มะรุม เป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณในหลายด้าน เช่น ราก จะมีรสเผ็ด หวาน ขม แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ เปลือก จะมีรสร้อน ช่วยขับลม ใบ ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ ดอก ช่วยบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ฝัก รสหวาน แก้ไข้หรือลดไข้ เป็นต้น
ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ราก ฝัก ใบ เนื้อในเมล็ด
สรรพคุณ :
ฝัก - ปรุงเป็นอาหารรับประทานแก้ไข้หัวลม
เปลือกต้น - มีรสร้อน รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อนๆ (ตัดต้นลมดีมาก)
ราก - มีรสเผ็ด หวานขม แก้บวม บำรุงไฟธาตุ มีคุณเสมอกับกุ่มบก - แก้พิษ ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ
แพทย์ตามชนบท ใช้เปลือกมะรุมสดๆ ตำบุบพอแตกๆ อมไว้ข้างแก้ม แล้วรับประทานสุราจะไม่รู้สึกเมาเลย
จากประสบการณ์ เนื้อในเมล็ดมะรุม ใช้แก้ไอได้ดี ใบสดมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ มีแคลเซียม วิตามินซี แร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก การรับประทานเนื้อในเมล็ด และใบสดเป็นประจำสามารถเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกายได้
ข้อควรระวัง ในคนที่เป็นโรคเลือด G6PD ไม่ควรรับประทาน
"มะรุม" มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Moringa oleifera Lam. วงศ์ Moringaceae เป็น พืชกำเนิดแถบใต้เชิงเขาหิมาลัย เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่ถูกปลูกไว้ในบริเวณบ้านไทยมาแต่โบราณ กินได้หลายส่วน ทั้งยอด ดอก และฝักเขียว แต่ใครๆ ก็นิยมกินฝักมากกว่าส่วนอื่นๆ ต้นมะรุมพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ทางอีสานเรียก “ผักอีฮุม หรือผักอีฮึม” ภาคเหนือเรียก “มะค้อมก้อน” ชาวกะเหรี่ยงแถบกาญจนบุรีเรียก “กาแน้งเดิง” ส่วนชานฉานแถบแม่ฮ่องสอนเรียก “ผักเนื้อไก่” เป็นต้น
ผู้เฒ่าผู้แก่นิยมกินมะรุมในช่วงต้นหนาวเพราะเป็นฤดูกาลของฝัก มะรุม หาได้ง่าย รสชาติอร่อยเพราะสดเต็มที่ มีขายตามตลาดในช่วงฤดูกาล คนที่ปลูกมะรุมไว้ในบ้านเท่านั้นจึงจะมีโอกาสลิ้มรสยอดมะรุม ใบอ่อน ช่อดอกและฝักอ่อน ช่อดอกนำไปดองเก็บไว้กินกับน้ำพริก ยอดมะรุม ใบอ่อน ช่อดอก และฝักอ่อนนำมาลวกหรือต้ทให้สุก จิ้มกับน้ำพริกปลาร้า น้ำพริกแจ่วบอง กินแนมกับลาบ ก้อย แจ่วได้ทุกอย่าง หรือจะใช้ยอดอ่อน ช่อดอกทำแกงส้มหรือแกงอ่อมก็ได้
ส่วนอื่นๆ ของโลกจะใช้ใบมะรุมประกอบอาหารเช่นเดียวกับการใช้ผักขมฝรั่ง หรือปรุงเป็นซอสข้นราดข้าวหรืออาหารแป้งอื่นๆ นอกจากนี้ ใช้ใบตากแห้งป่นเก็บไว้ได้นานโรยอาหาร เช่นเดียวกับที่ภูมิปัญญาอีสานจังหวัดสกลนครใช้ใบมะรุมแห้งปรุงเข้าเครื่อง “ผงนัว” กับสมุนไพรอื่นไว้แต่งรสอาหารมาแต่โบราณ ส่วนฝักอ่อนปรุงอาหารเหมือนถั่วแขก
คุณค่าทางอาหารของมะรุม
มะรุมเป็นพืชมหัศจรรย์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุด กล่าวถึงในคัมภีร์ใบเบิ้ลว่าเป็นพืชที่รักษาทุกโรค
ใบ มะรุมมีโปรตีนสูงกว่านมสด 2 เท่า การกินใบมะรุมตามชนบทของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศโลกที่ 3 เป็นการเพิ่มโปรตีนคุณภาพสูงราคาถูกให้กับอาหารพื้นบ้าน
นอกจากนี้ มะรุมมีธาตุอาหารปริมาณสูงเป็นพิเศษที่ช่วยป้องกันโรค นั่นคือ
วิตามินเอ บำรุงสายตามีมากกว่าแครอต 3 เท่า
วิตามินซี ช่วยป้องกันหวัด 7 เท่าของส้ม
แคลเซียม บำรุงกระดูกเกิน 3 เท่าของนมสด
โพแทสเซียม บำรุงสมองและระบบประสาท 3 เท่าของกล้วย
ใยอาหารและพลังงาน ไม่สูงมากเหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนักอีกด้วย
น้ำมันสกัดจากเมล็ดมะรุม มีองค์ประกอบคล้ายน้ำมันมะกอกดีต่อสุขภาพอย่างยิ่ง
จากอาหารมาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ปัจจุบันชาวญี่ปุ่นผลิตชาใบ มะรุมออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์ระบุว่าใช้แก้ไขปัญหาโรคปากนกกระจอก หอบหืด อาการปวดหูและปวดศรีษะ ช่วยบำรุงสายตา ระบบทางเดินอาหาร และช่วยระบายกาก
ประเทศ อินเดีย หญิงตั้งครรภ์จะกินใบมะรุมเพื่อเสริมธาตุเหล็ก แต่ที่ประเทศที่ฟิลิปปินส์และบอสวานาหญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมจะกินแกงจืดใบ มะรุม (ภาษาฟิลิปปินส์ เรียก “มาลังเก”) เพื่อประสะน้ำนมและเพิ่มแคลเซียมให้กับน้ำนมแม่เหมือนกับคนไทย
ประโยชน์ของมะรุม
1.ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิดถึง 10 ขวบ และลดสถิติการเสียชีวิต พิการ และตาบอดได้เป็นอย่างดี
2.ใช้รักษาผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้
3.รักษาโรคความดันโลหิตสูง
4.ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ทานผลิตผลจากมะรุมในระหว่างตั้งครรภ์ เด็กที่เกิดมาจะไม่ติดเชื้อHIV นอกจากนี้ถ้ารับประทานอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้งยังช่วยให้คนทั่วๆไปสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง
5.ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ การรักษาโรคเอดส์ที่ประสพผลสำเร็จในกลุ่มประเทศแอฟริกา
6.ถ้า รับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็ง แต่ถ้าหากเป็นก็จะช่วยให้การรักษาพยาบาลง่ายขึ้น ในบางกรณีสามารถหยุดการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้ ถ้าใช้ควบคู่ไปกับยาแพทย์แผนปัจจุบัน
หากผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้การแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีร่างกายที่แข็งแรง
7.ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊าท์ โรคกระดูกอักเสบ โรคมะเร็งในกระดูก โรครูมาติซั่ม
8.รักษา โรคตาเกือบทุกชนิด เช่น โรคตามืดตามัวเพราะขาดสารอาหารที่จำเป็น โรคตาต้อ เป็นต้น หากรับประทานสม่ำเสมอ จะทำให้ตามีสุขภาพที่สมบูรณ์
9.รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง ท้องเสีย ท้องผูก โรคพยาธิในลำไส้
10.รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ
11.เป็นยาปฏิชีวนะ
น้ำมันมะรุมสรรพคุณ..ใช้หยอดจมูกรักษาโรค ภูมิแพ้ ไซนัสโรคทางเดินหายใจ ใช้หยอดหูฆ่าและป้องกันพยาธิในหู รักษาอาการเยื่อบุหูอักเสบ รักษาโรคหูน้ำหนวก ใช้ทาผิวหนังรักษาโรคผิวหนังจากเชื้อราและเชื้อไวรัส รักษาโรคเริม งูสวัด รักษาและบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้น ใช้ทารักษาแผลสด หูด ตาปลา ใช้ถูนวดบรรเทาอาการบริเวณที่ปวดบวมตามข้อ รักษาโรคไขข้ออักเสบ เก๊าท์ รูมาติก เป็นต้น
ชะลอความแก่
กล่าวกันว่ามะรุมมีฤทธิ์ชะลอ ความแก่ เนื่องจากยังไม่พบรายงานการวิจัยเกี่ยวกับมะรุมในด้านนี้ คาดว่าเป็นการสรุปเนื่องจากมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์สำคัญคือ รูทินและเควอเซทิน (rutin และ quercetin) สารลูทีนและกรดแคฟฟีโอลิลควินิก (lutein และ caffeoylquinic acids) ซึ่งต้านอนุมูลอิสระ ดูแลอวัยวะต่างๆ ได้แก่ จอประสาทตา ตับ และหลอดเลือดจากการเสื่อมสภาพตามอายุ การกินสารต้านอนุมูลอิสระชะลอการเสื่อมสภาพในเซลล์ร่างกาย
ฆ่าจุลินทรีย์ สารเบนซิลไทโอไซยาเนตโคไซด์ และเบนซิลกลูโคซิโนเลตค้นพบในปี พ.ศ. 2507 จากมะรุมมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ สนับสนุนการใช้น้ำคั้นจากมะรุมหยอดหูแก้ปวดหู
ปัจจุบันหลังจากค้นพบแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร Helicobactor pylori กำลังมีการศึกษาสารจากมะรุมในการต้านเชื้อดังกล่าว
การป้องกันมะเร็ง
สารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ชนิดหนึ่งและสารไนอาซิไมซิน (niazimicin) จากมะรุมสามารถต้านการเกิดมะเร็งที่ถูกกระตุ้นโดยสารฟอบอลเอสเทอร์ในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
การ ทดลองในหนูพบว่าหนูที่ได้รับฝักมะรุมเป็นอาการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังจากการ กระตุ้นน้อยกว่ากลุ่มทดลอง โดยกลุ่มที่กินมะรุมเนื้องอกบนผิวหนังน้อยกว่ากลุ่มควบคุม
ฤทธิ์ลดไขมันและคอเลสเทอรอล
จากการทดลอง 120 วัน ให้กระต่ายกินฝักมะรุม วันละ 200 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันเทียบกับยาโลวาสแตทิน 6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันและให้อาหารไขมันมาก
ใบมะรุม 100 กรัม (คุณค่าทางโภชนาการของอาหารอินเดีย พ.ศ. 2537)
พลังงาน 26 แคลอรี
โปรตีน 6.7 กรัม (2 เท่าของนม)
ไขมัน 0.1 กรัม
ใยอาหาร 4.8 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 3.7 กรัม
วิตามินเอ 6,780 ไมโครกรัม (3 เท่าของแครอต)
วิตามินซี 220 มิลลิกรัม (7 เท่าของส้ม)
แคโรทีน 110 ไมโครกรัม
แคลเซียม 440 มิลลิกรัม (เกิน 3 เท่าของนม)
ฟอสฟอรัส 110 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.18 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม 28 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 259 มิลลิกรัม (3 เท่าของกล้วย)
ทั้งนี้ กลุ่มที่กินมะรุมและยามีคอเลสเทอรอลฟอสโฟไลพิด ไตรกลีเซอไรด์ VLDL LDL ปริมาณคอเลสเทอรอลต่อฟอสโฟไลพิด และ atherogenic index ต่ำลง ทั้ง 2 กลุ่มมีการสะสมไขมันในตับ หัวใจ และหลอดเลือดแดงใหญ่ (เอออร์ตา) โดย
กลุ่ม ควบคุมปัจจัยด้านการสะสมไขมันในอวัยวะเหล่านี้ไม่มีค่าลดลงแต่อย่างใด กลุ่มที่กินมะรุมพบการขับคอเลสเทอรอลในอุจจาระเพิ่มขึ้น ผู้วิจัยจึงสรุปว่าการกินมะรุมมีผลลดไขมันในร่างกาย
ที่ประเทศอินเดียมี การใช้ใบมะรุมลดไขมันในคนที่มีโรคอ้วนมาแต่เดิม การศึกษาการกินสารสกัดใบมะรุมในหนูที่กินอาหารไขมันสูงมีปริมาณคอเลสเทอร อลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้กลุ่มทดลองมีปริมาณไขมันในตับและไตลดลง
สรุปว่าการให้ใบมะรุมเพื่อลดปริมาณไขมันทางการแพทย์อินเดียสามารถวัดผลได้ในเชิงวิทยาศาสตร์จริง
ฤทธิ์ป้องกันตับ
งานวิจัยการให้สารสกัดแอลกอฮอล์ของใบมะรุม กรณีทำให้ตับหนูทดลองเกิดความเสียหายโดยไรแฟมไพซิน พบว่าสารสกัดใบมะรุมมีฤทธิ์ป้องกันตับ โดยมีผลกับระดับเอนไซม์แอสาเทตอะมิโนทรานสเฟอเรส อะลานีน
ทรานมิโนทราน สเฟอเรส อัลคาไลน์ฟอสฟาเทส และบิลิรูบินในเลือด และมีผลกับปริมาณไลพิดและไลพิดเพอร์ออกซิเดสในตับ โดยดูผลยืนยันจากการตรวจชิ้นเนื้อตับ สารสกัดใบมะรุมและซิลิมาริน (silymarin กลุ่มควบคุมบวก) มีผลช่วยการพักฟื้นของการถูกทำลายของตับจากยาเหล่านี้
เอกสารอ้างอิง:
Nature’s Medicine Cabinet by Sanford Holst
The Miracle Tree by Lowell Fuglie
LA times March 27th 2000 article wrote by Mark Fritz. WWW.PUBMED.GOV. (Search for Moringa) (Antiviral Research Volume 60, Issue 3, Nov. 2003, Pages 175-180: Depts. of Microbiology, Pharmaceutical Botany, Pharmacology, Faculty of Pharmaceutical Science, Chulalongkorn University, Bangkok.
