น ชีวิตจะหาความสุขได้ยาก แม้จะได้มามากเท่าใด ก็ไม่พอจ่ายเสียที
อย่าว่าแต่ของที่ซื้อมาด้วยเงินของตัวเลย แม้ของที่เราได้มาฟรี ๆ เช่น ได้โทรศัพท์มือถือมาฟรี ๆ 1 เครื่อง ที่จริงน่าจะดีใจ แต่เมื่อรู้ว่าคนอื่นได้รับแจกรุ่นที่ดีกว่าและแพงกว่า จากเดิมที่เคยยิ้มจะหุบทันที แถมยังจะทุกข์ยิ่งกว่าตอนที่ยังไม่ได้รับแจกด้วยซ้ำ นั่นเป็นเพราะไปเปรียบเทียบกับคนอื่นใช่ไหม ? ทั้ง ๆ ที่ตนมีโชคแล้ว แต่ก็ยังรู้สึกว่าตัวเองโชคไม่ดีเหมือนคนอื่น
ความทุกข์ของผู้คนสมัยนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะไปมองคนอื่นมากเกินไป เราจึงไม่ค่อยพอใจกับสิ่งที่มีหรือเป็นเสียที แม้ว่าจะสวยหรือหุ่นดีเพียงใด ก็ยังรู้สึกว่าตัวเองขี้เหร่ ผมไม่สลวย ผิวคล้ำไป แถมวงแขนก็ไม่ขาวนวลเหมือนดารา แต่เมื่อใดที่เราหันมาพอใจกับสิ่งที่ตนมี มองเห็นแง่ดีของสิ่งที่มีอยุ่ ความสุขเพิ่มพูนขึ้นมามากมายทันที จิตใจจะเบาขึ้น และชีวิตจะหายเหนื่อย เพราะไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องวิ่งไล่ล่าหาซื้อสิ่งของต่าง ๆ มากมายเพียงเพื่อจะได้มีเหมือนคนอื่นเขา
พอใจในสิ่งที่เรามี ภูมิใจในสิ่งที่เราเป็น เห็นคุณค่าของสิ่งที่มีอยุ่กับตัวนี้คือเคล็ดลับสู่ชีวิตที่เบาสบายและสงบเย็น ด้วยเหตุนี้ “ สันโดษ” จึงเป็นสิ่งที่มีความ สำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิต
สันโดษไม่ได้หมายถึงการอยู่คนเดียวไม่สุงสิงกับใคร และไม่ได้หมายถึงความ เฉื่อยเนือยไม่กระตือรือร้น แต่คือความพอใจในสิ่งที่เรามีและยินดีในสิ่งที่เราเป็น ไม่ปรารถนา สิ่งที่อยู่ไกลตัวหรือเป็นของคนอื่น ถ้ามีสันโดษก็จะพบกับ ความสุขในปัจจุบันทันที แต่ถ้า ไม่มีสันโดษ ก็ต้องหวังความสุขจากอนาคต ซึ่งก็ไม่แน่ว่าจะมาถึงหรือไม่ แต่จะมาหรือไม่มา ที่แน่ ๆ ก็คือไม่มีความสุขกับปัจจุบัน
คนที่ไม่รู้จักสันโดษจึง “ขาดทุน” 2 สถาน คือ นอกจากจะไม่มี ความสุข กับสิ่งที่มีอยู่แล้ว ยังเป็นทุกข์เพราะ สิ่งที่ปรารถนยังมาไม่ถึง จำนิทานอีสปเรื่องหมา คาบเนื้อได้หรือไม่ หมาตัวนี้ได้เนื้อชิ้นใหญ่มา จึงคาบกลับไปที่รัง แต่ขณะที่กำลังเดินข้าม สะพาน มันมองลงไปที่ลำธาร เห็นเงาของมันเอง แต่นึกว่าเป็นหมาอีกตัวหนึ่งกำลังคาบเนื้อ เนื้อชิ้นนั้นดูใหญ่กว่าชิ้นที่มันกำลังคาบเสียอีก มันเกิดอยากได้ขึ้นมาจึงคายเนื้อที่คาบอยู่ในปาก หวังอิ่มเอมกับเนื้อชิ้นใหญ่กว่า ผลก็คือเมื่อเนื้อหลุดปากตกลงไปในน้ำ ชิ้นเนื้อ ในน้ำก็หายไป มันจึงสูญเสียทั้งเนื้อที่คาบอยู่และเนื้อที่เห็นในน้ำ
คนที่พอใจในสิ่งที่มีอยู่หรือเป็นอยู่ แม้สิ่งที่ดีกว่ายังมาไม่ถึง ก็ยังมีความสุข อยู่กับตัว และเมื่อสิ่งที่ดีกว่ามาถึงก็ยิ่งมีความสุขมากขึ้น ผู้ที่รู้จักสันโดษจึงมีความสุขในทุก สถาน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเขาจะงอมืองอเท้าหรือนั่งเล่นนอนเล่นอยู่เฉย ๆ เขายังมีความ ขยันหมั่นเพียร ปรับปรุงตนเองและงานการให้เจริญก้าวหน้าอยู่เสมอ แต่ขณะที่ทำนั้นก็ยังมี ความสุขกับสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ โดยไม่หวังความสุข จากสิ่งที่คอยอยู่ข้างหน้า
เมื่อรู้จักพอใจในสิ่งที่มีหรือเป็น เราก็รู้ว่าเมื่อไรควรพอเสียที ในทาง ตรงกันข้ามคนที่ไม่พอใจ ในสิ่งที่มี หรือเป็น ได้เท่าไรก็ไม่รู้จักพอ จริงอยู่ตอนได้มาใหม่ ๆ ก็มีความสุขดีอยู่หรอก แต่ไม่นานความสุขนั้นก็เลือนหายไป ของใหม่นั้นเมื่อกลาย เป็นของเก่า เสน่ห์ดึงดูดใจก็มักจะจางลง ยิ่งชอบเปรียบเทียบกับคนอื่น เห็นเขามีของดีกว่า สวยกว่า ความรู้สึกไม่พอใจกับสิ่งที่ตนมีอยู่ก็มากเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องหาใหม่ แต่เมื่อได้มาแล้วก็เข้าสู่ วงจรเดิม จึงไม่แปลกที่บางคน แม้มีรองเท้า 300 คุ่แล้วก็ยังไม่รู้จักพอเสียที ยังอยากได้ คู่ใหม่อยู่อีก มีซีดีเพลงนับพันแผ่นแล้ว ก็ยังอยากได้แผ่นใหม่อยู่อีก ในทำนองเดียวกันเศรษฐี แม้มีเงินหมื่นล้านแล้วก็ยังอยากได้เพิ่มอีกหนึ่งล้าน แน่นอนว่าเมื่อได้มาแล้วก็ยังอยากได้ เรื่อยไป คำถามก็คือแล้วเมื่อไรจึงจะพอเสียที ?
ชีวิตที่ไม่รู้จักพอใจสิ่งที่มีหรือเป็น คือชีวิตที่ต้องวิ่งไม่หยุดเหมือนคนที่วิ่งหนี เงากลางแดด วิ่งเท่าไร ๆ เงาก็ยังวิ่งไล่ตาม ไม่ว่าตะวิ่งไปได้ไกลแค่ไหน เงาก็ยังตามอยู่ดี มิหนำซ้ำยิ่งวิ่งก็ยิ่งเหนื่อย แดดก็ยิ่งเผา ทำอย่างไรดีถึงจะหนีเงาพ้น ? คำตอบก็คือ เข้ามา นั่งนิ่ง ๆ อย่ใต้ร่มไม้ ไม่ต้องวิ่ง เพียงแต่รู้จักหยุดให้เป็นไม่เพียงเงาจะหายไป ยังได้สัมผัสกับ ความสงบเย็น อีกทั้งยังหายเมื่อยล้าด้วย
ชีวิตที่รู้จักพอย่อมมีความสุขกว่าชีวิตที่ดิ้นรนไม่หยุด ขณะเดียวกันก็มีเวลา สำหรับทำสิ่งที่มีคุณค่าต่อชีวิต แทนที่จะ ตั้งหน้าตั้งตาหาเงิน ไล่ล่าหาสินค้ารุ่นใหม่ หรือเอาแต่ เที่ยวช้อปปิ้ง ก็มีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น ได้ทำงานช่วยเหลือชุมชน ศึกษาหาความรู้ และฝึกฝนพัฒนาจิตใจ คุณภาพชีวิตจะเจริญงอกงามมากขึ้นและมีความสุขมากขึ้นด้วย
ชีวิตที่รู้จักพอนั้นนอกจากจะเกิดขึ้นได้เพราะ มีความพอใจในสิ่งที่มีอยู่และ เป็นอยู่ ดังได้กล่าวมาแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ มากก็คือ การตระหนนักชัดในคุณและโทษ ของวัตถุสิ่งเสพ วัตถุหรือสิ่งเสพรวมไปถึงทรัพย์สมบัติทั้งหลายนั้น มีประโยชน์ตรงที่ให้ ความสุขทางกาย ช่วยให้มีความเป็นอยู่ที่สุขสบาย และอำนวยให้สามารถทำกิจการงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก เช่น รถยนต์ช่วยให้เดินทางได้รวดเร็ว เป็นต้น แต่ในเวลาเดียวกันมันก็มีโทษ อยู่ด้วย ประการแรกก้คือภาระในทางจิตใจ เช่น ทำให้เกิดความห่วงกังวลอยู่เสมอว่าจะมีใคร ขโมยไปหรือไม่ และถ้าหายไปก็ยิ่งทุกข์ ประการต่อมาก็คือ ภาระในการดูแลรักษาและป้องกัน บ่อยครั้งยังเป็นภาระในการใช้ด้วย เพราะเมื่อซื้อมา แล้วถ้าไม่ใช้ก็รู้สึกเสียดาย จึงต้องเจียด เวลามาใช้มัน ทำให้มีเวลาว่างเหลือน้อยลง
วัตถุสิ่งเสพนั้นไม่ได้ดึงเงินไปจากกระเป๋าของเราเท่านั้น แต่ยังแย่งชิง เวลาและพลังงานไปจากเรา ยิ่งมีวัตถุสิ่งเสพมากเท่าไร เวลาและพลังงานสำหรับเรื่องอื่น ก็มีน้อยลง สมบัติบางอย่างนั้นดูเผิน ๆ เหมือนกับทำให้เรามีเวลามากขึ้น เช่น รถยนต์ แต่หากพิจารณาให้ถี่ถ้วนอาจพบว่ารถยนต์นั้นช่วยประหยัดเวลาให้แก่เราไม่ได้มากอย่างที่นึก เคยมีผู้คำนวณเวลา ทั้งหมดที่ใช้ไปกกับรถยนต์ เริ่มตั้งแต่เวลาที่ใช้ในการหาเงินมาซื้อ ซื้อน้ำมัน จ่ายค่าอะไหล่ ค่าซ่อมรถ ค่าประกัน และค่าภาษี รวมทั้งเวลา ที่ใช้ไปกับการ ดูแลรักษา เช่น ล้างรถ นำรถไปตรวจสภาพ นำรถไปซ่อม ตลอดจนเวลาที่ใช้ในการขับ และหาที่จอด เมื่อเอาเวลาทั้งหมดไป หารกับระยะทางที่เดินทางด้วยรถยนต์ คำตอบที่ได้ก็คือ 8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หมายความว่า แม้ว่าเราจะขับรถด้วยความเร้ว 80 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง แต่ในความเป็นจริงแล้ว 8 กิโลเมตรต่อชั่วโมงคือ ตัวเลขสุทธิจากการเดินทางด้วยรถยนต์ พูดอีกอย่างคือรถยนต์ไม่ได้ช่วยให้เรา เดินทางเร็วกว่ารถจักรยานสักเท่าไรเลย
เวลาที่สูญเสียไปกับรถยนต์ตลอดจนวัตถุสิ่งเสพทั้งหลายนั้น มีมากกว่าที่เราคิด สิ่งที่ช่วยประหยัดเวลานั้นบ่อยครั้งก็ไม่ไดช่วย ให้เรามีเวลามากขึ้นเลย ดังเห็นได้ว่ายื่งมีรถยนต์ มากเท่าไร คนก็ยิ่งเสียเวลาอยู่บนรถยนต์มากเท่านั้น และมีเวลาอยู่ในบ้านน้อยลง การพัฒนา ความเร็วของรถยนต์ให้เพิ่มมากขึ้น ไม่ได้ช่วยให้คนมีเวลาเป็นของตนเองเพิ่มขึ้นเลย กลับมี น้อยลงด้วยซ้ำ น่าแปลกใจไหมว่าคนใน สังคมสมัยใหม่แม้มีอุปกรณ์ประหยัดเวลาอยู่เต็มบ้าน แต่เหตุใดกลับมีเวลาว่างน้อยกว่าคนในชนบทซึ่งไม่มีแม้แต่รถยนต์ หม้อหุงข้าวไฟฟ้า หรือมาม่า ในขณะที่คนชนบทมีเวลานั่งเล่นอยู่กับลูกหลานและกินข้าวพร้อมหน้ากับทุกคนที่บ้าน แต่คน ในเมืองกลับแทบไม่มีเวลาทำเช่น นั้นเลย
มองให้ถี่ถ้วนแล้ว “ต้นทุน” ที่ต้องจ่ายให้แก่วัตถุสิ่งเสพนั้น ไม่ได้มีแค่เงิน เวลา พลังงาน และภาระทางจิตใจเท่านั้น มันอาจ รวมไปถึงวิถีชีวิตที่พึงปรารถนาด้วย เพราะชีวิตทั้งชีวิต อาจต้องหมดไปกับการทำมาหาเงินเพื่อแสวงหา และรักษาวัตถุสิ่งเสพเหล่านี้ ให้ พร้อมพรั่ง
ความสะดวกสบายนั้นไม่ใช่สิ่งที่ได้มาเปล่า ๆ แต่ต้องแลกมาด้วย บางสิ่งบางอย่างที่อาจมีคุณค่า ต่อชีวิตเรา และสิ่งนั้นอาจหมายถึงจุดหมายหรือวิถี ชีวิตที่พึงปรารถนา ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ โทรศัพท์มือถือ และ อินเตอร์เน็ต เทคโนโลยี ทั้งสองช่วยให้เราติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นที่อยู่ไกลได้สะดวกขึ้น แต่ยิ่ง ติดต่อได้สะดวก ก็ยิ่ ชวน ให้ใช้บ่อยขึ้น จนในที่สุด ผู้ใช้กลับไม่มีเวลาที่จะให้กับครอบครัวหรือคนที่บ้าน ความสัมพันธ์ เหินห่างจนหมางเมิน ซึ่งเท่ากับผลักดันให้ไปหมกมุ่นกับเทคโนโลยีมากขึ้น จนเกิดช่องว่าง ในการสื่อสารกับผู้คนโดยเฉพาะคนใกล้ชิด ดังเห็นได้จากหนุ่มสาวจำนวนมากในปัจจุบัน
