ช่วงนี้ถ้า เข้าไปอ่านกระทู้ในโต๊ะ Gadget ของหมวด Technical Exchange จะมีคำถามหนึ่งที่จะเห็นประจำทุกวันนอกจากที่ว่าจะซื้อ MP3 รุ่นไหนดีแล้วก็คือจะมีคำถามว่า "burn-in หูฟังคืออะไร" หรือ "เบิร์นหูฟังต้องทำอย่างไรบ้างครับ" จนตอนนี้คำถามดังกล่าวเป็นคำถามยอดฮิตเลยก็ว่าได้ครับตอนนี้ ซึ่งถ้าพวกที่เคยศึกษาด้านเครื่องเสียงมาก่อนจะพอรู้ว่า "burn-in" คืออะไรบ้างแล้ว เพราะนอกจากจะเขาจะ "burn-in" หูฟังแล้ว ชุดลำโพงก็ต้องทำการ "burn-in" ด้วยเช่นกันครับ พอดีไปค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากเวบต่างประเทศมาก็จะรวบรวมๆนำมาแปลไว้ในที่นี้ เพื่อที่จะได้พอไขความสงสัยไปบ้างครับ
คลิกเพื่อดูภาพขนาดจริง
AKG
"burn-in" คืออะไร?
การ "burn-in" หรือที่มักเรียกติดปากคนไทยว่าการเบิร์นนั้นจริงๆถ้าจะเทียบก็คล้ายๆการ run-in รถยนต์ใหม่ให้เครื่องเข้าที่ครับ แต่หลายๆท่านจะเข้าใจว่าหูฟังนั้นเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า จะไปเทียบกับรถยนต์ไม่ได้ แต่จริงๆแล้วหูฟังจะมีพวกแผ่นไดอะแฟรมที่เคลื่อนไหวให้เกิดเสียงครับ การ "burn-in" หูฟัง หรือลำโพงนั้นก็คือการทำให้แผ่นไดอะแฟรมเหล่านี้เข้าที่เข้าทาง มีการให้ตัวตามที่ควรจะเป็นไม่ได้ตึงแน่นเหมือนกับตอนที่เขาประกอบมาจากโรง งานครับ ซึ่งเมื่อ "burn-in" เข้าที่เข้าทางแล้วคุณภาพเสียงที่ออกมาจากหูฟังก็จะไม่เปลี่ยนไปจากนั้นแล้ว ครับ เพราะไดอะแฟรมจะเข้าที่แล้ว
ถ้าจะ "burn-in" หูฟังหรือลำโพงควรจะทำอย่างไร?
การ "burn-in" นั้นก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรครับ แค่ต่อหูฟัง หรือลำโพงเข้ากับแหล่งกำเนิดเสียง จะเป็นวิทยุ AM/FM หรือ CD หรือ MP3 ก็ได้ครับ แล้วก็เปิดให้มีเสียงออกมาจากหูฟังไปเรื่อยๆต่อเนื่อง เท่าที่อ่านดูจากหลายๆแห่งก็แนะนำให้ "burn-in" เป็นระยะเวลาสัก 100ชั่วโมงขึ้นไป หูฟัง หรือชุดลำโพงนั้นก็จะเข้าที่เข้าทางแสดงเสียงออกมาดูดีมีราคาขึ้นกว่าตอนที่ ซื้อมาครับ แต่ถ้าไม่อยากจะเปิดเพลงทิ้งให้หูฟัง "burn-in" ต่อเนื่องก็จะสามารถใช้ฟังเพลงตามปรกติไปเรื่อยๆได้ครับ ก็ถือว่า "burn-in" ได้เช่นกัน แต่แบบนี้กว่าจะ "burn-in" ได้ที่ก็ต้องใช้ระยะเวลานานกว่าสักระยะหนึ่ง ดังนั้นหลายๆคนจึงเลือกที่จะ "burn-in" หูฟังทิ้งไว้ต่อเนื่องก่อนที่จะนำไปใช้งานจริงครับ นอกจากจะ "burn-in" ด้วยเพลง หรือสัญญาณเสียงจากวิทยุแล้ว บางท่านก็จะมีโปรแกรมสำหรับ generate คลื่นเสียงออกมาสำหรับ "burn-in" หูฟังโดยเฉพาะครับ ลองหาโหลดมาใช้ได้ ซึ่งผลที่ได้รับในท้ายสุดก็คือไดอะแฟรมจะถูกปรับสภาพให้เข้าที่เช่นกันครับ ก็เลือกวิธีตามสะดวกได้เลยครับ ส่วนระหว่างการ "burn-in" นั้นจะเอาหูฟังมาสวมฟังเพลงไปเลย หรือจะเอาไปยัดใต้โต๊ะก็ได้เช่นกันครับ
จำเป็นที่จะต้อง "burn-in" หูฟังให้เสร็จก่อนที่จะนำไปใช้จริงหรือไม่?