นิตยสารหมอชาวบ้านปีที่ 29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน 2550
ปายฟอเรสต์โฮม ตำบลเวียงเหนือ อำเภอ ปาย จ.แม่ฮ่องสอน Pai ,Viengnour,Maehongson,Thailand. natural camping site, resort-home stay with cottages for the naturalist who love mountains Herbs plant musics arts and cultures
วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
2012 ครบรอบหนึ่งปี เริ่มเพิ่มบรรยากาศให้เป็นรีสอร์ท
หลังจากฝากเงินผ่านเพื่อนบ้านข้าง ๆ จ่ายค่าช่างและวัศดุก่อสร้าง ได้มีการยักเงินไปบางส่วน ห้าพันแรกเอาไปแล้วบอกว่ายืมก่อน ส่วนหลังจากนั้นทำเป็นไม่รู้เรื่อง
ตอนนี้บ้านพักได้แล้ว ไปดูเองสั่งเองได้ จ่ายเงินกับอ้วนและโอนเงินไปเมื่อต้องใช้จ่ายเพิ่ม11 ม.ค. 2012
สั่งทำสะพานเดินระหว่างบ้านทั้ง สองหลังกับห้องน้ำ ไปคราวหน้าได้ใช้แล้ว
นึกถึงสะพาน รู้สึกสะดวกสบายขึ้นมาก อยากได้เป็นบ้านที่รู้สึกสะดวกแ ละ ผ่อนคลายมาก ๆ ไม่ได้อยากให้เป็นบ้านสวนแบบประ หยัด
และจะทำระเบียงบ้านแรก เป็นระเบียงชมดาว ระเบียงไม่้กว้าง ๆ นอกชาน ที่ไม่มีหลังคา
ดูดาว หิ่งห้อย อาบแดด ตากผ้าห่ม แล้วแต่จะใช้อะไร 17 ม.ค. 2012 ส่งเงิน 14000 บาทเป็นค่าไม้
งวดนี้เปลี่ยนเป็นส่งไปที่ล า เมียช่างที่ทำบ้าน
เริ่มทำระเบียงท้าย ๆ วันที่ไปต้นเดือน ก.พ. ให้ไว้อีกหมื่นห้าพัน ทำสะพานเดินจากบ้านมาห้องน้ ำ ใหญ่ ๆ ตรงกลางเป็นที่นั่งได้หว้าง ๆ เลย และทำตู้ใส่ของสำหรับครัว
ส่งอีกหกพันวันก่อนที่ไปเซนทรัลแจ้ง ไปโอนเบอร์ทรูเป็นเอไอเอส
20 ก.พ. 2555
และเมื่อวานอีกเจ็ดพันเพราะ ไม้ขาย เมื่อวานเริ่มทำประตูรั้วแล ้ว
สั่งทำสะพานเดินระหว่างบ้านทั้ง
นึกถึงสะพาน รู้สึกสะดวกสบายขึ้นมาก อยากได้เป็นบ้านที่รู้สึกสะดวกแ
และจะทำระเบียงบ้านแรก เป็นระเบียงชมดาว ระเบียงไม่้กว้าง ๆ นอกชาน ที่ไม่มีหลังคา
ดูดาว หิ่งห้อย อาบแดด ตากผ้าห่ม แล้วแต่จะใช้อะไร
งวดนี้เปลี่ยนเป็นส่งไปที่ล
20 ก.พ. 2555
และเมื่อวานอีกเจ็ดพันเพราะวันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
การเล่นเวท
ไม่มีโปรแกรมออกกำลังกายไหนสมบูรณ์ได้โดยไม่มีการฝึกเล่นเวท ในขณะ ที่คุณต้องออกกำลังกายแบบแอโรบิก
เพื่อให้หัวใจและปอดมีสุขภาพดี คุณก็ ต้องเล่นเวทเพื่อรักษาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระดูก และกลไก
การเผาผลาญ ของร่างกายเช่นกัน เรื่องน่าสนใจก็คือ การเล่นเวทนั้นง่ายและสะดวก คุณสามารถ พบเวทได้
ในทุก ๆ โรงยิม หรือไม่ก็ซื้อเวทมาเล่นเองที่บ้านได้
มือใหม่หัดเล่น
หากคุณไม่เคยยกเวทมาก่อนเลย ให้หาผู้ฝึกมาคอยให้คำแนะนำสักคน คุณจำเป็น ต้องเรียนรู้วิธีป้องกันการ
บาดเจ็บและเพื่อ ให้แน่ใจว่าคุณ ได้ประโยชน์สูงสุด
จากการออกกำลังกายครั้งนี้ ผู้ฝึกสอนจะสามารถช่วยให้คุณตัดสินได้ว่าคุณ ควรยกเวทน้ำหนัก เท่าไรและ
บ่อยเท่าไร ข้อควรรู้ง่าย ๆ คือ ถ้าคุณไม่สามารถ ยกเวทซ้ำกันได้ 8 ครั้งสบาย ๆ ละก็ แสดงว่าเวทนั้นหนัก
เกินไปสำหรับคุณ แต่ถ้าคุณยกเวทนั้นได้ 12 ครั้งสบาย ๆ ก็แสดงว่าเวทนั้นเบาเกินไป ให้ลอง จัดตารางการ
ยกเวทไว้ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยให้มีวันพักสลับ ระหว่างครั้งตรงกลาง 1 วัน เพื่อให้กล้ามเนื้อคุณได้พักฟื้น
และ ซ่อมแซมตัวเอง ถ้าคุณต้องการยกเวททุกวัน ให้ออกกำลังกายร่างกายส่วนบน คือ แขน ไหล่ และหลัง
ช่วงบน เป็นเวลา 1 วัน แล้วออกกำลังกายร่างกายส่วนล่าง คือ น่อง เอ็นร้อยหวาย และต้นขา ในวันถัดมาอีก
1 วัน
บริเวณเป้าหมาย
การเล่นเวทจะเพิ่มความแข็งแรง และทนทานให้กล้ามเนื้อ รวมทั้งเพิ่มมวลกล้ามเนื้อด้วย เนื่องจากกล้ามเนื้อ
เผาผลาญแคลอรี่ได้มากกว่าไขมัน การฝึกเล่นเวทเป็นประจำจึงช่วย ทำให้ระบบเผาผลาญของร่างกายทำงาน
ได้ดีขึ้น และเนื่องจากกล้ามเนื้อกินที่ น้อยกว่า ไขมัน คุณจึงดูผอมเพรียวกว่า แม้น้ำหนักตัวของคุณจะเท่าเดิมก็
ตาม ข้อดีอื่น ๆ คือ การเล่นเวททำให้คุณมีจิตใจสดชื่นเพราะได้ออกกำลังกาย มีการวิจัยพบว่าผู้ป่วย โรคซึม
เศร้า จะมีอาการดีขึ้นเมื่อได้ฝึกเวท และยังนอนหลับได้ดีขึ้นด้วย นอกจากนั้นยัง พบว่า คนที่เล่นเวทจะมีความ
ตื่นตัวมากขึ้น เนื่องจากร่างกายแข็งแรงมีพละกำลังมากขึ้น จึงสามารถทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้อย่างสนุกสนาน
ง่ายดายยิ่งขึ้น
การเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนออกกำลังกาย< /b>
ถ้าคุณไม่สามารถไปที่ห้องเวทได้ ให้ลองแถบต้าน (resistance bands) การออกกำลังกายแบบเกร็ง
กล้ามเนื้อสะโพ หรือการออกกำลังกายบนพื้นอย่างการยกขา หรือวิดพื้น เพื่อให้กล้ามเนื้ออยู่ในสภาพพร้อมและ
ได้ส่วน เพื่อเสริมโปรแกรมการเล่นเวท ให้เพิ่ม โปรแกรม การยืดเส้นยืดสายเข้าไปด้วย นอกจากนั้นก็ควร
ออกกำลังกาย แบบ แอโรบิก เพื่อกำจัดไขมัน และ รักษาสุขภาพหัวใจและการไหลเวียนโลหิต
การวอร์มอัพและคูลดาวน์