ความตระหนักถึงโทษหรือภาระที่เกิดจากวัตถุสิ่งเสพ ไม่ว่าจะสะดวกสบายหรือ สนุกสนาน เอร็ดอร่อยเพียงใด ช่วยให้เรามี ความระมัดระวังในการใช้สอยและครอบครอง วัตถุสิ่งเสพทั้งหลาย ไม่สำคัญผิดว่ายิ่งมีมากเท่าไรยิ่งดี มีความใคร่ครวญมากขึ้นว่ามีเท่าไร ถึงจะพอดี บริโภคแค่ไหนถึงจะเป็นคุณมากกว่าโทษ
ความพอใจในสิ่งที่มีอยู่นั้นเป็นเรื่องคุณภาพจิต ส่วนความเข้าใจหรือตระหนักถึง คุณและโทษของวัตถุสิ่งเสพนั้นเป็นเรื่องของ ปัญญา ทั้งคุณภาพจิตและปัญญาดังกล่าว ช่วยให้ชีวิตรู้จักพอ และเกิดความพอดีในการบริโภคและใช้สอย อย่างไรก็ตามบางครั้ง แม้จะรู้ว่า เท่าไรถึงจะพอดี แต่ใจไม่คล้อยตาม ยังติดในความสะดวกสบายหรือ เอร็ดอร่อย ทำให้ไม่รู้จักพอในการบริโภคหรือครอบครอง ในกรณี เช่นนี้สิ่งหนึ่งที่จะช่วยได้ คือการกำหนดขอบเขตให้แก่ตนเอง ว่าจะบริโภคเท่าไรในแต่ละวันหรือซื้อได้เท่าไรในแต่ละเดือน เช่น คนที่ติด อินเตอร์เน็ตหรือโทรทัศน์ ควรกำหนดว่าจะใช้หรือดูอย่างมากที่สุด วันละกี่ชั่วโมง ส่วนคนที่ติดช้อปปิ้งก็อาจกำหนดวินัย ให้ตัวเองว่าจะเข้า ห้างเพียงสัปดาห์ละครั้ง และจะเข้า ก็ต่อเมื่อมีรายการสินค้าอยู่ในมือแล้วเท่านั้น และจะไม่ซื้อสิ่งที่อยู่นอกรายการ ดียิ่งกว่านั้นก็คือ จะงดใช้บัตรเครดิตช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ หรือมีบัตรเครดิตไม่เกิน 2 ใบ เป็นต้น
การมีวินัย ความพอใจในสิ่งที่มี และการมีปัญญาเห็นถึงคุณและโทษ ของสิ่งเสพ คือปัจจัย 3 ประการที่ช่วยให้เกิดทั้งความ รู้จักพอ และความพอดีในการ บริโภคใช้สอย นำพาชีวิตสู่มิติใหม่ที่เป็นนายเหนือวัตถุ เพราะสามารถรู้จักใช้ให้เป็น เครื่องมือสร้างความเจริญงอกงามแก่ชีวิตได้ โดยไม่ต้องตกเป็นทาสของมันดังแต่ก่อน
ชีวิตพอเพียงกับชีวิตที่เป็นอิสระจึงมิอาจแยกจากกันได้
วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554
วิธีสร้างบุญบารมี
บุญ คือเครื่องชำระสันดาน ความดี กุศล ความสุข ความประพฤติชอบทางกาย วาจา และใจ กุศลธรรม
บารมี คือคุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงสุด
วิธีสร้างบุญบารมีในพระพุทธศาสนามีอยู่ ๓ ขั้นตอน คือการให้ทาน การถือศีล และการเจริญภาวนา ที่นิยมเรียกกันว่า “ทาน ศีล ภาวนา” ซึ่งการให้ทานหรือการทำทานนั้นเป็นการสร้างบุญที่ต่ำที่สุด ได้บุญน้อยที่สุด
ไม่ว่าจะทำมากอย่างไรก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากไปกว่าการถือศีลไปได้ การถือศีลนั้นแม้จะมากอย่างไร ก็ไม่มีทางมากเกินไปกว่าการเจริญภาวนาไปได้ ฉะนั้น การเจริญภาวนานั้น จึงเป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุด ได้มากที่สุด
๑. การทำทาน
ผู้ทำทานได้บุญมากหรือน้อยประกอบด้วยองค์ประกอบ ๓ ประการต่อไปนี้
องค์ประกอบข้อ ๑ “วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์”
ไม่ใช่ของที่ได้มาเพราะการเบียดเบียนผู้อื่น ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ เป็นต้น
องค์ประกอบข้อ ๒ “เจตนาในการให้ทานต้องบริสุทธิ์”
เพื่อเป็นการขจัดความโลภ ความตระหนี่เหนียวแน่น ความหวงแหนหลงใหลในทรัพย์สมบัติของตนอันเป็นกิเลสหยาบ คือ
“โลภ กิเลส” และเพื่อเป็นการสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขด้วย
เจตนาในการทำทานบริสุทธิ์ ๓ ระยะ
(๑) ระยะก่อนที่จะให้ทาน มีจิตโสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีที่จะให้ทาน เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขเพราะทรัพย์สิ่งของของตน
(๒) ระยะที่กำลังลงมือให้ทาน มีจิตโสมนัสยินดีและเบิกบาน
(๓) ระยะหลังจากที่ได้ให้ทานไปแล้ว เมื่อหวนคิดถึงทานที่ตนได้กระทำไปแล้วครั้งใด ก็มีจิตใจโสมนัสร่างเริงเบิกบาน ยินดีในทานนั้น ๆ
องค์ประกอบข้อ ๓ “เนื้อนาบุญต้องบริสุทธิ์”
เป็นองค์ประกอบข้อที่สำคัญที่สุด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า แม้วัตถุทานจะบริสุทธิ์ดี เจตนาในการทำทานจะบริสุทธิ์ดีจะทำให้ทานนั้นมีผลมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อนาบุญเป็นลำดับต่อไปนี้ คือ
ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉาน ได้บุญน้อยกว่า
การให้ทานแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมวินัย ยังได้บุญน้อยกว่า
การให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๕ ยังได้บุญน้อยกว่า
การให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๘ ยังได้บุญน้อยกว่า
การถวายทานแก่สามเณรซึ่งมีศีล ๑๐ ยังได้บุญน้อยกว่า
การถวายทานแก่พระสมมุติสงฆ์ผู้มีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อ ยังได้บุญน้อยกว่า
การถวายทานแก่พระโสดาบัน ยังได้บุญน้อยกว่า
การถวายทานแก่พระสกิทาคามี ยังได้บุญน้อยกว่า
การถวายทานแก่พระอนาคามี ยังได้บุญน้อยกว่า
การถวายทานแก่พระอรหันต์ ยังได้บุญน้อยกว่า
การถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ยังได้บุญน้อยกว่า
การถวายทานแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังได้บุญน้อยกว่า
การถวายสังฆทานที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน ซึ่งแม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายวิหารทาน ได้แก่การสร้างหรือร่วมสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาโรงธรรม ศาลาท่าน้ำ ศาลาที่พักอาศัยคนเดินทาง อันเป็นสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันเช่น โรงพยาบาล โรงเรียน บ่อน้ำ แท็งก์น้ำ ศาลาป้ายรถยนต์โดยสารประจำทาง สุสาน เมรุเผาศพ ก็ได้บุญมากให้ทำนองเดียวกัน
การถวายวิหารทานแม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ “ธรรมทาน” แม้เพียงครั้งเดียว การให้ธรรมทานก็คือการเทศน์ การสอนธรรมะแก่ผู้อื่นที่ยังไม่รู้ให้ได้รู้ ให้ได้เข้าใจในมรรค ผล นิพพานให้ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิได้กลับใจเป็นสัมมาทิฐิ ชักจูงผู้คนให้เข้าปฏิบัติธรรม รวมตลอดถึงการพิมพ์การแจกหนังสือธรรมะ
การให้ธรรมทานมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ “อภัยทาน”
คือการไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน
เพื่อละ “โทสกิเสส” และเป็นการเจริญ “เมตตาพรหมวิหารธรรม”
๒. การรักษาศีล
ศีลคือสิ่งหรือกติกาที่บุคคลจะต้องระวังรักษาตามเพศและฐานะ เช่น เป็นฆราวาส ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และพระภิกษุสงฆ์ศีล ๒๒๗
การรักษาศีลเป็นการเพียรพยายามเพื่อระงับโทษทางกายและวาจา การบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงขึ้นกว่าการให้ทาน การถือศีลได้บุญมากและน้อยต่างกันไปตามลำดับต่อไปนี้คือ
๑. การให้อภัยทานมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๕ แม้เพียงครั้งเดียว
๒. การถือศีล ๕ มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๘ เพียงครั้งเดียว
๓. การถือศีล ๘ มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๑๐ คือการบวชเป็นสามเณร แม้จะบวชมาเพียงวันเดียวก็ตาม
๔. การที่ได้บวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา รักษาศีล ๑๐ ไม่ให้ขาด แม้จะนานถึง ๑๐๐ ปี ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนามีศีลปาฏิโมกข์ สังวร ๒๒๗ เพียงวันเดียวก็ตาม
ฉะนั้นในฝ่ายศีลแล้ว การที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนาได้บุญบารมีมากที่สุด เพราะเป็นเนกขัมมบารมีในบารมี ๑๐ ทัศ ซึ่งเป็นการออกจากกามเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติธรรมขั้นสูง ๆ คือการภาวนาเพื่อมรรค ผล นิพพาน ต่อ ๆ ไป
๓. การภาวนา
เป็นการสร้างบุญบารมีที่ สูงที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา จัดว่าเป็นแก่นแท้และสูงกว่าฝ่ายศีลมากนัก การเจริญภาวนานั้น มี ๒ อย่าง คือ (๑) สมถภาวนา (การทำสมาธิ) และ (๒) วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา) แยกอธิบายดังนี้ คือ
(๑) สมถภาวนา (การทำสมาธิ)
ได้แก่ การทำจิตใจให้เป็นสมาธิ หรือเป็นฌาน คือการทำจิตให้มั่นคงอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปยังอารมณ์อื่น ๆ วิธีภาวนานั้น มีมากมายหลายร้อยชนิด ซึ่งพระพุทธองค์ทรงบัญญัติแบบอย่างเอาไว้ ๔๐ ประการ เรียกกันว่า “กรรมฐาน ๔๐” ซึ่งผู้ใดจะเลือกใช้วิธีใดก็ได้ตามแต่สมัครใจ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาศีลให้ครบถ้วนบริบูรณ์ตามเพศของตนเสียก่อน จึงจะสามารถทำจิตให้เป็นฌานได้ หากศีลยังไม่มั่นคง ย่อมเจริญญานให้เกิดขึ้นได้โดยยาก เพราะศีลย่อมเป็นบาทฐาน (เป็นกำลัง) ให้เกิดสมาธิขึ้น อานิสงส์ของสมาธินั้น มีมากกว่าการรักษาศีลอย่างเทียบกันไม่ได้ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า “แม้ จะได้อุปสมบทเป็นภิกษุรักษาศีล ๒๒๗ ข้อ ไม่เคยขาด ไม่ด่างพร้อยมานานถึง ๑๐๐ ปี ก็ยังได้บุญกุศลน้อยกว่าผู้ที่ทำสมาธิเพียงให้จิตสงบนานเพียงชั่วไก่กระพือ ปีก ช้างกระดิกหู” คำว่า “จิตสงบ” ในที่นี้หมายถึงจิตที่เป็นอารมณ์เดียวเพียงชั่ววูบ ที่พระท่านเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” คือสมาธิเล็ก ๆ น้อย ๆ สมาธิแบบเด็ก ๆ ที่เพิ่งหัดตั้งไข่ คือหัดยืนแล้วก็ล้มลง แล้วก็ลุกขึ้นยืนใหม่