ไม่ จำเป็นครับอย่างที่บอกไว้แล้วคือแล้วแต่สะดวก เพราะถึงแม้ว่าจะแกะกล่องออกมาแล้วใช้งานเลย ใช้ไปสักระยะนึงหูฟังก็จะเข้าที่เข้าทางเช่นกัน ก็เป็นการ "burn-in" ชนิดหนึ่งได้ แต่หลายๆคนอยากจะให้เสียงของหูฟังเข้าที่ก่อนที่จะนำมาใช้งานจริง ก็มักจะเลือกที่จะทำการ "burn-in" ก่อนนำมาใช้งานจริง แต่ถ้าไม่สะดวกก็ไม่จำเป็นต้องลำบากครับ
จำเป็นหรือไม่ที่หลัง จาก "burn-in" แล้วเสียงของหูฟังจะดีขึ้นกว่าตอนซื้อมาใหม่มาก?
ข้อ นี้ก็ไม่จำเป็นเสมอไปครับ ต้องแล้วแต่รุ่น หรือแล้วแต่หูฟังแต่ละตัวเลยครับ บางตัวที่ประกอบมาแล้วพอดีชิ้นส่วนต่างๆเกือบจะเข้าที่อยู่แล้วพอ "burn-in" เสร็จก็แทบจะไม่เห็นผลเท่าใดนัก แต่บางตัวที่ส่วนประกอบไดอะแฟรมค่อนข้างจะตึงมากพอ "burn-in" แล้วก็จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากอย่างเห็นได้ชัดครับ การ "burn-in" เป็นการทำให้หูฟังเข้าที่ตามที่มันควรจะเป็นเฉยๆ ไม่ใช่การทำให้คุณภาพเสียงดีขึ้นกว่าที่ควรจะเป็นนะครับต้องเข้าใจในจุดนี้ ด้วย
การ "burn-in" นานเกินไปจะทำให้เกิดผลเสียหรือไม่?
การ "burn-in" นั้นอย่างที่บอกไว้คือการทำให้ชิ้นส่วนขับเสียงของหูฟังเข้าที่เข้าทางอย่าง ที่มันควรจะเป็น และเมื่อ "burn-in" ถึงจุดนั้นแล้วชิ้นส่วนต่างๆก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากนั้นแล้ว ฉะนั้นถึงจะ "burn-in" นานกว่าเดิมไปเท่าไรเสียงก็จะยังคงเหมือนจุดที่ "burn-in" เข้าที่พอดีครับไม่มีผลใดๆ
ระดับเสียงที่ใช้ระหว่าง "burn-in" ควรจะเป็นที่ประมาณเท่าใด?
ระดับ เสียงที่จะใช้นั้นก็ประมาณที่เราใช้ฟังเพลงปรกติและสบายหูละครับ หรืออาจจะดังกว่าที่เราฟังปรกตินิดๆหน่อย เพราะถ้าเปิดเสียงดังมากไปอาจจะสร้างความเสียหายให้หูฟังเสียไปได้เลยครับ ดังนั้นเสียงไม่ควรที่จะดังมากไปครับ แต่ถ้าเสียงเบามากไปก็จะไม่ค่อยมีผลในการ "burn-in" เช่นกันครับ
หวัง ว่าบทความนี้น่าจะช่วยไขข้อข้องใจไปบ้างนะครับ ทิ้งท้ายไว้นะครับว่า "burn-in" ไม่ใช่วิธีพิเศษอะไรที่จะทำให้หูฟังคุณภาพต่ำมีเสียงระดับหูทิพย์ฟัง แค่เป็นการทำให้ชุดหูฟังเข้าที่เข้าทางเปล่งเสียงออกมาได้ตามสเป็คที่โรงงาน ผลิตออกมาเท่านั้นครับ
http://www.pantip.com/tech/article/article.php?id=84
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น