ก่อนที่คุณจะเล่นเวท ให้ออกกำลังกายใด ๆ ก็ได้ที่จะบริหารกล้ามเนื้อที่คุณจะใช้เล่นเวท เช่น ขี่จักรยานอยู่กับที่
เมื่ออบอุ่นกล้ามเนื้อขา หรือพายเรืออยู่กับที่เพื่อบริหารทั้งร่างกาย เป็นเวลา 5 นาที อีกทางเลือกหนึ่งคือให้ฝึก
เล่นเวทเบา ๆ สำหรับการออกกำลังกายที่ คุณเตรียมไว้ใช้ภายหลังซ้ำ ๆ สัก 2-3 ครั้ง การอบอุ้นร่างกาย
5-10 นาทีก็เพียงพอ สำหรับการเพิ่มอุณหภูมิกล้ามเนื้อ และทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่น ไม่บาดเจ็บง่าย ถ้าอัตรา
การเต้นของหัวใจคุณมากกว่า 100 ครั้งต่อนาทีหลังการเล่นเวทแล ะ คุณเตรียม ที่จะออกกำลังกายบนพื้นต่อ
เช่น วิดพื้น หรือยกขา คุณจำเป็นต้องทำให้ร่างกาย เย็นลงก่อนเพื่อป้องกันการเวียนหัวหรือเป็นลม คุณควรเดิน
ไปรอบ ๆ หรือถีบจักรยานช้า ๆ จนอัตราการเต้นของหัวใจลดลง แต่ถ้าอัตราการเต้นของหัวใจคุณเป็น ปกติ
แม้หลัง การยกเวท คุณก็ไม่จำเป็นต้องทำให้ร่างกายเย็นลงก่อน โดยคุณสามารถยืดเส้น ยืดสายต่อได้เลย
การยืดเส้นยืดสายจำเป็นในการรักษาความยืดหยุ่นของร่างกาย อย่าลืมยืดเส้นยืดสาย กล้ามเนื้อ หลังการ
อบอุ่นร่างกายเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ และยืดเส้นยืดสายอีกครั้ง หลังอกกกำลังกาย เสร็จ เพื่อเสริมความยืดหยุ่น
และลดอาหารปวดเมื่อย
เรื่องการเล่นเวทนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสียครับ ดังนั้นผมจึงขอพูดถึงการเล่นเวทเฉพาะในมุมมองของการเล่น
เพื่อลดน้ำหนักก็แล้วกันนะครับ
เรื่องการเล่นเวทนั้นที่จริงหากอยากจะเล่นก็เล่นกันได้ทั้งชายและหญิง แต่หากจะเล่นเพื่อลดน้ำหนักแล้ว
ผมเห็นว่าไม่เหมาะครับ ไม่ว่าหญิงหรือชาย เพราะการเล่นเวทนั้นวัตถุประสงค์คือเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
ไม่ได้ใช้เพื่อการลดน้ำหนักโดยตรง
ทีนี้ในเรื่องการเสริมสร้างกล้ามเนื้อนั้นปัจจุบันมีเรื่องค่านิยมหรือ เรื่องประกวดเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ดังนั้นการเล่นเวทในปัจจุบันจึงไม่ได้มีเพื่อเสริมสุขภาพ แต่เอาไว้เพื่อประกวด แข่งขัน หรือเพื่ออวดรูปโฉมกัน
การเล่นตามปกติของคนทั่วไปนั้นจะไม่ทำให้มีกล้ามเนื้อบึ้กขึ้นมาได้หรอกครับ ไม่ว่าหญิงหรือชาย ที่
เห็นกล้ามเป็นมัดๆนั้นเพราะการกินฮอร์โมนเข้าไปน่ะครับ เขาเรียกว่ายาเรียกเนื้อ ถ้าไม่กินแล้วล่ะก็ต้องเล่น
หนักมาก วันละหลายชั่วโมง แล้วต้องเล่นหลายปีจึงจะเห็นเนื้อเห็นหนังกับเขาได้ แต่ถึงใช้ฮอร์โมนก็ต้องกิน
เวลาเป็นปีอยู่ดี ดังนั้นที่คุณว่าเล่นเวทมา 3 ปีแล้วไม่มีกล้ามเนื้อบึ้กๆนั้นก็ถูกแล้วครับ ต่อให้ผู้ชายด้วย หากเล่น
ขนาดคุณภควดีก็ไม่มีกล้ามเนื้อบึ้กเช่นกัน คงเห็นผลแต่ว่ากล้ามเนื้อกระชับเท่านั้น อาจใหญ่ขึ้นนิดหน่อย แต่
ไม่ล่ำแบบที่เห็นประกวดกันแน่นอน
การใช้การเล่นเวทเพื่อลดน้ำหนักมีข้อไม่เหมาะหลายอย่างครับ
1. การเล่นเวทใช้พลังงานกล้ามเนื้อเยอะ แต่เป็นเฉพาะบางมัด ดังนั้นโดยรวมแล้วจะใช้พลังงานน้อย
ยกตัวอย่าง การวิ่งจ๊อกกิ้ง 3 กม. จะใช้พลังงานราว 250 กิโลแคลอรี่ (คร่าวๆนะครับ ไม่ได้เป๊ะตามนี้
ขึ้นกับหลายอย่าง) ตีเสียว่าโดยทั่วไปจะวิ่ง 3 กม. ใฃ้เวลาราว 30-60 นาที ขึ้นกับว่าวิ่งเร็ววิ่งช้าเพียงใด
แต่ถ้าเล่นเวท 1 ชั่วโมงจะใช้พลังงานไม่ถึง 250 กิโลแคลอรี่ครับ นี่ว่ากันตามลักษณะการเล่นของคนทั่วไป
นะครับ เพราะว่าเล่นๆหยุดๆ เนื่องจากเมื่อย อย่างคุณที่ว่ายกหนักที่สุด น้อยครั้งที่สุด ยิ่งใช้พลังงานไม่มาก
เพราะต้องพักบ่อยและพักนาน เมื่อเผาผลาญแคลอรีน้อยก็ลดน้ำหนักไม่ได้ผลเท่าไร
2. การเล่นเวทหากจะให้ได้ประโยชน์จะต้องออกกำลังกายทุกสัดส่วน คือทั้งแขน ขา ลำตัว แต่ละท่อนก็มี
กล้ามเนื้อที่ต้องเล่นหลายมัด แต่การเล่นของคนทั่วไปนั้นมักใช้เวลาหลังเลิกงาน อาทิตย์หนึ่งมีเวลาเล่นเวท
รวมได้สัก 3 ชั่วโมงก็เก่งแล้ว แต่เวลาแค่นี้เล่นอะไรได้ไม่กี่ท่าหรอกครับ บางคนจึงเน้นที่กล้าแขน ปีก หน้าอก
เพื่อให้ดูเท่ แต่ผลก็คือออกกำลังกล้ามเนื้อไม่ทั่วทุกส่วน ดังนั้นจึงเป็นอย่างที่ อ.วินัยว่า คือคนเล่นเวทใช่ไม่คน
แข็งแรงเสมอไป ดังนั้นเรื่องเงื่อนไขด้านเวลากับการเล่นเวทก็ไม่ค่อยจะเหมาะสมกับคนทั่วไป นัก การเล่นแต่
ดัมเบลจึงไม่ใช่การเล่นเวทที่ถูกต้องครับ เพราะได้แต่กล้ามเนื้อแขน แล้วกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆก็เสื่อมไปตามวัยอยู่ดี
3. ค่าใช้จ่าย หากจะเล่นเวทเพื่ออกกำลังครบทุกสัดส่วน ต้องใช้เครื่องเล่นหลายอย่าง ซึ่งอุปกรณ์พวกนี้แพง
มากครับ แล้วต้องมีที่กว้างขวางพอด้วย ก็เป็นค่าใช้จ่ายจำนวนมาก หากไปเล่นตามฟิตเนส ค่าสมาชิกปีละ
หมื่นหรือมากกว่านั้นครับ และอีกอย่างการเล่นเวทนั้นเบื่อง่ายครับ หากซื้ออุปกรณ์ไปเล่นที่บ้านแบบชุดประหยัด
(ที่ 1 เครื่องมีหลายสถานี) พวกนี้เล่นได้ไม่นานก็เบื่อ แล้วก็จะกลายเป็นราวตากผ้าไปในที่สุด