การทำสมาธิเป็นการสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ ลงทุนน้อยที่สุด เพราะไม่ได้เสียเงินเสียทอง ไม่ได้เหนื่อยยากต้องแบกหามแต่อย่างใด เพียงแต่คอยเพียงระวังรักษาสติ คุ้มครองจิตมิให้แส่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่น ๆ โดยให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น การทำทานเสียอีกยังต้องเสียเงินทอง การสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาโรงธรรมยังต้องเสียทรัพย์ และบางทีก็ต้องเข้าช่วยแบกหามเหนื่อยกาย แต่ก็ได้บุญน้อยกว่าการทำสมาธิอย่างที่เทียบกันไม่ได้
อย่างไรก็ดี การเจริญสมถภาวนาหรือสมาธินั้น แม้จะได้บุญอานิสงส์มากมายมหาศาลอย่างไร ก็ยังไม่ใช่บุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา การเจริญวิปัสสนา (การเจริญปัญญา) จึงจะเป็นการสร้างบุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา หากจะเปรียบก็เป็นแก่นไม้โดยแท้
(๒) วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา)
วิปัสสนา ไม่ใช่ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวนิ่งอยู่เช่นนั้น แต่เป็นจิตที่คิดและใคร่ครวญหาเหตุและผลในสภาวธรรมทั้งหลายและสิ่งที่เป็น อารมณ์ของวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียวคือ “ขันธ์ ๕” ซึ่งนิยมเรียกกันว่า “รูป-นาม” โดยรูปมี ๑ ส่วน นามนั้น มี ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ขันธ์ ๕ ดังกล่าวเป็นเพียงอุปาทานขันธ์ เพราะแท้จริงแล้วเป็นแต่เพียงสังขารธรรมที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง แต่เพราะอวิชชา คือความไม่รู้เท่าสภาวธรรม จึงทำให้เกิดความยึดมั่นด้วยอำนาจอุปาทานว่าเป็นตัวตนและของตน การเจริญวิปัสสนาก็โดยมีจิตพิจารณาจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า อันสภาวธรรมทั้งหลายอันได้แก่ขันธ์ ๕ นั้นล้วนแต่มีอาการเป็นพระไตรลักษณ์ คือเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา โดย
(๑) อนิจจัง คือความไม่เที่ยง คือสรรพสิ่งทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สมบัติ เพชร หิน ดิน ทราย และรูปกายของเรา ล้วนแต่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เพียงแต่จะช้าหรือเร็วก็เท่านั้น
(๒) ทุกขัง ได้แก่ “สภาพที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้” ทุกขัง ในที่นี้มิได้หมายความแต่เพียงว่าเป็นความทุกข์กายทุกข์ใจเท่านั้น แต่การทุกข์กายทุกข์ใจก็เป็นลักษณะส่วนหนึ่งของทุกขังในที่นี้ สรรพสิ่งทั้งหลายเป็นสังขารธรรมเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่อาจที่จะทนตั้งมั่นอยู่ในสภาพนั้น ๆ ได้ตลอดไป ไม่อาจจะทรงตัว และต้องเปลี่ยนแปลงไป เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น จะต้องเปลี่ยนแปลงไปเป็นหนุ่มและสาวแล้วก็เฒ่าแก่ จนในที่สุดก็ต้องตายไป
(๓) อนัตตา ได้แก่ “ความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สิ่งของ” โดยสรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากปรับปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็น “รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ” ล้วนแต่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เช่นรูปขันธ์ย่อมประกอบขึ้นด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ มาประชุมรวมกันเป็นกลุ่มก้อน เป็นหน่วยชีวิตเล็ก ๆ ขึ้นก่อน เรียกในทางวิทยาศาสตร์ว่า “เซลล์” จนเป็นรูปกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งพระท่านรวมเรียกหยาบ ๆ ว่าเป็นธาตุ ๔ เช่น ความร้อน ความเย็น เรียกว่า ธาตุไฟ ส่วนธรรมชาติที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหว ความตั้งมั่น ความเคร่ง ความตึงและบรรดาสิ่งเคลื่อนไหวไปมาในร่างกายเรียกว่า ธาตุลม
สมาธิย่อมมีกรรมฐาน ๔๐ เป็นอารมณ์ ส่วนวิปัสสนานั้นมีแต่เพียงอย่างเดียว คือมี ขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ เรียกสั้น ๆ ว่า มีแต่รูปกับนามเท่านั้น ขันธ์ ๕ นั้นได้แก่รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
ฉะนั้น การที่จะเจริญวิปัสสนาภาวนาได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพยายามทำสมาธิให้ได้เสียก่อน ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า “ผู้ใดแม้จะทำสมาธิจนจิตเป็นฌานได้นานถึง ๑๐๐ ปี และไม่เสื่อม ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่มองเห็นความเป็นจริงที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้จะเห็นเพียงชั่วขณะจิตเดียวก็ตาม”
โดย
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
(คัดลอกส่วนสำคัญจากหนังสือวิธีสร้างบุญบารมี เพื่อเผยแพร่เป็นธรรมทาน)
บารมี คือคุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงสุด
วิธีสร้างบุญบารมีในพระพุทธศาสนามีอยู่ ๓ ขั้นตอน คือการให้ทาน การถือศีล และการเจริญภาวนา ที่นิยมเรียกกันว่า “ทาน ศีล ภาวนา” ซึ่งการให้ทานหรือการทำทานนั้นเป็นการสร้างบุญที่ต่ำที่สุด ได้บุญน้อยที่สุด
ไม่ว่าจะทำมากอย่างไรก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากไปกว่าการถือศีลไปได้ การถือศีลนั้นแม้จะมากอย่างไร ก็ไม่มีทางมากเกินไปกว่าการเจริญภาวนาไปได้ ฉะนั้น การเจริญภาวนานั้น จึงเป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุด ได้มากที่สุด
๑. การทำทาน
ผู้ทำทานได้บุญมากหรือน้อยประกอบด้วยองค์ประกอบ ๓ ประการต่อไปนี้
องค์ประกอบข้อ ๑ “วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์”
ไม่ใช่ของที่ได้มาเพราะการเบียดเบียนผู้อื่น ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ เป็นต้น
องค์ประกอบข้อ ๒ “เจตนาในการให้ทานต้องบริสุทธิ์”
เพื่อเป็นการขจัดความโลภ ความตระหนี่เหนียวแน่น ความหวงแหนหลงใหลในทรัพย์สมบัติของตนอันเป็นกิเลสหยาบ คือ
“โลภ กิเลส” และเพื่อเป็นการสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขด้วย
เจตนาในการทำทานบริสุทธิ์ ๓ ระยะ
(๑) ระยะก่อนที่จะให้ทาน มีจิตโสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีที่จะให้ทาน เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขเพราะทรัพย์สิ่งของของตน
(๒) ระยะที่กำลังลงมือให้ทาน มีจิตโสมนัสยินดีและเบิกบาน
(๓) ระยะหลังจากที่ได้ให้ทานไปแล้ว เมื่อหวนคิดถึงทานที่ตนได้กระทำไปแล้วครั้งใด ก็มีจิตใจโสมนัสร่างเริงเบิกบาน ยินดีในทานนั้น ๆ
องค์ประกอบข้อ ๓ “เนื้อนาบุญต้องบริสุทธิ์”
เป็นองค์ประกอบข้อที่สำคัญที่สุด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า แม้วัตถุทานจะบริสุทธิ์ดี เจตนาในการทำทานจะบริสุทธิ์ดีจะทำให้ทานนั้นมีผลมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อนาบุญเป็นลำดับต่อไปนี้ คือ
ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉาน ได้บุญน้อยกว่า
การให้ทานแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมวินัย ยังได้บุญน้อยกว่า
การให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๕ ยังได้บุญน้อยกว่า
การให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๘ ยังได้บุญน้อยกว่า
การถวายทานแก่สามเณรซึ่งมีศีล ๑๐ ยังได้บุญน้อยกว่า
การถวายทานแก่พระสมมุติสงฆ์ผู้มีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อ ยังได้บุญน้อยกว่า
การถวายทานแก่พระโสดาบัน ยังได้บุญน้อยกว่า
การถวายทานแก่พระสกิทาคามี ยังได้บุญน้อยกว่า
การถวายทานแก่พระอนาคามี ยังได้บุญน้อยกว่า
การถวายทานแก่พระอรหันต์ ยังได้บุญน้อยกว่า
การถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ยังได้บุญน้อยกว่า
การถวายทานแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังได้บุญน้อยกว่า
การถวายสังฆทานที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน ซึ่งแม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายวิหารทาน ได้แก่การสร้างหรือร่วมสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาโรงธรรม ศาลาท่าน้ำ ศาลาที่พักอาศัยคนเดินทาง อันเป็นสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันเช่น โรงพยาบาล โรงเรียน บ่อน้ำ แท็งก์น้ำ ศาลาป้ายรถยนต์โดยสารประจำทาง สุสาน เมรุเผาศพ ก็ได้บุญมากให้ทำนองเดียวกัน
