ปรัชญาชีวิตในวิถีของ โจน จันได จาก ผู้จัดการออนไลน์
เขียนโดย ธนา อุทัยภัตรากูร
โจน จันได ลูกชาวนาแห่งยโสธร
ผู้เชียวชาญในการสร้างบ้านดิน ของประเทศไทย
เดินทางไปรอบโลกเพื่อนำเสนอแนวทางในการสร้างบ้านดิน
นักปราชญ์ที่มีแนวคิดในการดำรงค์ชีวิตอย่างมีความสุขและเรียบง่าย
จนได้รับการขนานนามจากรายการเจาะใจ ว่า "คนจนผู้ยิ่งใหญ่"
กับปรัชญาชีวิตในวิถีของ โจน จันได
"ชีวิตมันเป็นเรื่องง่าย ๆ แต่เราทำให้มันยากเอง
และอันนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ผมได้เรียนรู้คือ
ใช้เวลาไม่มากนักในการหากิน มันเหลือกินแล้ว
แต่เราใช้เวลาเยอะมากในการหาเพื่อครอบครัว
ฉะนั้นใช้ชีวิตให้ง่ายดีกว่า
หลังจากนั้นมา ผมก็เชื่อในเรื่องชีวิตนี้มันง่ายมาตลอด
ทำไมต้องทำให้มันยาก
ก็เลยเปลี่ยนชีวิตผมมาตลอดเลย
ไปอยู่บ้านผมยิ่งสบาย ผมพยายามที่จะพูดกับคน
คนที่เย็บหมอนที่บ้านว่าทำหมอน
หมอนพวกสามเหลี่ยม หมอนหนุน
เย็บหมอนทั้งวันทั้งคืนเพื่อที่มีเงินไปซื้ออาหารจากตลาดมา
วันเดียวหมดมื้อเดียว
ผมบอกว่า ถ้าทำสวนเองเนี่ย อย่างผมเนี่ย
ดูแลสวนแค่ 10-15 นาทีต่อวันเนี่ย
ผมมีผัก มีมะละกอ มีอะไรให้ครอบครัว 5-6 คนอยู่ได้สบาย
ทำงานแค่ 15 นาที ทำไมต้องไปนั่งทำงานตั้งวันละ 10 กว่าชั่วโมงนี่
มันก็ทำให้ผมเห็นว่าชีวิตมันง่าย แต่อธิบายให้คนเข้าใจไม่ได้"
"รอน้ำผักแค่วันละ 15 นาที
แต่บางอาทิตย์อาจจะใช้เวลามากกว่าเป็นชั่วโมงก็มี
บางครั้งก็อาจจะไปหาขี้วัว หาอะไรมาใส่ด้วย
ซึ่งมันไม่บ่อยนักหรอกนะแค่ครั้ง สองครั้ง
แต่ปกติแล้ว 15 นาที ถือถังตักน้ำแล้ก็เดินมารดผัก"
"ทำปุ๋ยหมักใช้เอง"
เขาเริ่มทำบ้านดินหลังแรกจากความคิด
ผสมกับที่ได้เห็นภาพการทำบานดินในหนังสือของฝรั่ง
เมื่อสำเร็จหลังแรก ก็ทำหลังต่อๆมา
ให้กับชุมชนในหมู่บ้าน
จนกระทั่งมีชื่อเสียง
ได้รับเชิญเป็นวิทยากรแนะนำการสร้างบ้านดิน
เป็น work shop ที่มีสมาชิกเข้าร่วม มากมาย
ในความเห็นของโจน
"การทำบ้านดินไม่ใช่เป้าหมายหลัก ของการทำ Work Shop ที่เราทำอยู่
เป้าหมายหลักก็คือ หัดทำอะไรพึ่งตนเอง
กลับมาสร้างศักยภาพให้มนุษย์เป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกับสัตว์ทั่วๆ ไป
แต่เพราะทุกวันนี้มีศักยภาพของมนุษย์ต่ำกว่าสัตว์ทุกชนิดในโลกนี้ซะอีก
เพราะเราขาดการรักษามรดกในการพึ่งตนเอง คนบางคนก่อไฟไม่เป็น
ทำอาหารไม่เป็น นั่นหมายความว่าศักยภาพในชีวิตมันต่ำลง
ฉะนั้นเราต้องกลับมาพึ่งตนเอง
การทำบ้านดินเป็นส่วนหนึ่งของการพึ่งตนเอง อาหาร บ้าน ผ้า และยาเนี่ย
ก็มาคุยเรื่องนี้แหล่ะ เพราะว่าชีวิตมันไม่มีความหมายหรอก
ถ้าคนเราพึ่งตัวเองไม่ได้ เพราะว่าอิสรภาพมันก็สูญเสียไป
ความภูมิใจในตัวเองก็ไม่มี คุณค่าของชีวิตเราก็มองไม่เห็น
เพราะแค่ไม่ได้ใช้แรงงานทำงานเนี่ย
ชีวิตก็เป็นเรื่องที่เลื่อนลอยไปแล้ว
คนทำงานในเมืองเนี่ยไม่รู้ว่าชีวิตเพื่ออะไร
หาเงินอย่างเดียว เพราะไม่มีเวลาว่าง
การทำงานคือการมีเวลาว่าง
มีเวลาว่างให้กับสมองของเรา ถ้าสมองมีเวลาว่างมันก็จะเห็น
มันก็จะมีความเงียบ
พอความเงียบเกิดขึ้นมันก็จะเห็นความงามได้
ถ้าเห็นความงามได้ ชีวิตก็มีความสุขได้
แต่ชีวิตทุกคนในเมืองไม่มีโอกาส เพราะมันยุ่งกับงานตลอด
แต่เรื่องงานกลุ้มหนักๆ ตลอด
แต่ถ้าทำงานหนักปุ๊บเนี่ย โลกจิตโลกความเครียดต่างๆ มันหายไป
ปัญหาของความเครียดที่มีมากมายในโลกนี้ไม่จำเป็นต้องพึ่งจิตแพทย์เลย
แค่กลับมาทำงานหนักเท่านั้นเอง หายหมด
อันนี้เห็นชัดในหลายๆ กรณี เพราะคนที่มานี่เราก็คุยกัน
หลายคนเขาเครียดมา มาเพราะเครียด เรื่องครอบครัว
เรื่องงาน อยากหนีจากสิ่งเหล่านั้น ถึงได้มา
แต่พอมาแล้วมันลืม อาการปวดหัวมันหายไป
เป็นการบำบัดอย่างหนึ่ง เพราะเราใช้ร่างกายไม่มีความสมดุล
ทำให้เกิดความผิดปกติ
ฉะนั้นคนชั้นกลางที่มาร่วม Work Shop ถึงได้ถูกอกถูกใจกัน
มักจะมีครั้งที่ 2 แทบทุกคนเลย
เพราะว่าการทำงานเนี่ยมันน่าเบื่อ
แต่ถ้าทำอะไรที่ไม่รู้สึกว่าเป็นงานมันสนุก
อย่างทำบ้านดินไม่มีใครรู้สึกว่ามันเป็นงานเลย เรามาเล่นดินกัน"
โจนกับลูกและภรรยาชาวอเมริกัน
"เพ็กกี้" หญิงที่รักงานด้านเอ็นจีโอจากโคโลราโด
ผู้เป็นลูกสาวคุณหมอและอาจารย์
แห่งครอบครัวคนชั้นกลางที่มีอันจะกิน
วันนี้เลือกที่จะมาลงหลักปักฐานกับหนุ่มโจน
ในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น