4. การบาดเจ็บ หากเล่นหักโหมหรือเล่นไม่เป็น โอกาสที่จะบาดเจ็บจากกล้ามเนื้ออักเสบหรือฉีกขาดมีสูงครับ
ยกตัวอย่างพวกที่ยกน้ำหนักมากๆ พอยกแล้วหมดแรงทิ้งโครมลงมา แค่นี้ก็มีโอกาสบาดเจ็บจากกล้ามเนื้ออักเสบ
แล้วครับ นี่ยังไม่รวมลูกเหล็กทับเท้าซึ่งเคยเกิดขึ้นจริง ส่วนเรื่องที่ว่าเล่นเวทแล้วช่วยเรื่องไขข้อนั้นผมขอปฏิเสธ
ว่าไม่จริงครับ คนเล่นเวทจะมีปัญหาเรื่องข้อเสื่อม เพราะยกน้ำหนักมาก ทำให้ข้อรับน้ำหนักมาก
การออกกำลังเพื่อบำรุงรักษาข้อต่อต่างๆนั้นต้องใช้การเคลื่อนไหวที่นุ่มนวล ครับ ไม่ใช่เล่นหักโหมแบบเวท
ยกตัวอย่างเช่นมวยไท้เก๊กนั้นเหมาะมากสำหรับบรรเทาอาการไขข้ออักเสบ อย่าเห็นว่ารำช้าๆไม่เข้าท่า
นั่นแหละครับ หมอฝรั่งเอาไปใส่ในคอร์สกายภาพบำบัดของผู้โรคไขข้ออักเสบ
สรุปแล้วการเล่นเวทไม่เหมาะสำหรับการลดน้ำหนักครับ อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายสูง หากจะเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อเสื่อมเร็วแล้วผมเห็นว่าเลือกเล่นวิธีผสมดีกว่า คือ วิ่ง แอโรบิก ว่ายน้ำ แล้วเสริมด้วยทำ
งานบ้าน (ซักผ้า ถูกบ้าน) ทำสวน เดินขึ้นไปบันแทนขึ้นลิฟท์ ฯลฯ จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติสำหรับคนทั่วไป
มากกว่าครับ และได้ทุกสัดส่วน แต่ว่ายน้ำผมยังว่าไม่ค่อย practical เท่าไรนักเลยเพราะหาสระยาก
แต่ก็ขอแนะนำไว้ด้วยเพราะเป็นการออกกำลังกายที่ดีมาก ใช้แรงงาน แต่ไม่ทำร้ายข้อต่อต่างๆ (แต่ต้องระวัง
เรื่องสระสกปรกด้วย อันนี้ก็เป็นข้อเสีย)
ถ้าถามว่าอะไรเหมาะสำหรับการลดน้ำหนัก ผมยังว่าเต้นแอโรบิคเหมาะที่สุด เพราะประหยัด หาเวลาและ
สถานที่เล่นได้ง่าย ไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์มากมาย และหากต้องการใช้แคลอรีมากๆก็เต้นให้มันดุเดือดก็ได้ รองลง
มาคือว่ายน้ำ แต่ก็หาสระยากอย่างที่ว่า แม้ว่าจะดีกว่าแต่ผมให้เป็นอันดับ 2 เพราะคำนึงถึงความเป็นไปได้
ในการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
รองลงมาอีกคือการวิ่ง วิ่งนี่หาที่วิ่งได้จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก เลยขอจัดเป็นอันดับ 3 ของความเหมาะสม
เพราะการวิ่งนั้นควรวิ่งบนลู่หรือถนนที่ปรับสภาพสำหรับการวิ่ง ไม่ควรเป็นพื้นขรุขระหรือวิ่งตามฟุตบาท
เพราะจะเป็นอันตรายต่อข้อเท้า อีกอย่าง การวิ่งริมถนนทำให้สูดไอเสียรถเข้าไปมาก เป็นอันตรายต่อร่างกายครับ
นอกจากนี้ยังต้องเลือกร้องเท้าวิ่งที่เหมาะสมด้วย ดังนั้นจะเห็นว่าหากจะวิ่งในสถานที่ที่เหมาะจริงๆนั้นไม่ง่ายเลย
การวิ่งนั้นไม่เหมาะกับคนที่น้ำหนักตัวมาก เพราะจะทำให้ข้อเสื่อมเร็ว คนที่น้ำหนักมากๆควรว่ายน้ำดีกว่าครับ
การเล่นอะไรอย่างเดียวก็มักเบื่อง่าย ทางที่ดีควรเล่นสลับไปมาหลายๆอย่าง ชวนเพื่อนเล่นด้วยเป็นกลุ่มแบบ
เต้นแอโรบิกยิ่งดี ความเพลิดเพลินจะทำให้ไม่เบื่อ จากประสสบการณ์ของผม ความเบื่อกับความขี้เกียจนี่แหละ
ครับเป็นศัตรูที่ร้ายกาจที่สุด ทำให้ออกกำลังกายไม่ได้ตลอดรอดฝั่ง น้ำหนักก็เลยไม่ลดสักที
เวตนั้นมีอยู่ 3 ลักษณะที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงเลย
1. การยกน้ำหนัก (weight lifting) คือการแข่งขันยกน้ำหนักที่เราเห็นเวลาแข่งโอลิมปิค เอเชี่ยนเกมส์ ฯลฯ
การยกแบบนี้เน้นยกให้ได้หนักที่สุดให้มากกว่าคนอื่น เพราะฉะนั้นในการฝึก ก็จะฝึกเฉพาะกล้ามเนื้อที่ต้อง
ใช้เวลายก อาจละเลยกล้ามเนื้อบางส่วนในร่างกายไป
2. การเพาะกาย (body building) คือการเพาะกล้ามเนื้อ แม้ว่าเริ่มต้นจะเพื่อความสวยงามของร่างกาย
(ตามทัศนะของผู้เพาะกาย ซึ่งอาจแตกต่างจากคนภายนอก) แต่ก็มีการแข่งขันเข้ามาเป็นส่วนประกอบมาก
จนมีการใช้ฮอร์โมน สเตียรอยด์ ฯลฯ เพื่อการเร่งสร้างกล้ามเนื้อ การทำเวตแบบนี้ต้องใช้เวลาอยู่ในห้องเวต
ทีละหลายๆชั่วโมง
3. strength training หรือ weight training ไม่รู้จะเรียกเป็นภาษาไทยว่าอะไร เป็นการฝึกฝนกล้ามเนื้อ
ให้รู้จักต้านทานกับแรงภายนอก ไม่ว่าแรงภายนอกนั้นจะเป็นดัมเบล บาร์เบล เครื่องเวต ไดนาแบนด์
แม้กระทั่งน้ำหนักตัวของเราเอง (เช่น การวิดพื้น) การฝึกฝนกล้ามเนื้อแบบนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำไปใช้กับ
การเล่นกีฬาหรือกิจกรรมอย่างอื่นๆ เช่น ฟุตบอล บาสฯ ไต่เขา ฯลฯ หรือเพื่อประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
การยกของหนัก หิ้วถุงข้าวสาร อุ้มลูก ฯลฯ แต่เนื่องจากมีความเข้าใจผิดคิดว่าการฝึกฝนแบบนี้เป็นแบบสอง
อย่างแรก บางทีเลยเลี่ยงไปเรียกกันว่า resistance training แทนในการฝึกฝนแบบ resistance
training มันไม่สำคัญเลยค่ะว่าคุณจะใช้ดัมเบลหนักเท่าไร 1 ปอนด์ หรือ 40 ปอนด์ เพียงแต่ฝึกให้
กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงและความอดทน รวมทั้งสร้างกล้ามเนื้อทดแทนส่วนที่ลีบลงไปตามวัย แต่อย่างที่
ว่า ไม่มีทางที่จะสร้างกล้ามเนื้อใหญ่แบบนักเพาะกาย และนั่นไม่ใช่จุดประสงค์ของการบริหารกล้ามเนื้อ