การถวายวิหารทานแม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ “ธรรมทาน” แม้เพียงครั้งเดียว การให้ธรรมทานก็คือการเทศน์ การสอนธรรมะแก่ผู้อื่นที่ยังไม่รู้ให้ได้รู้ ให้ได้เข้าใจในมรรค ผล นิพพานให้ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิได้กลับใจเป็นสัมมาทิฐิ ชักจูงผู้คนให้เข้าปฏิบัติธรรม รวมตลอดถึงการพิมพ์การแจกหนังสือธรรมะ
การให้ธรรมทานมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ “อภัยทาน”
คือการไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน
เพื่อละ “โทสกิเสส” และเป็นการเจริญ “เมตตาพรหมวิหารธรรม”
๒. การรักษาศีล
ศีลคือสิ่งหรือกติกาที่บุคคลจะต้องระวังรักษาตามเพศและฐานะ เช่น เป็นฆราวาส ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และพระภิกษุสงฆ์ศีล ๒๒๗
การรักษาศีลเป็นการเพียรพยายามเพื่อระงับโทษทางกายและวาจา การบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงขึ้นกว่าการให้ทาน การถือศีลได้บุญมากและน้อยต่างกันไปตามลำดับต่อไปนี้คือ
๑. การให้อภัยทานมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๕ แม้เพียงครั้งเดียว
๒. การถือศีล ๕ มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๘ เพียงครั้งเดียว
๓. การถือศีล ๘ มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๑๐ คือการบวชเป็นสามเณร แม้จะบวชมาเพียงวันเดียวก็ตาม
๔. การที่ได้บวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา รักษาศีล ๑๐ ไม่ให้ขาด แม้จะนานถึง ๑๐๐ ปี ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนามีศีลปาฏิโมกข์ สังวร ๒๒๗ เพียงวันเดียวก็ตาม
ฉะนั้นในฝ่ายศีลแล้ว การที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนาได้บุญบารมีมากที่สุด เพราะเป็นเนกขัมมบารมีในบารมี ๑๐ ทัศ ซึ่งเป็นการออกจากกามเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติธรรมขั้นสูง ๆ คือการภาวนาเพื่อมรรค ผล นิพพาน ต่อ ๆ ไป
๓. การภาวนา
เป็นการสร้างบุญบารมีที่ สูงที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา จัดว่าเป็นแก่นแท้และสูงกว่าฝ่ายศีลมากนัก การเจริญภาวนานั้น มี ๒ อย่าง คือ (๑) สมถภาวนา (การทำสมาธิ) และ (๒) วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา) แยกอธิบายดังนี้ คือ
(๑) สมถภาวนา (การทำสมาธิ)
ได้แก่ การทำจิตใจให้เป็นสมาธิ หรือเป็นฌาน คือการทำจิตให้มั่นคงอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปยังอารมณ์อื่น ๆ วิธีภาวนานั้น มีมากมายหลายร้อยชนิด ซึ่งพระพุทธองค์ทรงบัญญัติแบบอย่างเอาไว้ ๔๐ ประการ เรียกกันว่า “กรรมฐาน ๔๐” ซึ่งผู้ใดจะเลือกใช้วิธีใดก็ได้ตามแต่สมัครใจ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาศีลให้ครบถ้วนบริบูรณ์ตามเพศของตนเสียก่อน จึงจะสามารถทำจิตให้เป็นฌานได้ หากศีลยังไม่มั่นคง ย่อมเจริญญานให้เกิดขึ้นได้โดยยาก เพราะศีลย่อมเป็นบาทฐาน (เป็นกำลัง) ให้เกิดสมาธิขึ้น อานิสงส์ของสมาธินั้น มีมากกว่าการรักษาศีลอย่างเทียบกันไม่ได้ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า “แม้ จะได้อุปสมบทเป็นภิกษุรักษาศีล ๒๒๗ ข้อ ไม่เคยขาด ไม่ด่างพร้อยมานานถึง ๑๐๐ ปี ก็ยังได้บุญกุศลน้อยกว่าผู้ที่ทำสมาธิเพียงให้จิตสงบนานเพียงชั่วไก่กระพือ ปีก ช้างกระดิกหู” คำว่า “จิตสงบ” ในที่นี้หมายถึงจิตที่เป็นอารมณ์เดียวเพียงชั่ววูบ ที่พระท่านเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” คือสมาธิเล็ก ๆ น้อย ๆ สมาธิแบบเด็ก ๆ ที่เพิ่งหัดตั้งไข่ คือหัดยืนแล้วก็ล้มลง แล้วก็ลุกขึ้นยืนใหม่
การทำสมาธิเป็นการสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ ลงทุนน้อยที่สุด เพราะไม่ได้เสียเงินเสียทอง ไม่ได้เหนื่อยยากต้องแบกหามแต่อย่างใด เพียงแต่คอยเพียงระวังรักษาสติ คุ้มครองจิตมิให้แส่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่น ๆ โดยให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น การทำทานเสียอีกยังต้องเสียเงินทอง การสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาโรงธรรมยังต้องเสียทรัพย์ และบางทีก็ต้องเข้าช่วยแบกหามเหนื่อยกาย แต่ก็ได้บุญน้อยกว่าการทำสมาธิอย่างที่เทียบกันไม่ได้
อย่างไรก็ดี การเจริญสมถภาวนาหรือสมาธินั้น แม้จะได้บุญอานิสงส์มากมายมหาศาลอย่างไร ก็ยังไม่ใช่บุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา การเจริญวิปัสสนา (การเจริญปัญญา) จึงจะเป็นการสร้างบุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา หากจะเปรียบก็เป็นแก่นไม้โดยแท้
(๒) วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา)
วิปัสสนา ไม่ใช่ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวนิ่งอยู่เช่นนั้น แต่เป็นจิตที่คิดและใคร่ครวญหาเหตุและผลในสภาวธรรมทั้งหลายและสิ่งที่เป็น อารมณ์ของวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียวคือ “ขันธ์ ๕” ซึ่งนิยมเรียกกันว่า “รูป-นาม” โดยรูปมี ๑ ส่วน นามนั้น มี ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ขันธ์ ๕ ดังกล่าวเป็นเพียงอุปาทานขันธ์ เพราะแท้จริงแล้วเป็นแต่เพียงสังขารธรรมที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง แต่เพราะอวิชชา คือความไม่รู้เท่าสภาวธรรม จึงทำให้เกิดความยึดมั่นด้วยอำนาจอุปาทานว่าเป็นตัวตนและของตน การเจริญวิปัสสนาก็โดยมีจิตพิจารณาจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า อันสภาวธรรมทั้งหลายอันได้แก่ขันธ์ ๕ นั้นล้วนแต่มีอาการเป็นพระไตรลักษณ์ คือเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา โดย
(๑) อนิจจัง คือความไม่เที่ยง คือสรรพสิ่งทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สมบัติ เพชร หิน ดิน ทราย และรูปกายของเรา ล้วนแต่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เพียงแต่จะช้าหรือเร็วก็เท่านั้น
(๒) ทุกขัง ได้แก่ “สภาพที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้” ทุกขัง ในที่นี้มิได้หมายความแต่เพียงว่าเป็นความทุกข์กายทุกข์ใจเท่านั้น แต่การทุกข์กายทุกข์ใจก็เป็นลักษณะส่วนหนึ่งของทุกขังในที่นี้ สรรพสิ่งทั้งหลายเป็นสังขารธรรมเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่อาจที่จะทนตั้งมั่นอยู่ในสภาพนั้น ๆ ได้ตลอดไป ไม่อาจจะทรงตัว และต้องเปลี่ยนแปลงไป เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น จะต้องเปลี่ยนแปลงไปเป็นหนุ่มและสาวแล้วก็เฒ่าแก่ จนในที่สุดก็ต้องตายไป
(๓) อนัตตา ได้แก่ “ความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สิ่งของ” โดยสรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากปรับปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็น “รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ” ล้วนแต่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เช่นรูปขันธ์ย่อมประกอบขึ้นด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ มาประชุมรวมกันเป็นกลุ่มก้อน เป็นหน่วยชีวิตเล็ก ๆ ขึ้นก่อน เรียกในทางวิทยาศาสตร์ว่า “เซลล์” จนเป็นรูปกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งพระท่านรวมเรียกหยาบ ๆ ว่าเป็นธาตุ ๔ เช่น ความร้อน ความเย็น เรียกว่า ธาตุไฟ ส่วนธรรมชาติที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหว ความตั้งมั่น ความเคร่ง ความตึงและบรรดาสิ่งเคลื่อนไหวไปมาในร่างกายเรียกว่า ธาตุลม
สมาธิย่อมมีกรรมฐาน ๔๐ เป็นอารมณ์ ส่วนวิปัสสนานั้นมีแต่เพียงอย่างเดียว คือมี ขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ เรียกสั้น ๆ ว่า มีแต่รูปกับนามเท่านั้น ขันธ์ ๕ นั้นได้แก่รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
ฉะนั้น การที่จะเจริญวิปัสสนาภาวนาได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพยายามทำสมาธิให้ได้เสียก่อน ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า “ผู้ใดแม้จะทำสมาธิจนจิตเป็นฌานได้นานถึง ๑๐๐ ปี และไม่เสื่อม ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่มองเห็นความเป็นจริงที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้จะเห็นเพียงชั่วขณะจิตเดียวก็ตาม”
โดย
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
(คัดลอกส่วนสำคัญจากหนังสือวิธีสร้างบุญบารมี เพื่อเผยแพร่เป็นธรรมทาน)
วินัยของพระภิกษุสงฆ์ ที่ประชาชนควรทราบ
พุทธศาสนิกชนฝ่ายคฤหัสถ์ควรรู้จักพระวินัยบางข้อของพระภิกษุสงฆ์ไว้ด้วย เพราะว่าพระภิกษุสงฆ์มีหน้าที่อันสำคัญที่สุดคือ รักษาตัวอย่าให้มีโทษทางพระวินัย จึงจะสมเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของพระบรมศาสดาและจะได้สมเป็นผู้ที่ตั้งอยู่ในฐานะเป็นนาบุญของชาวโลก ไม่บริโภคจตุปัจจัยของเขาให้เปลืองเปล่า
ด้วยเหตุนี้ เพื่อที่จะให้คฤหัสถ์ บุรุษ-สตรีทั้งหลายช่วยกันรักษาภิกษุสงฆ์ให้บริสุทธิ์เป็นนาบุญอย่างดีจะได้เพิ่มปริมาณผลแห่งพืชบุญที่บริจาคหว่านลงไปให้มากยิ่งๆ ขึ้น
จึงได้รวบรวมพระวินัยบางข้อที่คฤหัสถ์ทั้งบุรุษและสตรีควรทราบนำมาเรียบเรียงเป็นข้อๆพอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและปฏิบัติสำหรับคฤหัสถ์ เปรียบเหมือนอย่างพื้นนาอันปราศจากวัชพืชคือหญ้าที่เป็นโทษ ย่อมจะอำนวยให้ข้าวที่ชาวนาหว่านลงเจริญงอกงามมีผลเต็มเมล็ดเต็มรวง แต่หากว่านารกไปด้วยวัชพืช ข้าวที่หว่านลงก็มีผลไม่เต็มที่ ข้อนี้ฉันใด พระภิกษุหรือสามเณร ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าศีลไม่ขาด ไม่มีโทษทางพระวินัย ก็เท่ากับนาที่ไม่รก พืชบุญที่หว่านลงก็ย่อมมีผลมาก มีกำไรมาก แต่ถ้าศีลขาดมากมีโทษทางพระวินัยมาก ก็เท่ากับที่นารก พืชบุญที่ชาวโลกหว่านลงก็มีผลน้อยมีกำไรน้อย ด้วยเหตุนี้พระภิกษุสามเณรผู้ตระหนักในหน้าที่ของตน
จึงพยายามรักษาตัวมิให้เป็นนาที่รกด้วยวัชพืช
ก็ในการรักษาตัวนั้น พระภิกษุสามเณรบางรูปบางครั้งบางคราวไม่สามารถจะให้บริสุทธิ์เท่าที่ควรได้ เพราะคฤหัสถ์หรือบุรุษ สตรีหรือทายกทายิกาผู้ไม่รู้วินัยของพระ และมีธุระเกี่ยวข้องกับพระในวาระต่างๆ เช่นในคราวทำบุญ แต่ทำไม่ถูกต้องพระวินัย
ภิกษุเกรงใจคฤหัสถ์บางทีคฤหัสถ์เกรงใจภิกษุ จึงทำให้พระต้องอาบัติ
คือต้องโทษทางพระวินัย อย่างนี้คฤหัสถ์ได้บุญก็จริง แต่ได้น้อยเพราะขณะเดียวกันนั้นพระได้บาปต้องโทษไม่บริสุทธิ์ เหมือนนาที่รกเสียแล้ว
อนึ่ง บางทีบางรูปไม่รู้วินัยของตนเองดีพอ หรือบางรูปรู้วินัยดีแล้ว
แต่ไม่เอื้อเฟื้อในวินัยก็ย่อมเกี่ยวข้องกับคฤหัสถ์ในทางที่ผิดๆ
และคฤหัสถ์ก็ไม่รู้วินัยของพระจึงพากันปฏิบัติผิดร่วมกันอย่างนี้
จึงรู้สึกว่าไม่ค่อยเหมาะกับพุทธศาสนิกชนเลย
๑. สุภาพสตรี อย่าถูกต้องภิกษุสามเณร
(สังฆาทิเสส ข้อ ๒)
๒. สุภาพบุรุษ หรือสุภาพสตรี
ไม่ควรวานให้พระชักสื่อชายหญิงให้เป็นสามีภรรยากัน แม้ชั่วครั้งชั่วคราว
(สังฆาทิเสส ข้อ ๕)
๓. สุภาพสตรี ไม่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาไปด้วย
ไม่ควรเข้าไปหาพระในที่ลับตาหรือลับหู เพราะอาจจะทำให้พระถูกโจทด้วยอาบัติต่างๆหรือเป็นทางให้เกิดความเสียหายมาก
(อนิยต ข้อ ๑-๒)
๔. สุภาพบุรุษหรือสตรี
เมื่อศรัทธาจะถวายเงินทองแก่พระภิกษุหรือสามเณรต้องมอบให้แก่ไวยาจักร
(ผู้ที่รับทำกิจของท่าน) และแจ้งให้ท่านทราบ อย่ามอบให้ในมือหรือในย่าม
หรือในบาตรของท่าน เป็นต้น
(จีวรวรรค ข้อ ๑๐-โกสิยวรรค ข้อ ๘)
๕. บุรุษผู้เป็นไวยาจักร
เมื่อรับเงินทองของพระรูปใดไว้เท่าไร ต้องจัดสิ่งของที่พระต้องการถวายพระรูปนั้น ในราคาเท่าเงินทองที่ตนรับไว้นั้น ในเวลาที่ท่านขอ ถ้าเงินทองมากพระขอของน้อย ก็จ่ายเท่าที่ท่านต้องการ เก็บส่วนที่เหลือไว้จ่ายคราวต่อไป
(จีวรวรรค ข้อ ๑๐)
๖. บุรุษ-สตรี ผู้เป็นพ่อค้า-แม่ค้า
ไม่ควรขายของแก่พระภิกษุ หรือสามเณรผู้ที่จับต้องเงิน (ธนบัตร-เหรียญบาทเป็นต้น) มาซื้อด้วยตนเอง
(โกสิยวรรค ข้อ ๙)
๗. บุรุษ-สตรี
ไม่ควรเอาสิ่งของของตนแลกกับสิ่งของของพระ-ของสามเณร
(โกสิยวรรค ข้อ ๑๐)
๘. บุรุษ-สตรี
ไม่ควรเอาผ้าอาบน้ำฝนถวายพระก่อนเข้าพรรษามากกว่า ๑ เดือน แม้พระขอก็ไม่ต้องถวาย เว้นไว้แต่พระที่เป็นญาติ และพระที่ตนปวารณาไว้
(ปัตตวรรค ข้อ ๔)
๙. บุรุษ-สตรี เมื่อเตรียมสิ่งของจะถวายแก่สงฆ์
(ไม่เฉพาะบุคคล) ถ้าพระแนะนำให้ถวายเฉพาะตัวท่านเอง หรือให้ถวายเฉพาะพระรูปใดๆก็ตาม ไม่ต้องถวายตามคำแนะนำนั้น
(ปัตตวรรค ข้อ ๑๐-สหธรรมิกวรรค ข้อ ๑๒)
๑๐. บุรุษ-สตรี เมื่อเรียนธรรมกับพระ
อย่าออกเสียงบทพระธรรมพร้อมกับพระ
(มุสาวาทวรรค ข้อ ๔)
๑๑. บุรุษ เมื่อนอนในที่มุง ที่บัง อันเดียวกับพระครบ ๓ คืนแล้ว
ต้องเว้นเสีย ๑ คืน ต่อไปจึงนอนได้อีก
(มุสาวาทวรรค ข้อ ๕)
๑๒. สตรี ห้ามนอนในที่มุง ที่บัง อันเดียวกับพระแม้ในคืนแรก
(มุสาวาทวรรค ข้อ ๖)
๑๓. บุรุษ-สตรี ถ้าพระใช้ให้ขุดดินเหนียวล้วนหรือดินร่วนล้วน
ไม่ควรขุด แต่ถ้าพระแสดงความประสงค์ว่าต้องการหลุมหรือคูเป็นต้น
หรือว่าต้องการขุดดินให้สูงเท่านั้นเท่านี้เป็นต้น ก็ควรจัดการให้ตามประสงค์
(มุสาวาทวรรค ข้อ ๑๐)
๑๔. บุรุษ-สตรี ถ้าพระใช้ให้ตัดต้นไม้
หรือดายหญ้าที่เกิดอยู่กับดิน หรือให้รื้อถอนผักหญ้าต่างๆ ที่เกิดอยู่ในน้ำ ไม่ควร
ตัด-ดาย-รื้อถอน แต่ถ้าพระบอกว่า เราต้องการไม้-หญ้า-ผัก
หรือว่าเราต้องการทำความสะอาดในที่ซึ่งเกะกะรุงรัง
ด้วยต้นไม้หรือผักหญ้าดังนี้เป็นต้น จึงทำให้
(ภูตคามวรรค ข้อ ๑)
๑๕. บุรุษ-สตรี นิมนต์พระให้ฉันอาหารอย่าออกชื่อโภชนะ ๕ คือ
ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ ควรใช้กัปปิยโวหารหรือคำพูดที่สมควร เช่น พูดว่า “ขอนิมนต์ฉันเช้า” หรือว่า “ขอนิมนต์ฉันเพล”
และต้องบอกวัน เวลาสถานที่ให้ชัดเจน ทั้งบอกให้พระทราบด้วยว่าให้ไปกันเอง
หรือจะมารับ อนึ่งการที่นิมนต์พระให้ฉันนั้นปรารภเรื่องอะไรก็ควรบอกให้ทราบด้วย
(โภชนวรรค ข้อ ๒)
๑๖. บุรุษ-สตรี เมื่อเลยเวลาเพลแล้ว
คือตั้งแต่เที่ยงวันไปจนถึงวันใหม่ อย่านำอาหารไปประเคนพระ
หากเป็นของที่เก็บค้างคืนได้ ไม่บูด ไม่เสีย เช่น ข้าวสาร ปลาดิบ เนื้อดิบ
อาหารสำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง เป็นต้น ก็มอบไว้แก่ไวยาวัจกรของท่านได้
(โภชนวรรค ข้อ ๗)
๑๗. บุรุษ-สตรี ถ้าพระที่มิใช่ญาติและตนไม่ได้ปวารณาไว้
ไม่เป็นไข้ ขอโภชนะอันประณีต คือข้าวสุกที่ระคนด้วยเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม แม้อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ควรถวาย
แต่ถ้าขอเพื่อผู้เป็นไข้ควรถวายโดยแท้
(โภชนวรรค ข้อ ๙)
๑๘. บุรุษ-สตรี เมื่อประเคนอาหารหรือยาเป็นต้น
ทุกอย่างที่พระจะต้องกลืนกิน (ฉัน) ต้องประเคนให้ถูกวิธี ดังนี้
ก. ภาชนะหรือห่อของนั้น
ไม่ใหญ่หรือหนักจนเกินไป ยกคนเดียวได้อย่างพอดี
ข. เข้าอยู่ในหัตถบาสของพระ
ห่างจากพระประมาณ ๑ ศอก เป็นส่วนสุดของสิ่งของหรือของบุคคลผู้ประเคน
ค. น้อมกายถวายด้วยความเคารพ
ง. กิริยาที่ถวายนั้น
ถวายด้วยมือหรือของที่เนื่องด้วยมือ เช่นช้อน-ภาชนะก็ได้
จ. พระรับด้วยมือ
หรือของที่เนื่องด้วยมือ เช่น บาตร-ผ้าก็ได้
(โภชนวรรค ข้อ ๑๐)
๑๙. สตรีไม่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่เป็นเพื่อน
ต้องไม่นั่ง ไม่นอน ไม่ยืน ไม่เดิน ในห้องกับพระ แม้จะมีสตรีหลายคนก็ไม่ได้
(อเจลกวรรค ข้อ ๔)
๒๐. สตรีต้องไม่นั่ง ไม่นอนในที่แจ้งกับพระ หนึ่งต่อหนึ่ง
ถ้าสตรีหลายคนนั่งได้ แต่การนอนนั่นไม่ควร แม้การยืน การเดินกับพระ หนึ่งต่อหนึ่งด้วยอาการซ่อนเร้นก็ไม่ควร
(อเจลกวรรค ข้อ ๕)
๒๑. บุรุษ-สตรี ที่ไม่ใช่ญาติของพระ แม้จะเป็นเขย สะใภ้
หรือภรรยาเก่าของพระ (ปุราณทุติยิกา) หากมิได้เกี่ยวข้องทางสายโลหิต
ก็ชื่อว่ามิใช่ญาติ ถ้ามีศรัทธาจะให้พระขอปัจจัย ๔ หรือสิ่งของต่างๆ จากตนได้
ก็ต้องปวารณา คือเปิดโอกาสให้พระขอได้โดยลักษณะ ๔ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
ก. กำหนดปัจจัยหรือสิ่งของ
เช่น จีวร บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง ยา หนังสือ สมุด ปากกา ฯลฯ
ข. กำหนดเวลา
คือให้ขอได้ตลอดเท่านั้นวัน เท่านั้นเดือน เท่านั้นปี ตั้งแต่วันที่เท่าไรถึงเท่าไร
ค. กำหนดทั้งปัจจัย-สิ่งของ
และเวลา
ง. ไม่กำหนดทั้งปัจจัย
สิ่งของและเวลา ถ้าจะให้ขอได้เป็นนิตย์ ต้องบอกว่า นิมนต์ขอได้ตลอดกาลเป็นนิตย์
เมื่อปวารณาแล้ว ถ้าพระขอเกินกำหนดหรือเกิน ๔ เดือน ไม่ควรถวาย
เว้นไว้แต่ตนปวารณาอีก หรือปวารณาเป็นนิตย์
(อเจลกวรรค ข้อ ๗)
หมายเหตุ :- คำว่า ญาติ
ได้แก่คนที่เกี่ยวเนื่องกัน ๗ ชั้น คือ ๑. ทวด ๒. ปู่ย่าตายาย ๓. พ่อแม่ ๔. พี่น้อง
๕. ลูก ๖. หลาน ๗. เหลน
๒๒. บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาของเสพติดให้โทษ เช่น สุราเมรัย
ฝิ่น เฮโรอีน กัญชาถวายพระ
(สุราปานวรรค ข้อ ๑)
๒๓. บุรุษ-สตรี
อย่าเอาน้ำที่มีตัวสัตว์ไปตั้งไว้ให้พระบริโภค คือ ดื่ม อาบ ล้างเท้า ใช้สอย
(สัปปาณวรรค ข้อ ๒)
๒๔. บุรุษ-สตรี ผู้นำสินค้าหนีภาษี
ไม่ควรเดินทางร่วมกับพระ หรือไม่ควรให้เกี่ยวข้องกับพระ
(สัปปาณวรรค ข้อ ๖)
๒๕. สตรี ไม่ควรชวนพระเดินทางไกล แม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง
แม้นั่งรถ นั่งเรือ ไปเพียงหนึ่งต่อหนึ่งก็ไม่ควร แม้สตรีหลายคน
แต่ไม่มีบุรุษผู้รู้เดียงสานั่งไปด้วย ก็ไม่ควร แม้บุรุษไปด้วย หากสตรีขับรถเรือเอง
ก็ไม่ควร เว้นไว้แต่เรือข้ามฟาก
(สัปปาณวรรค ข้อ ๗)
๒๖. บุรุษ-สตรี
จะถวายอาหารแก่พระผู้อยู่ในป่าอันเป็นที่เปลี่ยว ต้องแจ้งข่าวล่วงหน้าก่อน
(ปาฏิเทสนียะ ข้อ ๔)
๒๗. บุรุษ-สตรี เมื่อพระรับบิณฑบาตเต็มบาตรแล้ว