แบบที่สามนี้ด้วย
ที่มา http://www.thailabonline.com/
เพื่อให้หัวใจและปอดมีสุขภาพดี คุณก็ ต้องเล่นเวทเพื่อรักษาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระดูก และกลไก
การเผาผลาญ ของร่างกายเช่นกัน เรื่องน่าสนใจก็คือ การเล่นเวทนั้นง่ายและสะดวก คุณสามารถ พบเวทได้
ในทุก ๆ โรงยิม หรือไม่ก็ซื้อเวทมาเล่นเองที่บ้านได้
มือใหม่หัดเล่น
หากคุณไม่เคยยกเวทมาก่อนเลย ให้หาผู้ฝึกมาคอยให้คำแนะนำสักคน คุณจำเป็น ต้องเรียนรู้วิธีป้องกันการ
บาดเจ็บและเพื่อ ให้แน่ใจว่าคุณ ได้ประโยชน์สูงสุด
จากการออกกำลังกายครั้งนี้ ผู้ฝึกสอนจะสามารถช่วยให้คุณตัดสินได้ว่าคุณ ควรยกเวทน้ำหนัก เท่าไรและ
บ่อยเท่าไร ข้อควรรู้ง่าย ๆ คือ ถ้าคุณไม่สามารถ ยกเวทซ้ำกันได้ 8 ครั้งสบาย ๆ ละก็ แสดงว่าเวทนั้นหนัก
เกินไปสำหรับคุณ แต่ถ้าคุณยกเวทนั้นได้ 12 ครั้งสบาย ๆ ก็แสดงว่าเวทนั้นเบาเกินไป ให้ลอง จัดตารางการ
ยกเวทไว้ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยให้มีวันพักสลับ ระหว่างครั้งตรงกลาง 1 วัน เพื่อให้กล้ามเนื้อคุณได้พักฟื้น
และ ซ่อมแซมตัวเอง ถ้าคุณต้องการยกเวททุกวัน ให้ออกกำลังกายร่างกายส่วนบน คือ แขน ไหล่ และหลัง
ช่วงบน เป็นเวลา 1 วัน แล้วออกกำลังกายร่างกายส่วนล่าง คือ น่อง เอ็นร้อยหวาย และต้นขา ในวันถัดมาอีก
1 วัน
บริเวณเป้าหมาย
การเล่นเวทจะเพิ่มความแข็งแรง และทนทานให้กล้ามเนื้อ รวมทั้งเพิ่มมวลกล้ามเนื้อด้วย เนื่องจากกล้ามเนื้อ
เผาผลาญแคลอรี่ได้มากกว่าไขมัน การฝึกเล่นเวทเป็นประจำจึงช่วย ทำให้ระบบเผาผลาญของร่างกายทำงาน
ได้ดีขึ้น และเนื่องจากกล้ามเนื้อกินที่ น้อยกว่า ไขมัน คุณจึงดูผอมเพรียวกว่า แม้น้ำหนักตัวของคุณจะเท่าเดิมก็
ตาม ข้อดีอื่น ๆ คือ การเล่นเวททำให้คุณมีจิตใจสดชื่นเพราะได้ออกกำลังกาย มีการวิจัยพบว่าผู้ป่วย โรคซึม
เศร้า จะมีอาการดีขึ้นเมื่อได้ฝึกเวท และยังนอนหลับได้ดีขึ้นด้วย นอกจากนั้นยัง พบว่า คนที่เล่นเวทจะมีความ
ตื่นตัวมากขึ้น เนื่องจากร่างกายแข็งแรงมีพละกำลังมากขึ้น จึงสามารถทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้อย่างสนุกสนาน
ง่ายดายยิ่งขึ้น
การเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนออกกำลังกาย< /b>
ถ้าคุณไม่สามารถไปที่ห้องเวทได้ ให้ลองแถบต้าน (resistance bands) การออกกำลังกายแบบเกร็ง
กล้ามเนื้อสะโพ หรือการออกกำลังกายบนพื้นอย่างการยกขา หรือวิดพื้น เพื่อให้กล้ามเนื้ออยู่ในสภาพพร้อมและ
ได้ส่วน เพื่อเสริมโปรแกรมการเล่นเวท ให้เพิ่ม โปรแกรม การยืดเส้นยืดสายเข้าไปด้วย นอกจากนั้นก็ควร
ออกกำลังกาย แบบ แอโรบิก เพื่อกำจัดไขมัน และ รักษาสุขภาพหัวใจและการไหลเวียนโลหิต
การวอร์มอัพและคูลดาวน์
ก่อนที่คุณจะเล่นเวท ให้ออกกำลังกายใด ๆ ก็ได้ที่จะบริหารกล้ามเนื้อที่คุณจะใช้เล่นเวท เช่น ขี่จักรยานอยู่กับที่
เมื่ออบอุ่นกล้ามเนื้อขา หรือพายเรืออยู่กับที่เพื่อบริหารทั้งร่างกาย เป็นเวลา 5 นาที อีกทางเลือกหนึ่งคือให้ฝึก
เล่นเวทเบา ๆ สำหรับการออกกำลังกายที่ คุณเตรียมไว้ใช้ภายหลังซ้ำ ๆ สัก 2-3 ครั้ง การอบอุ้นร่างกาย
5-10 นาทีก็เพียงพอ สำหรับการเพิ่มอุณหภูมิกล้ามเนื้อ และทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่น ไม่บาดเจ็บง่าย ถ้าอัตรา
การเต้นของหัวใจคุณมากกว่า 100 ครั้งต่อนาทีหลังการเล่นเวทแล ะ คุณเตรียม ที่จะออกกำลังกายบนพื้นต่อ
เช่น วิดพื้น หรือยกขา คุณจำเป็นต้องทำให้ร่างกาย เย็นลงก่อนเพื่อป้องกันการเวียนหัวหรือเป็นลม คุณควรเดิน
ไปรอบ ๆ หรือถีบจักรยานช้า ๆ จนอัตราการเต้นของหัวใจลดลง แต่ถ้าอัตราการเต้นของหัวใจคุณเป็น ปกติ
แม้หลัง การยกเวท คุณก็ไม่จำเป็นต้องทำให้ร่างกายเย็นลงก่อน โดยคุณสามารถยืดเส้น ยืดสายต่อได้เลย
การยืดเส้นยืดสายจำเป็นในการรักษาความยืดหยุ่นของร่างกาย อย่าลืมยืดเส้นยืดสาย กล้ามเนื้อ หลังการ
อบอุ่นร่างกายเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ และยืดเส้นยืดสายอีกครั้ง หลังอกกกำลังกาย เสร็จ เพื่อเสริมความยืดหยุ่น
และลดอาหารปวดเมื่อย
เรื่องการเล่นเวทนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสียครับ ดังนั้นผมจึงขอพูดถึงการเล่นเวทเฉพาะในมุมมองของการเล่น
เพื่อลดน้ำหนักก็แล้วกันนะครับ
เรื่องการเล่นเวทนั้นที่จริงหากอยากจะเล่นก็เล่นกันได้ทั้งชายและหญิง แต่หากจะเล่นเพื่อลดน้ำหนักแล้ว
ผมเห็นว่าไม่เหมาะครับ ไม่ว่าหญิงหรือชาย เพราะการเล่นเวทนั้นวัตถุประสงค์คือเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
ไม่ได้ใช้เพื่อการลดน้ำหนักโดยตรง
ทีนี้ในเรื่องการเสริมสร้างกล้ามเนื้อนั้นปัจจุบันมีเรื่องค่านิยมหรือ เรื่องประกวดเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ดังนั้นการเล่นเวทในปัจจุบันจึงไม่ได้มีเพื่อเสริมสุขภาพ แต่เอาไว้เพื่อประกวด แข่งขัน หรือเพื่ออวดรูปโฉมกัน