อย่าเอาอาหารวางบนฝาบาตร หรืออย่าใส่ถุงให้พระหิ้ว
(โภชนะปฏิสังยุตะ ข้อ ๔)
๒๘. บุรุษ-สตรี
เมื่อนิมนต์พระมาฉันในบ้านต้องจัดที่ฉันให้พร้อม เช่นน้ำล้างเท้า ผ้าเช็ดเท้า
น้ำฉัน น้ำใช้ กระโถน ผ้า-กระดาษเช็ดมือ เช็ดปาก ช้อนส้อมและช้อนกลาง
อย่าให้บกพร่อง
(โภชนะปฏิสังยุตะ ข้อ ๓๐)
๒๙. บุรุษ-สตรี เมื่อจัดที่ให้พระสวดหรือแสดงพระธรรมเทศนา
หรือปาฐกถาธรรม ต้องจัดที่ให้พระนั่ง อย่าให้ยืน และต้องไม่ต่ำกว่าที่ของผู้นั่งฟัง
(ธัมมเทสนาปฏิสังยุต ข้อ ๑๓, ๑๔)
๓๐. บุรุษ-สตรี เมื่อฟังธรรมเทศนาหรือฟังปาฐกถาธรรม
ต้องฟังด้วยกิริยาอาการเคารพ แม้ฟังพระสวดในงานมงคลหรืองานศพเป็นต้น
ก็ต้องเคารพเช่นเดียวกัน ไม่ควรนั่งคุยกันเลย จะคุยในเวลาพระหยุดสวดได้
(ธัมมเทสนาปฏิสังยุต ทุกข้อ)
๓๑. บุรุษ-สตรี
จะถวายร่มแก่พระต้องเลือกเอาชนิดที่ไม่สลับสี เช่นร่มผ้าดำล้วน ร่มกระดาษ
ร่มพลาสติก สีน้ำตาล สีดำ สีเหลืองล้วน
(วิ. ๒/๓๕)
๓๒. บุรุษ-สตรี
จะถวายรองเท้าแก่พระต้องเลือกเอาชนิดที่ไม่มีส้นสูง ไม่มีปกส้น ไม่มีปกหลังเท้า
มีแต่สายรัดหลังเท้ากับสายที่คีบด้วยนิ้ว และมีสีหม่นหมอง เช่น สีน้ำตาลแก่
(วิ. ๒/๓๖)
๓๓. บุรุษ-สตรี
เมื่อจะถวายเตียงตั่งแก่พระต้องเลือกเอาแต่ที่มีเท้าสูงไม่เกิน ๘ นิ้วพระสุคต หรือ
๙ นิ้วฟุต เว้นไว้แต่แม่แคร่ และไม่มีรูปสัตว์ร้ายที่เท้า เช่น เตียงจมูกสิงห์
หรือบัลลังก์ และเตียงนั้นต้องไม่ใหญ่ถึงนอนได้ ๒ คน ที่นอนก็ไม่ใหญ่อย่างเตียง
ฟูกเตียง ฟูกตั่ง และที่นั่งที่นอนไม่ยัดนุ่นหรือสำลี
(รตนวรรค ข้อ ๕ และ วิ. ๒/๓๙)
๓๔. บุรุษ-สตรี เมื่อจะถวายหมอนหนุนศีรษะแก่พระ
ต้องให้มีขนาดหนุนได้ศีรษะเดียวไม่ถึง ๒ ศีรษะ หมอนข้างไม่ควรถวาย
(วิ. ๒/๔๐)
๓๕. สตรี ต้องไม่นั่ง บนอาสนะผืนเดียวกัน บนเตียงม้านั่งเดียวกันกับพระ
แม้บนพื้นที่ไม่มีอะไรปูลาดเลย ก็ไม่ควรนั่งเสมอกับพระหรือสูงกว่าพระ
ไปในรถ-เรือมีที่จำกัด จะต้องนั่งที่ม้านั่งเดียวกันกับพระต้องให้มีบุรุษนั่งคั่นไว้เสียก่อน
(วิ. ๒/๗๐)
๓๖. บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาวัตถุอนามาสประเคนพระ
วัตถุอนามาส คือสิ่งที่พระไม่ควรแตะต้อง มี ๖ ประเภท ดังนี้ :-
ก. คนหญิง คนกะเทย เครื่องแต่งกายของคนเหล่านั้น
แต่ที่เขาสละแล้วไม่นับ ตุ๊กตาหญิง สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย
ข. ทอง เงิน มุกดา มณี ไพฑูรย์ ประพาฬ ทับทิม บุษราคัม
สังข์ที่ขัดแล้ว ศิลาชนิดดี เช่น หยก โมรา
ค. ศัสตราวุธต่างชนิด ที่ใช้ทำร้ายชีวิตร่างกาย
ง. เครื่องดักสัตว์บก-น้ำ
จ. เครื่องประโคม
ฉ. ข้าวเปลือกและผลไม้อันเกิดอยู่ในที่
(วิ. ๒/๗๓)
๓๗. สตรี ไม่ควรเกลี้ยกล่อม
ยั่วเย้าพระด้วยการพูดประเล้าประโลม หรือด้วยการแต่งตัวชะเวิกชะวาก
หรือล่อด้วยทรัพย์
(วิ. ๒/๙๑)
๓๘. บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาของเด็กเล่น เช่นเรือน้อยๆ
รถน้อยๆ ถวายพระ
(วิ. ๒/๑๑๘)
๓๙. บุรุษ-สตรี ไม่ควรชักชวนพระเล่นการพนัน มีแพ้ มีชนะ
เช่นหมากรุก หมากแยก ฯลฯ
(วิ. ๒/๑๑๘)
๔๐. บุรุษ-สตรี
ไม่ควรเรียนดิรัจฉานวิชาจากพระและไม่ควรบอกดิรัจฉานวิชาแก่พระ
ดิรัจฉานวิชาคือความรู้ในการทำเสน่ห์
ในการใช้ภูตผีปีศาจทำผู้อื่นให้ถึงความวิบัติในทางอวดฤทธิ์เดชต่างๆ
ในทางทำนายทายทักบอกหวยบอกเบอร์ ในทางที่นำให้หลงงมงาย เช่นหุงเงิน
หรือทองแดงให้เป็นทอง
(วิ. ๒/๑๒๐)
๔๑. บุรุษ-สตรี ไม่ควรใช้พระในกิจนอกพระพุทธศาสนา
แต่จะขอให้ช่วยกิจพระพุทธศาสนา เช่นให้ช่วยนิมนต์พระไปในการบำเพ็ญบุญอยู่ได้
(วิ. ๒/๑๒๐)
๔๒. บุรุษ-สตรี ไม่ควรนำสิ่งของอันมีค่าฝากไว้กับพระ
เพราะอาจเกิดอันตรายแก่พระได้ เช่น อันตรายในการเจริญสมณธรรม ถูกปล้น
ถูกเป็นผู้สำนองในเมื่อของนั้นหาย
(วิ. ๒/๑๒๒)
๔๓. บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาเนื้อสัตว์ที่ไม่นิยมเป็นอาหารถวายพระ
เนื้อที่ไม่นิยมเป็นอาหาร คือ เนื้อมนุษย์
ช้าง-ม้า-สุนัข-งู-สีห์-เสือโคร่ง-เสือเหลือง-หมี-เสือดาว
(วิ. ๒/๑๓๓)
๔๔. บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาเนื้อสัตว์ที่นิยมเป็นอาหารแต่ยังดิบ
ไม่สุกด้วยไฟ เช่น ปูเค็ม กุ้งส้ม หอยเค็ม ปลาเค็ม แหนม กะปิ ลาบเนื้อดิบ
ไข่ลวกไม่สุก ประเคนพระ ควรมอบไว้แก่กัปปิยการก
คือผู้มีหน้าที่ทำให้เป็นของควรแก่พระ
(วิ. ๒/๑๓๓)
๔๕. บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาอุทิศมังสะถวายพระ อุทิศมังสะ
คือเนื้อหรือไข่สัตว์ที่เขาฆ่าเจาะจงภิกษุสามเณร
(วิ. ๒/๑๓๓)
๔๖. บุรุษ-สตรี อย่าเอาพีชคาม คือผลไม้มีเมล็ดสุกบางอย่าง
เช่นพริกสุก มะเขือสุก อ้อยที่ยังไม่ได้ปอก ผักบุ้ง ขมิ้น กระชาย กระเทียม หอม
โหระพา กะเพรา ฯลฯ ที่พ้นจากที่เกิดที่อยู่แล้ว แต่ยังปลูกให้งอกได้อีกถวายพระ
ควรทำให้เป็นของที่ไม่อาจปลูกให้งอกได้แล้ว จึงถวายพระ
(วิ. ๒/๑๓๕)
๔๗. บุรุษ-สตรี จะทำน้ำปานะถวายพระ
ควรเลือกเอาผลไม้สุกที่นิยมเป็นอาหาร ชนิดที่ไม่โตกว่าผลมะตูมหรือผลกระเบา
ขนาดเล็กไม่จำกัด เอามาทำความสะอาด คั้นแล้วกรองให้หมดกาก
เจือน้ำจืดที่สะอาดบ้างก็ได้ แต่อย่าใช้น้ำร้อน และอย่าต้มน้ำปานะด้วยไฟ
จะเจือน้ำตาลเกลือบ้างก็ได้ ทำแล้วต้องถวาย ให้พระฉันในวันนั้น
อย่าปล่อยให้ข้ามราตรี
(วิ. ๒/๑๓๙)
๔๘. บุรุษ-สตรี ไม่ควรถือเอามรดกของพระผู้มรณภาพไปแล้ว
ไม่ว่าพระรูปนั้นจะเป็นพ่อ ลูก ญาติ มิตร หรือเกี่ยวข้องกันโดยสถานะไรๆ ก็ตาม
แม้พระได้ทำพินัยกรรมไว้ให้ ก็ถือเอาไม่ได้ เพราะทางวินัยของสงฆ์มีอยู่ว่า
มรดกของพระผู้มรณะตกเป็นของสงฆ์ทั้งหมด แม้พระได้พูดไว้ด้วยคำอันเป็นอนาคตว่า
“ถ้าฉันตายแล้ว เธอจงเอาสิ่งนั้นสิ่งนี้ไป”
ดังนี้ ก็ถือเอาไม่ได้ แต่สิ่งที่พระมอบให้ด้วยคำเป็นปัจจุบันว่า
“ฉันให้สิ่งนั้นสิ่งนี้แก่เธอ”
ก็ถือเอาได้เฉพาะสิ่งที่ระบุถึง หากระบุทั้งหมดก็ถือเอาได้ทั้งหมด
(วิ. ๒/๑๕๔/๑๕๕)
๔๙. บุรุษ-สตรี เมื่อจะถือเอาสิ่งของของพระด้วยวิสาสะ
ต้องให้ครบองค์ ๓ คือ
ก. เคยเห็นกัน เคยคบกัน เคยพูดกันไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง
ข. รู้ว่าถือเอาแล้ว เจ้าของจักพอใจ
ค. เจ้าของยังมีชีวิตอยู่
(วิ. ๒/๑๕๗)
๕๐. บุรุษ-สตรี เมื่อพยาบาลพระผู้เจ็บหนัก
ฉันอาหารไม่ได้ ครั้นถึงเวลาวิกาลหิวจัด
หากมิได้อาหารอาจเป็นอันตราย จะต้มข้าวหรือเนื้อสัตว์ที่นิยมเป็นอาหาร
(เว้นอุทิศมังสะ) ให้เหลว กรองให้หมดกาก เอาแต่น้ำข้าว
น้ำเนื้อที่ใสถวายให้พระดื่มในเวลาวิกาลได้ การที่จะอ้างว่า
แพทย์สั่งให้พระป่วยฉันอาหารในวิกาลได้ แล้วนำอาหารชนิดต่างๆ ไปถวายในวิกาลนั้นไม่ควรเลย หากพระอยากฉันอาหารในวิกาลโดยไม่เอื้อเฟื้อต่อวินัยแล้ว
ควรให้สึกเสียก่อน จึงจัดถวายให้รับประทาน
(วิ. ๒/๑๗๕)
๕๑. สตรีที่เป็นโสเภณี เป็นหม้าย เป็นสาวเทื้อ เป็นชี
และกะเทย ไม่ควรไปมาหาสู่กับพระ โดยไม่เป็นกิจจลักษณะหรือผิดเวลา
(วิ. ๒/๑๘๑)
๕๒. บุรุษ-สตรี ไม่ควรนิมนต์พระเข้านั่งในร้านสุรา
จะเป็นที่ขาย หรือที่กลั่นสุราหรือที่ดองเมรัยก็ตาม
(วิ. ๒/๑๘๑)
บุรุษหรือสตรีก็ตาม เมื่อหวังความเจริญแก่ตนแก่วงศ์สกุลของตน
และแก่พุทธศาสนา ควรศึกษาให้มีความรู้เกี่ยวกับวินัยของภิกษุสงฆ์บางข้อ
ตามที่รวบรวมไว้นี้ และปฏิบัติให้ถูกต้อง ก็ย่อมจะเหมาะสมแก่ความเป็นพุทธศาสนิกชน
และย่อมช่วยประดับพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองแล
รวบรวมและเรียบเรียงโดย
พระเทพวิสุทธิญาณ
(อุบล นนฺทโก ป.ธ. ๙)
วัดบวรนิเวศวิหาร
หนังสือเรื่อง
“วินัยของพระภิกษุสงฆ์ที่ประชาชนควรทราบ”
นี้ ผู้จัดพิมพ์ได้เคยติดต่อพระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระเทพวิสุทธิญาณ
ขออนุญาตจัดพิมพ์ขึ้น เพื่อเผยแผ่เป็นธรรมทานมาครั้งหนึ่งแล้ว
ซึ่งก็ได้รับอนุญาตจัดพิมพ์ได้ตามความประสงค์
บัดนี้
ผู้จัดพิมพ์ระลึกถึงคุณของท่านอยู่
จึงกราบเรียนพระเถระในวัดบวรนิเวศวิหาร ขออนุญาตจัดพิมพ์อีกครั้ง
เพื่อร่วมบำเพ็ญกุศลถวายแด่พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณ
และรักษาเจตนารมณ์เดิมของท่านที่จะเผยแผ่ธรรมวินัยของพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป
บุญกุศลใดๆ
ที่เกิดจากการจัดพิมพ์เผยแผ่และเกิดขึ้นโดยมีหนังสือเล่มนี้เป็นมูลเหตุ
ขอจงสำเร็จแด่พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณมหารัชมงคลดิลก
และท่านเจ้าคุณพระเทพวิสุทธิญาณ ทุกประการ
คณะผู้จัดพิมพ์
ด้วยเหตุนี้ เพื่อที่จะให้คฤหัสถ์ บุรุษ-สตรีทั้งหลายช่วยกันรักษาภิกษุสงฆ์ให้บริสุทธิ์เป็นนาบุญอย่างดีจะได้เพิ่มปริมาณผลแห่งพืชบุญที่บริจาคหว่านลงไปให้มากยิ่งๆ ขึ้น
จึงได้รวบรวมพระวินัยบางข้อที่คฤหัสถ์ทั้งบุรุษและสตรีควรทราบนำมาเรียบเรียงเป็นข้อๆพอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและปฏิบัติสำหรับคฤหัสถ์ เปรียบเหมือนอย่างพื้นนาอันปราศจากวัชพืชคือหญ้าที่เป็นโทษ ย่อมจะอำนวยให้ข้าวที่ชาวนาหว่านลงเจริญงอกงามมีผลเต็มเมล็ดเต็มรวง แต่หากว่านารกไปด้วยวัชพืช ข้าวที่หว่านลงก็มีผลไม่เต็มที่ ข้อนี้ฉันใด พระภิกษุหรือสามเณร ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าศีลไม่ขาด ไม่มีโทษทางพระวินัย ก็เท่ากับนาที่ไม่รก พืชบุญที่หว่านลงก็ย่อมมีผลมาก มีกำไรมาก แต่ถ้าศีลขาดมากมีโทษทางพระวินัยมาก ก็เท่ากับที่นารก พืชบุญที่ชาวโลกหว่านลงก็มีผลน้อยมีกำไรน้อย ด้วยเหตุนี้พระภิกษุสามเณรผู้ตระหนักในหน้าที่ของตน
จึงพยายามรักษาตัวมิให้เป็นนาที่รกด้วยวัชพืช
ก็ในการรักษาตัวนั้น พระภิกษุสามเณรบางรูปบางครั้งบางคราวไม่สามารถจะให้บริสุทธิ์เท่าที่ควรได้ เพราะคฤหัสถ์หรือบุรุษ สตรีหรือทายกทายิกาผู้ไม่รู้วินัยของพระ และมีธุระเกี่ยวข้องกับพระในวาระต่างๆ เช่นในคราวทำบุญ แต่ทำไม่ถูกต้องพระวินัย
ภิกษุเกรงใจคฤหัสถ์บางทีคฤหัสถ์เกรงใจภิกษุ จึงทำให้พระต้องอาบัติ
คือต้องโทษทางพระวินัย อย่างนี้คฤหัสถ์ได้บุญก็จริง แต่ได้น้อยเพราะขณะเดียวกันนั้นพระได้บาปต้องโทษไม่บริสุทธิ์ เหมือนนาที่รกเสียแล้ว
อนึ่ง บางทีบางรูปไม่รู้วินัยของตนเองดีพอ หรือบางรูปรู้วินัยดีแล้ว
แต่ไม่เอื้อเฟื้อในวินัยก็ย่อมเกี่ยวข้องกับคฤหัสถ์ในทางที่ผิดๆ
และคฤหัสถ์ก็ไม่รู้วินัยของพระจึงพากันปฏิบัติผิดร่วมกันอย่างนี้
จึงรู้สึกว่าไม่ค่อยเหมาะกับพุทธศาสนิกชนเลย
๑. สุภาพสตรี อย่าถูกต้องภิกษุสามเณร
(สังฆาทิเสส ข้อ ๒)
๒. สุภาพบุรุษ หรือสุภาพสตรี
ไม่ควรวานให้พระชักสื่อชายหญิงให้เป็นสามีภรรยากัน แม้ชั่วครั้งชั่วคราว
(สังฆาทิเสส ข้อ ๕)
๓. สุภาพสตรี ไม่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาไปด้วย
ไม่ควรเข้าไปหาพระในที่ลับตาหรือลับหู เพราะอาจจะทำให้พระถูกโจทด้วยอาบัติต่างๆหรือเป็นทางให้เกิดความเสียหายมาก
(อนิยต ข้อ ๑-๒)
๔. สุภาพบุรุษหรือสตรี
เมื่อศรัทธาจะถวายเงินทองแก่พระภิกษุหรือสามเณรต้องมอบให้แก่ไวยาจักร
(ผู้ที่รับทำกิจของท่าน) และแจ้งให้ท่านทราบ อย่ามอบให้ในมือหรือในย่าม
หรือในบาตรของท่าน เป็นต้น
(จีวรวรรค ข้อ ๑๐-โกสิยวรรค ข้อ ๘)
๕. บุรุษผู้เป็นไวยาจักร
เมื่อรับเงินทองของพระรูปใดไว้เท่าไร ต้องจัดสิ่งของที่พระต้องการถวายพระรูปนั้น ในราคาเท่าเงินทองที่ตนรับไว้นั้น ในเวลาที่ท่านขอ ถ้าเงินทองมากพระขอของน้อย ก็จ่ายเท่าที่ท่านต้องการ เก็บส่วนที่เหลือไว้จ่ายคราวต่อไป
(จีวรวรรค ข้อ ๑๐)
๖. บุรุษ-สตรี ผู้เป็นพ่อค้า-แม่ค้า
ไม่ควรขายของแก่พระภิกษุ หรือสามเณรผู้ที่จับต้องเงิน (ธนบัตร-เหรียญบาทเป็นต้น) มาซื้อด้วยตนเอง
(โกสิยวรรค ข้อ ๙)
๗. บุรุษ-สตรี
ไม่ควรเอาสิ่งของของตนแลกกับสิ่งของของพระ-ของสามเณร
(โกสิยวรรค ข้อ ๑๐)
๘. บุรุษ-สตรี
ไม่ควรเอาผ้าอาบน้ำฝนถวายพระก่อนเข้าพรรษามากกว่า ๑ เดือน แม้พระขอก็ไม่ต้องถวาย เว้นไว้แต่พระที่เป็นญาติ และพระที่ตนปวารณาไว้
(ปัตตวรรค ข้อ ๔)
๙. บุรุษ-สตรี เมื่อเตรียมสิ่งของจะถวายแก่สงฆ์
(ไม่เฉพาะบุคคล) ถ้าพระแนะนำให้ถวายเฉพาะตัวท่านเอง หรือให้ถวายเฉพาะพระรูปใดๆก็ตาม ไม่ต้องถวายตามคำแนะนำนั้น
(ปัตตวรรค ข้อ ๑๐-สหธรรมิกวรรค ข้อ ๑๒)
๑๐. บุรุษ-สตรี เมื่อเรียนธรรมกับพระ
อย่าออกเสียงบทพระธรรมพร้อมกับพระ
(มุสาวาทวรรค ข้อ ๔)
๑๑. บุรุษ เมื่อนอนในที่มุง ที่บัง อันเดียวกับพระครบ ๓ คืนแล้ว
ต้องเว้นเสีย ๑ คืน ต่อไปจึงนอนได้อีก
(มุสาวาทวรรค ข้อ ๕)
๑๒. สตรี ห้ามนอนในที่มุง ที่บัง อันเดียวกับพระแม้ในคืนแรก
(มุสาวาทวรรค ข้อ ๖)
๑๓. บุรุษ-สตรี ถ้าพระใช้ให้ขุดดินเหนียวล้วนหรือดินร่วนล้วน
ไม่ควรขุด แต่ถ้าพระแสดงความประสงค์ว่าต้องการหลุมหรือคูเป็นต้น
หรือว่าต้องการขุดดินให้สูงเท่านั้นเท่านี้เป็นต้น ก็ควรจัดการให้ตามประสงค์
(มุสาวาทวรรค ข้อ ๑๐)
๑๔. บุรุษ-สตรี ถ้าพระใช้ให้ตัดต้นไม้
หรือดายหญ้าที่เกิดอยู่กับดิน หรือให้รื้อถอนผักหญ้าต่างๆ ที่เกิดอยู่ในน้ำ ไม่ควร
ตัด-ดาย-รื้อถอน แต่ถ้าพระบอกว่า เราต้องการไม้-หญ้า-ผัก
หรือว่าเราต้องการทำความสะอาดในที่ซึ่งเกะกะรุงรัง
ด้วยต้นไม้หรือผักหญ้าดังนี้เป็นต้น จึงทำให้
(ภูตคามวรรค ข้อ ๑)
๑๕. บุรุษ-สตรี นิมนต์พระให้ฉันอาหารอย่าออกชื่อโภชนะ ๕ คือ
ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ ควรใช้กัปปิยโวหารหรือคำพูดที่สมควร เช่น พูดว่า “ขอนิมนต์ฉันเช้า” หรือว่า “ขอนิมนต์ฉันเพล”
และต้องบอกวัน เวลาสถานที่ให้ชัดเจน ทั้งบอกให้พระทราบด้วยว่าให้ไปกันเอง
หรือจะมารับ อนึ่งการที่นิมนต์พระให้ฉันนั้นปรารภเรื่องอะไรก็ควรบอกให้ทราบด้วย
(โภชนวรรค ข้อ ๒)
๑๖. บุรุษ-สตรี เมื่อเลยเวลาเพลแล้ว
คือตั้งแต่เที่ยงวันไปจนถึงวันใหม่ อย่านำอาหารไปประเคนพระ
หากเป็นของที่เก็บค้างคืนได้ ไม่บูด ไม่เสีย เช่น ข้าวสาร ปลาดิบ เนื้อดิบ
อาหารสำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง เป็นต้น ก็มอบไว้แก่ไวยาวัจกรของท่านได้
(โภชนวรรค ข้อ ๗)
๑๗. บุรุษ-สตรี ถ้าพระที่มิใช่ญาติและตนไม่ได้ปวารณาไว้
ไม่เป็นไข้ ขอโภชนะอันประณีต คือข้าวสุกที่ระคนด้วยเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม แม้อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ควรถวาย
แต่ถ้าขอเพื่อผู้เป็นไข้ควรถวายโดยแท้
(โภชนวรรค ข้อ ๙)
๑๘. บุรุษ-สตรี เมื่อประเคนอาหารหรือยาเป็นต้น
ทุกอย่างที่พระจะต้องกลืนกิน (ฉัน) ต้องประเคนให้ถูกวิธี ดังนี้
ก. ภาชนะหรือห่อของนั้น
ไม่ใหญ่หรือหนักจนเกินไป ยกคนเดียวได้อย่างพอดี
ข. เข้าอยู่ในหัตถบาสของพระ
ห่างจากพระประมาณ ๑ ศอก เป็นส่วนสุดของสิ่งของหรือของบุคคลผู้ประเคน
ค. น้อมกายถวายด้วยความเคารพ
ง. กิริยาที่ถวายนั้น
ถวายด้วยมือหรือของที่เนื่องด้วยมือ เช่นช้อน-ภาชนะก็ได้
จ. พระรับด้วยมือ
หรือของที่เนื่องด้วยมือ เช่น บาตร-ผ้าก็ได้
(โภชนวรรค ข้อ ๑๐)
๑๙. สตรีไม่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่เป็นเพื่อน
ต้องไม่นั่ง ไม่นอน ไม่ยืน ไม่เดิน ในห้องกับพระ แม้จะมีสตรีหลายคนก็ไม่ได้
(อเจลกวรรค ข้อ ๔)
๒๐. สตรีต้องไม่นั่ง ไม่นอนในที่แจ้งกับพระ หนึ่งต่อหนึ่ง
ถ้าสตรีหลายคนนั่งได้ แต่การนอนนั่นไม่ควร แม้การยืน การเดินกับพระ หนึ่งต่อหนึ่งด้วยอาการซ่อนเร้นก็ไม่ควร
(อเจลกวรรค ข้อ ๕)
๒๑. บุรุษ-สตรี ที่ไม่ใช่ญาติของพระ แม้จะเป็นเขย สะใภ้
หรือภรรยาเก่าของพระ (ปุราณทุติยิกา) หากมิได้เกี่ยวข้องทางสายโลหิต
ก็ชื่อว่ามิใช่ญาติ ถ้ามีศรัทธาจะให้พระขอปัจจัย ๔ หรือสิ่งของต่างๆ จากตนได้
ก็ต้องปวารณา คือเปิดโอกาสให้พระขอได้โดยลักษณะ ๔ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
ก. กำหนดปัจจัยหรือสิ่งของ
เช่น จีวร บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง ยา หนังสือ สมุด ปากกา ฯลฯ
ข. กำหนดเวลา
คือให้ขอได้ตลอดเท่านั้นวัน เท่านั้นเดือน เท่านั้นปี ตั้งแต่วันที่เท่าไรถึงเท่าไร
ค. กำหนดทั้งปัจจัย-สิ่งของ
และเวลา
ง. ไม่กำหนดทั้งปัจจัย
สิ่งของและเวลา ถ้าจะให้ขอได้เป็นนิตย์ ต้องบอกว่า นิมนต์ขอได้ตลอดกาลเป็นนิตย์
เมื่อปวารณาแล้ว ถ้าพระขอเกินกำหนดหรือเกิน ๔ เดือน ไม่ควรถวาย
เว้นไว้แต่ตนปวารณาอีก หรือปวารณาเป็นนิตย์
(อเจลกวรรค ข้อ ๗)
หมายเหตุ :- คำว่า ญาติ
ได้แก่คนที่เกี่ยวเนื่องกัน ๗ ชั้น คือ ๑. ทวด ๒. ปู่ย่าตายาย ๓. พ่อแม่ ๔. พี่น้อง
๕. ลูก ๖. หลาน ๗. เหลน
๒๒. บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาของเสพติดให้โทษ เช่น สุราเมรัย
ฝิ่น เฮโรอีน กัญชาถวายพระ
(สุราปานวรรค ข้อ ๑)
๒๓. บุรุษ-สตรี
อย่าเอาน้ำที่มีตัวสัตว์ไปตั้งไว้ให้พระบริโภค คือ ดื่ม อาบ ล้างเท้า ใช้สอย
(สัปปาณวรรค ข้อ ๒)
๒๔. บุรุษ-สตรี ผู้นำสินค้าหนีภาษี
ไม่ควรเดินทางร่วมกับพระ หรือไม่ควรให้เกี่ยวข้องกับพระ
(สัปปาณวรรค ข้อ ๖)
๒๕. สตรี ไม่ควรชวนพระเดินทางไกล แม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง
แม้นั่งรถ นั่งเรือ ไปเพียงหนึ่งต่อหนึ่งก็ไม่ควร แม้สตรีหลายคน
แต่ไม่มีบุรุษผู้รู้เดียงสานั่งไปด้วย ก็ไม่ควร แม้บุรุษไปด้วย หากสตรีขับรถเรือเอง
ก็ไม่ควร เว้นไว้แต่เรือข้ามฟาก
(สัปปาณวรรค ข้อ ๗)
๒๖. บุรุษ-สตรี
จะถวายอาหารแก่พระผู้อยู่ในป่าอันเป็นที่เปลี่ยว ต้องแจ้งข่าวล่วงหน้าก่อน
(ปาฏิเทสนียะ ข้อ ๔)
๒๗. บุรุษ-สตรี เมื่อพระรับบิณฑบาตเต็มบาตรแล้ว
อย่าเอาอาหารวางบนฝาบาตร หรืออย่าใส่ถุงให้พระหิ้ว
(โภชนะปฏิสังยุตะ ข้อ ๔)
๒๘. บุรุษ-สตรี
เมื่อนิมนต์พระมาฉันในบ้านต้องจัดที่ฉันให้พร้อม เช่นน้ำล้างเท้า ผ้าเช็ดเท้า
น้ำฉัน น้ำใช้ กระโถน ผ้า-กระดาษเช็ดมือ เช็ดปาก ช้อนส้อมและช้อนกลาง
อย่าให้บกพร่อง
(โภชนะปฏิสังยุตะ ข้อ ๓๐)
๒๙. บุรุษ-สตรี เมื่อจัดที่ให้พระสวดหรือแสดงพระธรรมเทศนา
หรือปาฐกถาธรรม ต้องจัดที่ให้พระนั่ง อย่าให้ยืน และต้องไม่ต่ำกว่าที่ของผู้นั่งฟัง
(ธัมมเทสนาปฏิสังยุต ข้อ ๑๓, ๑๔)
๓๐. บุรุษ-สตรี เมื่อฟังธรรมเทศนาหรือฟังปาฐกถาธรรม
ต้องฟังด้วยกิริยาอาการเคารพ แม้ฟังพระสวดในงานมงคลหรืองานศพเป็นต้น
ก็ต้องเคารพเช่นเดียวกัน ไม่ควรนั่งคุยกันเลย จะคุยในเวลาพระหยุดสวดได้