การเล่นตามปกติของคนทั่วไปนั้นจะไม่ทำให้มีกล้ามเนื้อบึ้กขึ้นมาได้หรอกครับ ไม่ว่าหญิงหรือชาย ที่
เห็นกล้ามเป็นมัดๆนั้นเพราะการกินฮอร์โมนเข้าไปน่ะครับ เขาเรียกว่ายาเรียกเนื้อ ถ้าไม่กินแล้วล่ะก็ต้องเล่น
หนักมาก วันละหลายชั่วโมง แล้วต้องเล่นหลายปีจึงจะเห็นเนื้อเห็นหนังกับเขาได้ แต่ถึงใช้ฮอร์โมนก็ต้องกิน
เวลาเป็นปีอยู่ดี ดังนั้นที่คุณว่าเล่นเวทมา 3 ปีแล้วไม่มีกล้ามเนื้อบึ้กๆนั้นก็ถูกแล้วครับ ต่อให้ผู้ชายด้วย หากเล่น
ขนาดคุณภควดีก็ไม่มีกล้ามเนื้อบึ้กเช่นกัน คงเห็นผลแต่ว่ากล้ามเนื้อกระชับเท่านั้น อาจใหญ่ขึ้นนิดหน่อย แต่
ไม่ล่ำแบบที่เห็นประกวดกันแน่นอน
การใช้การเล่นเวทเพื่อลดน้ำหนักมีข้อไม่เหมาะหลายอย่างครับ
1. การเล่นเวทใช้พลังงานกล้ามเนื้อเยอะ แต่เป็นเฉพาะบางมัด ดังนั้นโดยรวมแล้วจะใช้พลังงานน้อย
ยกตัวอย่าง การวิ่งจ๊อกกิ้ง 3 กม. จะใช้พลังงานราว 250 กิโลแคลอรี่ (คร่าวๆนะครับ ไม่ได้เป๊ะตามนี้
ขึ้นกับหลายอย่าง) ตีเสียว่าโดยทั่วไปจะวิ่ง 3 กม. ใฃ้เวลาราว 30-60 นาที ขึ้นกับว่าวิ่งเร็ววิ่งช้าเพียงใด
แต่ถ้าเล่นเวท 1 ชั่วโมงจะใช้พลังงานไม่ถึง 250 กิโลแคลอรี่ครับ นี่ว่ากันตามลักษณะการเล่นของคนทั่วไป
นะครับ เพราะว่าเล่นๆหยุดๆ เนื่องจากเมื่อย อย่างคุณที่ว่ายกหนักที่สุด น้อยครั้งที่สุด ยิ่งใช้พลังงานไม่มาก
เพราะต้องพักบ่อยและพักนาน เมื่อเผาผลาญแคลอรีน้อยก็ลดน้ำหนักไม่ได้ผลเท่าไร
2. การเล่นเวทหากจะให้ได้ประโยชน์จะต้องออกกำลังกายทุกสัดส่วน คือทั้งแขน ขา ลำตัว แต่ละท่อนก็มี
กล้ามเนื้อที่ต้องเล่นหลายมัด แต่การเล่นของคนทั่วไปนั้นมักใช้เวลาหลังเลิกงาน อาทิตย์หนึ่งมีเวลาเล่นเวท
รวมได้สัก 3 ชั่วโมงก็เก่งแล้ว แต่เวลาแค่นี้เล่นอะไรได้ไม่กี่ท่าหรอกครับ บางคนจึงเน้นที่กล้าแขน ปีก หน้าอก
เพื่อให้ดูเท่ แต่ผลก็คือออกกำลังกล้ามเนื้อไม่ทั่วทุกส่วน ดังนั้นจึงเป็นอย่างที่ อ.วินัยว่า คือคนเล่นเวทใช่ไม่คน
แข็งแรงเสมอไป ดังนั้นเรื่องเงื่อนไขด้านเวลากับการเล่นเวทก็ไม่ค่อยจะเหมาะสมกับคนทั่วไป นัก การเล่นแต่
ดัมเบลจึงไม่ใช่การเล่นเวทที่ถูกต้องครับ เพราะได้แต่กล้ามเนื้อแขน แล้วกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆก็เสื่อมไปตามวัยอยู่ดี
3. ค่าใช้จ่าย หากจะเล่นเวทเพื่ออกกำลังครบทุกสัดส่วน ต้องใช้เครื่องเล่นหลายอย่าง ซึ่งอุปกรณ์พวกนี้แพง
มากครับ แล้วต้องมีที่กว้างขวางพอด้วย ก็เป็นค่าใช้จ่ายจำนวนมาก หากไปเล่นตามฟิตเนส ค่าสมาชิกปีละ
หมื่นหรือมากกว่านั้นครับ และอีกอย่างการเล่นเวทนั้นเบื่อง่ายครับ หากซื้ออุปกรณ์ไปเล่นที่บ้านแบบชุดประหยัด
(ที่ 1 เครื่องมีหลายสถานี) พวกนี้เล่นได้ไม่นานก็เบื่อ แล้วก็จะกลายเป็นราวตากผ้าไปในที่สุด
4. การบาดเจ็บ หากเล่นหักโหมหรือเล่นไม่เป็น โอกาสที่จะบาดเจ็บจากกล้ามเนื้ออักเสบหรือฉีกขาดมีสูงครับ
ยกตัวอย่างพวกที่ยกน้ำหนักมากๆ พอยกแล้วหมดแรงทิ้งโครมลงมา แค่นี้ก็มีโอกาสบาดเจ็บจากกล้ามเนื้ออักเสบ
แล้วครับ นี่ยังไม่รวมลูกเหล็กทับเท้าซึ่งเคยเกิดขึ้นจริง ส่วนเรื่องที่ว่าเล่นเวทแล้วช่วยเรื่องไขข้อนั้นผมขอปฏิเสธ
ว่าไม่จริงครับ คนเล่นเวทจะมีปัญหาเรื่องข้อเสื่อม เพราะยกน้ำหนักมาก ทำให้ข้อรับน้ำหนักมาก
การออกกำลังเพื่อบำรุงรักษาข้อต่อต่างๆนั้นต้องใช้การเคลื่อนไหวที่นุ่มนวล ครับ ไม่ใช่เล่นหักโหมแบบเวท
ยกตัวอย่างเช่นมวยไท้เก๊กนั้นเหมาะมากสำหรับบรรเทาอาการไขข้ออักเสบ อย่าเห็นว่ารำช้าๆไม่เข้าท่า
นั่นแหละครับ หมอฝรั่งเอาไปใส่ในคอร์สกายภาพบำบัดของผู้โรคไขข้ออักเสบ
สรุปแล้วการเล่นเวทไม่เหมาะสำหรับการลดน้ำหนักครับ อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายสูง หากจะเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อเสื่อมเร็วแล้วผมเห็นว่าเลือกเล่นวิธีผสมดีกว่า คือ วิ่ง แอโรบิก ว่ายน้ำ แล้วเสริมด้วยทำ
งานบ้าน (ซักผ้า ถูกบ้าน) ทำสวน เดินขึ้นไปบันแทนขึ้นลิฟท์ ฯลฯ จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติสำหรับคนทั่วไป
มากกว่าครับ และได้ทุกสัดส่วน แต่ว่ายน้ำผมยังว่าไม่ค่อย practical เท่าไรนักเลยเพราะหาสระยาก
แต่ก็ขอแนะนำไว้ด้วยเพราะเป็นการออกกำลังกายที่ดีมาก ใช้แรงงาน แต่ไม่ทำร้ายข้อต่อต่างๆ (แต่ต้องระวัง
เรื่องสระสกปรกด้วย อันนี้ก็เป็นข้อเสีย)
ถ้าถามว่าอะไรเหมาะสำหรับการลดน้ำหนัก ผมยังว่าเต้นแอโรบิคเหมาะที่สุด เพราะประหยัด หาเวลาและ
สถานที่เล่นได้ง่าย ไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์มากมาย และหากต้องการใช้แคลอรีมากๆก็เต้นให้มันดุเดือดก็ได้ รองลง
มาคือว่ายน้ำ แต่ก็หาสระยากอย่างที่ว่า แม้ว่าจะดีกว่าแต่ผมให้เป็นอันดับ 2 เพราะคำนึงถึงความเป็นไปได้
ในการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
รองลงมาอีกคือการวิ่ง วิ่งนี่หาที่วิ่งได้จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก เลยขอจัดเป็นอันดับ 3 ของความเหมาะสม