(ธัมมเทสนาปฏิสังยุต ทุกข้อ)
๓๑. บุรุษ-สตรี
จะถวายร่มแก่พระต้องเลือกเอาชนิดที่ไม่สลับสี เช่นร่มผ้าดำล้วน ร่มกระดาษ
ร่มพลาสติก สีน้ำตาล สีดำ สีเหลืองล้วน
(วิ. ๒/๓๕)
๓๒. บุรุษ-สตรี
จะถวายรองเท้าแก่พระต้องเลือกเอาชนิดที่ไม่มีส้นสูง ไม่มีปกส้น ไม่มีปกหลังเท้า
มีแต่สายรัดหลังเท้ากับสายที่คีบด้วยนิ้ว และมีสีหม่นหมอง เช่น สีน้ำตาลแก่
(วิ. ๒/๓๖)
๓๓. บุรุษ-สตรี
เมื่อจะถวายเตียงตั่งแก่พระต้องเลือกเอาแต่ที่มีเท้าสูงไม่เกิน ๘ นิ้วพระสุคต หรือ
๙ นิ้วฟุต เว้นไว้แต่แม่แคร่ และไม่มีรูปสัตว์ร้ายที่เท้า เช่น เตียงจมูกสิงห์
หรือบัลลังก์ และเตียงนั้นต้องไม่ใหญ่ถึงนอนได้ ๒ คน ที่นอนก็ไม่ใหญ่อย่างเตียง
ฟูกเตียง ฟูกตั่ง และที่นั่งที่นอนไม่ยัดนุ่นหรือสำลี
(รตนวรรค ข้อ ๕ และ วิ. ๒/๓๙)
๓๔. บุรุษ-สตรี เมื่อจะถวายหมอนหนุนศีรษะแก่พระ
ต้องให้มีขนาดหนุนได้ศีรษะเดียวไม่ถึง ๒ ศีรษะ หมอนข้างไม่ควรถวาย
(วิ. ๒/๔๐)
๓๕. สตรี ต้องไม่นั่ง บนอาสนะผืนเดียวกัน บนเตียงม้านั่งเดียวกันกับพระ
แม้บนพื้นที่ไม่มีอะไรปูลาดเลย ก็ไม่ควรนั่งเสมอกับพระหรือสูงกว่าพระ
ไปในรถ-เรือมีที่จำกัด จะต้องนั่งที่ม้านั่งเดียวกันกับพระต้องให้มีบุรุษนั่งคั่นไว้เสียก่อน
(วิ. ๒/๗๐)
๓๖. บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาวัตถุอนามาสประเคนพระ
วัตถุอนามาส คือสิ่งที่พระไม่ควรแตะต้อง มี ๖ ประเภท ดังนี้ :-
ก. คนหญิง คนกะเทย เครื่องแต่งกายของคนเหล่านั้น
แต่ที่เขาสละแล้วไม่นับ ตุ๊กตาหญิง สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย
ข. ทอง เงิน มุกดา มณี ไพฑูรย์ ประพาฬ ทับทิม บุษราคัม
สังข์ที่ขัดแล้ว ศิลาชนิดดี เช่น หยก โมรา
ค. ศัสตราวุธต่างชนิด ที่ใช้ทำร้ายชีวิตร่างกาย
ง. เครื่องดักสัตว์บก-น้ำ
จ. เครื่องประโคม
ฉ. ข้าวเปลือกและผลไม้อันเกิดอยู่ในที่
(วิ. ๒/๗๓)
๓๗. สตรี ไม่ควรเกลี้ยกล่อม
ยั่วเย้าพระด้วยการพูดประเล้าประโลม หรือด้วยการแต่งตัวชะเวิกชะวาก
หรือล่อด้วยทรัพย์
(วิ. ๒/๙๑)
๓๘. บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาของเด็กเล่น เช่นเรือน้อยๆ
รถน้อยๆ ถวายพระ
(วิ. ๒/๑๑๘)
๓๙. บุรุษ-สตรี ไม่ควรชักชวนพระเล่นการพนัน มีแพ้ มีชนะ
เช่นหมากรุก หมากแยก ฯลฯ
(วิ. ๒/๑๑๘)
๔๐. บุรุษ-สตรี
ไม่ควรเรียนดิรัจฉานวิชาจากพระและไม่ควรบอกดิรัจฉานวิชาแก่พระ
ดิรัจฉานวิชาคือความรู้ในการทำเสน่ห์
ในการใช้ภูตผีปีศาจทำผู้อื่นให้ถึงความวิบัติในทางอวดฤทธิ์เดชต่างๆ
ในทางทำนายทายทักบอกหวยบอกเบอร์ ในทางที่นำให้หลงงมงาย เช่นหุงเงิน
หรือทองแดงให้เป็นทอง
(วิ. ๒/๑๒๐)
๔๑. บุรุษ-สตรี ไม่ควรใช้พระในกิจนอกพระพุทธศาสนา
แต่จะขอให้ช่วยกิจพระพุทธศาสนา เช่นให้ช่วยนิมนต์พระไปในการบำเพ็ญบุญอยู่ได้
(วิ. ๒/๑๒๐)
๔๒. บุรุษ-สตรี ไม่ควรนำสิ่งของอันมีค่าฝากไว้กับพระ
เพราะอาจเกิดอันตรายแก่พระได้ เช่น อันตรายในการเจริญสมณธรรม ถูกปล้น
ถูกเป็นผู้สำนองในเมื่อของนั้นหาย
(วิ. ๒/๑๒๒)
๔๓. บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาเนื้อสัตว์ที่ไม่นิยมเป็นอาหารถวายพระ
เนื้อที่ไม่นิยมเป็นอาหาร คือ เนื้อมนุษย์
ช้าง-ม้า-สุนัข-งู-สีห์-เสือโคร่ง-เสือเหลือง-หมี-เสือดาว
(วิ. ๒/๑๓๓)
๔๔. บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาเนื้อสัตว์ที่นิยมเป็นอาหารแต่ยังดิบ
ไม่สุกด้วยไฟ เช่น ปูเค็ม กุ้งส้ม หอยเค็ม ปลาเค็ม แหนม กะปิ ลาบเนื้อดิบ
ไข่ลวกไม่สุก ประเคนพระ ควรมอบไว้แก่กัปปิยการก
คือผู้มีหน้าที่ทำให้เป็นของควรแก่พระ
(วิ. ๒/๑๓๓)
๔๕. บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาอุทิศมังสะถวายพระ อุทิศมังสะ
คือเนื้อหรือไข่สัตว์ที่เขาฆ่าเจาะจงภิกษุสามเณร
(วิ. ๒/๑๓๓)
๔๖. บุรุษ-สตรี อย่าเอาพีชคาม คือผลไม้มีเมล็ดสุกบางอย่าง
เช่นพริกสุก มะเขือสุก อ้อยที่ยังไม่ได้ปอก ผักบุ้ง ขมิ้น กระชาย กระเทียม หอม
โหระพา กะเพรา ฯลฯ ที่พ้นจากที่เกิดที่อยู่แล้ว แต่ยังปลูกให้งอกได้อีกถวายพระ
ควรทำให้เป็นของที่ไม่อาจปลูกให้งอกได้แล้ว จึงถวายพระ
(วิ. ๒/๑๓๕)
๔๗. บุรุษ-สตรี จะทำน้ำปานะถวายพระ
ควรเลือกเอาผลไม้สุกที่นิยมเป็นอาหาร ชนิดที่ไม่โตกว่าผลมะตูมหรือผลกระเบา
ขนาดเล็กไม่จำกัด เอามาทำความสะอาด คั้นแล้วกรองให้หมดกาก
เจือน้ำจืดที่สะอาดบ้างก็ได้ แต่อย่าใช้น้ำร้อน และอย่าต้มน้ำปานะด้วยไฟ
จะเจือน้ำตาลเกลือบ้างก็ได้ ทำแล้วต้องถวาย ให้พระฉันในวันนั้น
อย่าปล่อยให้ข้ามราตรี
(วิ. ๒/๑๓๙)
๔๘. บุรุษ-สตรี ไม่ควรถือเอามรดกของพระผู้มรณภาพไปแล้ว
ไม่ว่าพระรูปนั้นจะเป็นพ่อ ลูก ญาติ มิตร หรือเกี่ยวข้องกันโดยสถานะไรๆ ก็ตาม
แม้พระได้ทำพินัยกรรมไว้ให้ ก็ถือเอาไม่ได้ เพราะทางวินัยของสงฆ์มีอยู่ว่า
มรดกของพระผู้มรณะตกเป็นของสงฆ์ทั้งหมด แม้พระได้พูดไว้ด้วยคำอันเป็นอนาคตว่า
“ถ้าฉันตายแล้ว เธอจงเอาสิ่งนั้นสิ่งนี้ไป”
ดังนี้ ก็ถือเอาไม่ได้ แต่สิ่งที่พระมอบให้ด้วยคำเป็นปัจจุบันว่า
“ฉันให้สิ่งนั้นสิ่งนี้แก่เธอ”
ก็ถือเอาได้เฉพาะสิ่งที่ระบุถึง หากระบุทั้งหมดก็ถือเอาได้ทั้งหมด
(วิ. ๒/๑๕๔/๑๕๕)
๔๙. บุรุษ-สตรี เมื่อจะถือเอาสิ่งของของพระด้วยวิสาสะ
ต้องให้ครบองค์ ๓ คือ
ก. เคยเห็นกัน เคยคบกัน เคยพูดกันไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง
ข. รู้ว่าถือเอาแล้ว เจ้าของจักพอใจ
ค. เจ้าของยังมีชีวิตอยู่
(วิ. ๒/๑๕๗)
๕๐. บุรุษ-สตรี เมื่อพยาบาลพระผู้เจ็บหนัก
ฉันอาหารไม่ได้ ครั้นถึงเวลาวิกาลหิวจัด
หากมิได้อาหารอาจเป็นอันตราย จะต้มข้าวหรือเนื้อสัตว์ที่นิยมเป็นอาหาร
(เว้นอุทิศมังสะ) ให้เหลว กรองให้หมดกาก เอาแต่น้ำข้าว
น้ำเนื้อที่ใสถวายให้พระดื่มในเวลาวิกาลได้ การที่จะอ้างว่า
แพทย์สั่งให้พระป่วยฉันอาหารในวิกาลได้ แล้วนำอาหารชนิดต่างๆ ไปถวายในวิกาลนั้นไม่ควรเลย หากพระอยากฉันอาหารในวิกาลโดยไม่เอื้อเฟื้อต่อวินัยแล้ว
ควรให้สึกเสียก่อน จึงจัดถวายให้รับประทาน
(วิ. ๒/๑๗๕)
๕๑. สตรีที่เป็นโสเภณี เป็นหม้าย เป็นสาวเทื้อ เป็นชี
และกะเทย ไม่ควรไปมาหาสู่กับพระ โดยไม่เป็นกิจจลักษณะหรือผิดเวลา
(วิ. ๒/๑๘๑)
๕๒. บุรุษ-สตรี ไม่ควรนิมนต์พระเข้านั่งในร้านสุรา
จะเป็นที่ขาย หรือที่กลั่นสุราหรือที่ดองเมรัยก็ตาม
(วิ. ๒/๑๘๑)
บุรุษหรือสตรีก็ตาม เมื่อหวังความเจริญแก่ตนแก่วงศ์สกุลของตน
และแก่พุทธศาสนา ควรศึกษาให้มีความรู้เกี่ยวกับวินัยของภิกษุสงฆ์บางข้อ
ตามที่รวบรวมไว้นี้ และปฏิบัติให้ถูกต้อง ก็ย่อมจะเหมาะสมแก่ความเป็นพุทธศาสนิกชน
และย่อมช่วยประดับพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองแล
รวบรวมและเรียบเรียงโดย
พระเทพวิสุทธิญาณ
(อุบล นนฺทโก ป.ธ. ๙)
วัดบวรนิเวศวิหาร
หนังสือเรื่อง
“วินัยของพระภิกษุสงฆ์ที่ประชาชนควรทราบ”
นี้ ผู้จัดพิมพ์ได้เคยติดต่อพระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระเทพวิสุทธิญาณ
ขออนุญาตจัดพิมพ์ขึ้น เพื่อเผยแผ่เป็นธรรมทานมาครั้งหนึ่งแล้ว
ซึ่งก็ได้รับอนุญาตจัดพิมพ์ได้ตามความประสงค์
บัดนี้
ผู้จัดพิมพ์ระลึกถึงคุณของท่านอยู่
จึงกราบเรียนพระเถระในวัดบวรนิเวศวิหาร ขออนุญาตจัดพิมพ์อีกครั้ง
เพื่อร่วมบำเพ็ญกุศลถวายแด่พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณ
และรักษาเจตนารมณ์เดิมของท่านที่จะเผยแผ่ธรรมวินัยของพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป
บุญกุศลใดๆ
ที่เกิดจากการจัดพิมพ์เผยแผ่และเกิดขึ้นโดยมีหนังสือเล่มนี้เป็นมูลเหตุ
ขอจงสำเร็จแด่พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณมหารัชมงคลดิลก
และท่านเจ้าคุณพระเทพวิสุทธิญาณ ทุกประการ
คณะผู้จัดพิมพ์
ก่อนแต่งงาน กับ หลังแต่งงาน
ก่อนแต่งงาน
ช. ในที่สุด ก็ถึงเวลาซะที ผมรอไม่ไหวแล้ว
ญ. แล้วคุณจะเลิกกับฉันไหม
ช. ไม่มีทาง ทำไมคุณคิดอย่างนั้น
ญ. ถ้าฉันงอน คุณจะง้อฉันหรือเปล่า
...ช. สำหรับคุณแล้ว ผมจะพยายามทำทุกวิธี
ญ. แล้วคุณคิดจะรังแกฉันบ้างไหม
ช. ผมต้องฆ่าตัวตายแน่ๆ ถ้าทำอย่างนั้นกับคุณ
ญ. จูบฉันสิคะ
หลังแต่งงานแล้ว ....ให้อ่านย้อนขึ้น
ช. ในที่สุด ก็ถึงเวลาซะที ผมรอไม่ไหวแล้ว
ญ. แล้วคุณจะเลิกกับฉันไหม
ช. ไม่มีทาง ทำไมคุณคิดอย่างนั้น
ญ. ถ้าฉันงอน คุณจะง้อฉันหรือเปล่า
...ช. สำหรับคุณแล้ว ผมจะพยายามทำทุกวิธี
ญ. แล้วคุณคิดจะรังแกฉันบ้างไหม
ช. ผมต้องฆ่าตัวตายแน่ๆ ถ้าทำอย่างนั้นกับคุณ
ญ. จูบฉันสิคะ
หลังแต่งงานแล้ว ....ให้อ่านย้อนขึ้น
วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ราคาแสตมป์ กับน้ำหนักจดหมาย
ราคาแสตมป์ กับน้ำหนักจดหมาย
ไม่เกิน 20 กรัม 3 บาท
20-100 กรัม 5 บาท
101-250 กรัม 9 บาท
251-500 กรัม 15 บาท
501-1000 กรัม 25 บาท
1001-2000 กรัม 45 บาท
ไม่เกิน 20 กรัม 3 บาท
20-100 กรัม 5 บาท
101-250 กรัม 9 บาท
251-500 กรัม 15 บาท
501-1000 กรัม 25 บาท
1001-2000 กรัม 45 บาท
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)