เพราะการวิ่งนั้นควรวิ่งบนลู่หรือถนนที่ปรับสภาพสำหรับการวิ่ง ไม่ควรเป็นพื้นขรุขระหรือวิ่งตามฟุตบาท
เพราะจะเป็นอันตรายต่อข้อเท้า อีกอย่าง การวิ่งริมถนนทำให้สูดไอเสียรถเข้าไปมาก เป็นอันตรายต่อร่างกายครับ
นอกจากนี้ยังต้องเลือกร้องเท้าวิ่งที่เหมาะสมด้วย ดังนั้นจะเห็นว่าหากจะวิ่งในสถานที่ที่เหมาะจริงๆนั้นไม่ง่ายเลย
การวิ่งนั้นไม่เหมาะกับคนที่น้ำหนักตัวมาก เพราะจะทำให้ข้อเสื่อมเร็ว คนที่น้ำหนักมากๆควรว่ายน้ำดีกว่าครับ
การเล่นอะไรอย่างเดียวก็มักเบื่อง่าย ทางที่ดีควรเล่นสลับไปมาหลายๆอย่าง ชวนเพื่อนเล่นด้วยเป็นกลุ่มแบบ
เต้นแอโรบิกยิ่งดี ความเพลิดเพลินจะทำให้ไม่เบื่อ จากประสสบการณ์ของผม ความเบื่อกับความขี้เกียจนี่แหละ
ครับเป็นศัตรูที่ร้ายกาจที่สุด ทำให้ออกกำลังกายไม่ได้ตลอดรอดฝั่ง น้ำหนักก็เลยไม่ลดสักที
เวตนั้นมีอยู่ 3 ลักษณะที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงเลย
1. การยกน้ำหนัก (weight lifting) คือการแข่งขันยกน้ำหนักที่เราเห็นเวลาแข่งโอลิมปิค เอเชี่ยนเกมส์ ฯลฯ
การยกแบบนี้เน้นยกให้ได้หนักที่สุดให้มากกว่าคนอื่น เพราะฉะนั้นในการฝึก ก็จะฝึกเฉพาะกล้ามเนื้อที่ต้อง
ใช้เวลายก อาจละเลยกล้ามเนื้อบางส่วนในร่างกายไป
2. การเพาะกาย (body building) คือการเพาะกล้ามเนื้อ แม้ว่าเริ่มต้นจะเพื่อความสวยงามของร่างกาย
(ตามทัศนะของผู้เพาะกาย ซึ่งอาจแตกต่างจากคนภายนอก) แต่ก็มีการแข่งขันเข้ามาเป็นส่วนประกอบมาก
จนมีการใช้ฮอร์โมน สเตียรอยด์ ฯลฯ เพื่อการเร่งสร้างกล้ามเนื้อ การทำเวตแบบนี้ต้องใช้เวลาอยู่ในห้องเวต
ทีละหลายๆชั่วโมง
3. strength training หรือ weight training ไม่รู้จะเรียกเป็นภาษาไทยว่าอะไร เป็นการฝึกฝนกล้ามเนื้อ
ให้รู้จักต้านทานกับแรงภายนอก ไม่ว่าแรงภายนอกนั้นจะเป็นดัมเบล บาร์เบล เครื่องเวต ไดนาแบนด์
แม้กระทั่งน้ำหนักตัวของเราเอง (เช่น การวิดพื้น) การฝึกฝนกล้ามเนื้อแบบนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำไปใช้กับ
การเล่นกีฬาหรือกิจกรรมอย่างอื่นๆ เช่น ฟุตบอล บาสฯ ไต่เขา ฯลฯ หรือเพื่อประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
การยกของหนัก หิ้วถุงข้าวสาร อุ้มลูก ฯลฯ แต่เนื่องจากมีความเข้าใจผิดคิดว่าการฝึกฝนแบบนี้เป็นแบบสอง
อย่างแรก บางทีเลยเลี่ยงไปเรียกกันว่า resistance training แทนในการฝึกฝนแบบ resistance
training มันไม่สำคัญเลยค่ะว่าคุณจะใช้ดัมเบลหนักเท่าไร 1 ปอนด์ หรือ 40 ปอนด์ เพียงแต่ฝึกให้
กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงและความอดทน รวมทั้งสร้างกล้ามเนื้อทดแทนส่วนที่ลีบลงไปตามวัย แต่อย่างที่
ว่า ไม่มีทางที่จะสร้างกล้ามเนื้อใหญ่แบบนักเพาะกาย และนั่นไม่ใช่จุดประสงค์ของการบริหารกล้ามเนื้อ
แบบที่สามนี้ด้วย
ที่มา http://www.thailabonline.com/
วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
"ผักกูด" สมุนไพรชั้นดี สารพัดสรรพคุณต้าน"โรค"
"ผักกูด" เป็นชื่อของผักชนิดหนึ่งที่อยู่ในตระกูลเฟิร์นที่อยู่ในวงศ์ "Athyriaceae" ซึ่ง มนุษย์สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้ และยังเป็นผักพื้นบ้านที่มีประโยชน์อีกด้วย โดยมีสรรพคุณแก้ไข้ตัวร้อน พิษอักเสบ บำรุงสายตา บำรุงโลหิต ความดันโลหิตสูง
ผักกูดเป็นพืชตระกูลเฟิร์นกินได้ชนิดหนึ่ง มีเหง้าสูงได้ 1 เมตร ใบเป็นแผงรูปขนนก ตอนอายุยังน้อยจะแตกเป็นรูปขนนกชั้นเดียวคู่ขนานกันไปตั้งแต่โคนใบถึงปลายใบ เมื่ออายุมากขึ้นใบจะเปลี่ยนเป็นรูปขนนก 2 ชั้น ยอดอ่อนและปลายยอดม้วนงอแบบก้นหอย เติบโตในฤดูฝนในที่โล่งแจ้งมีน้ำชื้นแฉะ จะพบมากกว่าที่ในป่าทึบ
ผักกูดมี 3 ชนิด แตกต่างกันเพียงสีของต้นและลักษณะใบเล็กน้อย รับประทานเป็นอาหารได้ทั้ง 3 ชนิด
ชาวบ้านรุ่นเก่าๆ รู้จักผักกูดมาตั้งแต่โบราณแล้ว ส่วนคนรุ่นใหม่น้อยนักจะรู้จักและรู้จักรับประทาน มียอดอ่อนขายตามตลาดสดทั่วไป
ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าผักกูดเป็นผักบอกสภาวะแวดล้อมให้คนรู้ว่า บริเวณไหนอากาศไม่ดี ดินไม่บริสุทธิ์ มีสารเคมีเจือปนอยู่ ผักกูดจะไม่ยอมขึ้นหรือแตกต้นในบริเวณนั้นเด็ดขาด ผักกูดจึงถือได้ว่าเป็นอาหารพิเศษอย่างหนึ่งจากธรรมชาติมีสารเบต้าแคโรทีน และธาตุเหล็กในตัวสูง เมื่อรับประทานแล้วจึงได้ประโยชน์
ใบ ของผักกูดใช้ต้มน้ำดื่มหรือกินสด ช่วยแก้ไข้ตัวร้อน แก้พิษอักเสบ บำรุงสายตา บำรุงโลหิต แก้โลหิตจาง ป้องกันเลือดออกตามไรฟันและขับปัสสาวะเด็ดขาดมาก ลดความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลในเม็ดเลือด ส่วนใหญ่จะนำใบอ่อน ช่ออ่อน ทำแกงกับปลาเนื้ออ่อนน้ำจืด เช่นปลาช่อนหรือลวกจิ้มน้ำพริกชนิดต่างๆ ยำผักกูด ผักกูดผัดน้ำมันหอย แกงกะทิกับปลาย่าง ลวกกะทิ แต่ไม่นิยมกินสดๆ กันเพราะจะมียางเป็นเมือกอยู่ที่ก้าน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)